ต้องปรับตัวอย่างไร ในยุคThailand 4.0
ไทยแลนด์ 4.0 คือ โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืนของรัฐบาล โดยประเทศไทยติดอยู่ในประเทศที่มี
รายได้ปานกลางมานานรัฐบาลจึงพยายามจะมุ่งเน้นที่ยกระดับคุณภาพผลิตของคนไทย ด้วยโมเดล Thailand 4.0
ซึ่งจะประกอบด้วย 2 แนวคิดที่สำคัญดังนี้
1. การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน
คือ การสร้างความเข้มแข็งในระดับรากฐานและชุมชน โดยจะส่งเสริมให้เกิดการค้าขายและการจ้างงานในชุมชน พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ในชุมชน เช่นเกษตรกรก็จะส่งเสริมการให้ใช้เทคโนโลยี หรือ Smart Farming เพื่อทำให้ผลผลิตที่ดีขึ้นทำให้เกษรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน จะมีกลไกหลักในการขับเคลื่อนอยู่ 3 ตัว คือ
เมื่อสร้างความเข้มแข็งจากภายในแล้วสิ่งที่จำเป็นต้องทำต่อคือการเชื่อมต่อ เศรษฐกิจภายในเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยจะการเชื่อมโยง
จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
2.1 Domestic Economy เศรษฐกิจภายในประเทศ
2.2 Regional Economy เศรษฐกิจภูมิภาค
2.3 Global Economy เศรษฐกิจโลก
วิธีการขับเคลื่อนประเทศของ Thailand 4.0
1. ปรับเปลี่ยนการทำเกษตรกรแบบธรรมดา ให้เป็นเกษตรกรสมัยใหม่ (Smart Farming) โดยจะเน้นให้เกษตรกรสนใจตลาดว่า ตลาดต้องการสินค้าอะไร ปริมาณเท่าไร เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาดทำให้ขายได้ราคาต่ำ หากสินค้ามีมากกว่าความต้องการก็จะส่งเสริมให้ทำการแปรรูปสินค้า
2. ส่งเสริมให้เกิดบริษัท Startup ที่มีศักยภาพสูง
3. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของแรงงาน เพราะปัจจุบันแรงงานในประเทศไทยขาดทักษะความเชี่ยวชาญ จึงส่งเสริมให้มีการพัฒนา ทักษะความสามารถเฉพาะทาง ให้มากยิ่งขึ้น
4. เพิ่มประสิทธิภาพงานบริการ โดยงานบริการต่างๆ จะต้องมีการฝึกอบรมและได้รับใบรับรองเพื่อแสดงว่า การบริการนั้นได้มีประสิทธิภาพและผ่านการรับรองจากกรมต่างๆ
ทำไมถึงต้องมีโมเดล Thailand 4.0
ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางมานาน มีหลายรัฐบาลที่พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะนโยบายต่างๆ ขาดความต่อเนื่องเพราะความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล โดยปัญหาที่ประเทศไทยประสบนั้นก็คือ ปัญหาการขาดแคลนประสิทธิภาพในการผลิตและนวัตกรรมที่เพียงพอ และคุณภาพของแรงงาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะต้องใช้ระยะเวลานานในการแก้ไข
ดังนั้นรัฐบาลถึงพยายามที่จะมุ่งเน้นด้านนวัตกรรม การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น และพัฒนาประสิทธิภาพของแรงงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้แก้ไขปัญหา “ทำมากได้น้อย” เป็น “ทำน้อยได้มาก” ของประชาชน
ไทยแลนด์ 4.0 คือ โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยังยืนของรัฐบาล โดยประเทศไทยติดอยู่ในประเทศที่มี
รายได้ปานกลางมานานรัฐบาลจึงพยายามจะมุ่งเน้นที่ยกระดับคุณภาพผลิตของคนไทย ด้วยโมเดล Thailand 4.0
ซึ่งจะประกอบด้วย 2 แนวคิดที่สำคัญดังนี้
1. การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน
คือ การสร้างความเข้มแข็งในระดับรากฐานและชุมชน โดยจะส่งเสริมให้เกิดการค้าขายและการจ้างงานในชุมชน พัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ในชุมชน เช่นเกษตรกรก็จะส่งเสริมการให้ใช้เทคโนโลยี หรือ Smart Farming เพื่อทำให้ผลผลิตที่ดีขึ้นทำให้เกษรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น การสร้างความเข้มแข็งจากภายใน จะมีกลไกหลักในการขับเคลื่อนอยู่ 3 ตัว คือ
- การยกระดับนวัตกรรม ของทุกภาคส่วนในประเทศ
- การสร้างสังคมที่มีจิตวิญญาณของผู้ประกอบการ
- การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและเครือข่าย
เมื่อสร้างความเข้มแข็งจากภายในแล้วสิ่งที่จำเป็นต้องทำต่อคือการเชื่อมต่อ เศรษฐกิจภายในเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยจะการเชื่อมโยง
จะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
2.1 Domestic Economy เศรษฐกิจภายในประเทศ
2.2 Regional Economy เศรษฐกิจภูมิภาค
2.3 Global Economy เศรษฐกิจโลก
วิธีการขับเคลื่อนประเทศของ Thailand 4.0
1. ปรับเปลี่ยนการทำเกษตรกรแบบธรรมดา ให้เป็นเกษตรกรสมัยใหม่ (Smart Farming) โดยจะเน้นให้เกษตรกรสนใจตลาดว่า ตลาดต้องการสินค้าอะไร ปริมาณเท่าไร เพื่อแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาดทำให้ขายได้ราคาต่ำ หากสินค้ามีมากกว่าความต้องการก็จะส่งเสริมให้ทำการแปรรูปสินค้า
2. ส่งเสริมให้เกิดบริษัท Startup ที่มีศักยภาพสูง
3. ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพของแรงงาน เพราะปัจจุบันแรงงานในประเทศไทยขาดทักษะความเชี่ยวชาญ จึงส่งเสริมให้มีการพัฒนา ทักษะความสามารถเฉพาะทาง ให้มากยิ่งขึ้น
4. เพิ่มประสิทธิภาพงานบริการ โดยงานบริการต่างๆ จะต้องมีการฝึกอบรมและได้รับใบรับรองเพื่อแสดงว่า การบริการนั้นได้มีประสิทธิภาพและผ่านการรับรองจากกรมต่างๆ
ทำไมถึงต้องมีโมเดล Thailand 4.0
ประเทศไทยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางมานาน มีหลายรัฐบาลที่พยายามแก้ไขปัญหาดังกล่าวแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะนโยบายต่างๆ ขาดความต่อเนื่องเพราะความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล โดยปัญหาที่ประเทศไทยประสบนั้นก็คือ ปัญหาการขาดแคลนประสิทธิภาพในการผลิตและนวัตกรรมที่เพียงพอ และคุณภาพของแรงงาน ซึ่งปัญหาเหล่านี้จะต้องใช้ระยะเวลานานในการแก้ไข
ดังนั้นรัฐบาลถึงพยายามที่จะมุ่งเน้นด้านนวัตกรรม การผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น และพัฒนาประสิทธิภาพของแรงงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้แก้ไขปัญหา “ทำมากได้น้อย” เป็น “ทำน้อยได้มาก” ของประชาชน