เก็บเงินให้อยู่ อุดรูรั่วไหลใช้ 17 วิธี

เก็บเงินให้อยู่ อุดรูรั่วไหลใช้ 17 วิธี

ใครๆ ก็อยากมีเงินเหลือ แต่พอถึงขั้นลงมือปฏิบัติในชีวิตประจำวัน บางครั้งรู้ตัวอีกทีก็เผลอใช้เงินจนเหลือเงินเก็บนิดเดียว รายจ่ายในชีวิตประจำวันนั้นมีอยู่มากมายแบบนี้จะมีวิธีอุดรายจ่ายอย่างไร? เรามาลองมาดูกันว่าถ้าอยากมีเงินเก็บมากขึ้นเพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต มีเทคนิคอะไรที่ทำได้ในชีวิตประจำวันกันบ้าง

17 วิธีเก็บเงินดีๆ ที่คุณควรเริ่มทำตั้งแต่วันนี้

1. ตั้งต้นด้วยเงินออม

หลายคนคิดว่าเงินเก็บหรือเงินออม คือเงินที่เหลือจากการใช้จ่าย
 
รายได้ - รายจ่าย = เงินออม

ซึ่งถูกต้อง แต่ไม่ใช่แนวคิดตั้งต้นที่ดีสำหรับคนที่อยากเก็บเงินให้ได้อย่างมีวินัย

เราไม่ควรมองเงินออมเป็นเงินเหลือ แต่ควรมองเป็นเงินที่ถูก “จัดหมวดหมู่” เอาไว้ว่านี่คือเงินออมโดยเฉพาะ เช่น เราจะออมเงิน 2,000 บาท โดยเรามีเงินเดือน 20,000 บาท แปลว่าเราต้องใช้จ่ายให้ไม่เกิน 18,000 บาท เมื่อคิดในมุมนี้ สมการที่เราควรตั้งต้นไม่ควรเป็น รายได้ - รายจ่าย = เงินเหลือเพื่อการออม แต่ควรเป็น
 
รายได้ - เงินออม = รายจ่าย

หรือก็คือเราควรหักเงินออมเก็บเอาไว้ก่อน แล้วค่อยใช้จ่ายตามงบประมาณที่มีนั้นเอง
 
มีคนมากมายที่ไม่ได้วางแผนและจัดสรรการใช้เงิน สมมติว่าได้เงินมาเดือนละ 20,000 บาท ก็กะว่าไม่ควรใช้เงินเกินยอดนี้ เมื่อตัวเลขที่ตั้งไว้ในใจตรงกับรายได้ ก็ทำให้ใช้จ่ายเยอะและไม่ค่อยเหลือเงินเก็บ แต่การตั้งต้นด้วยเงินออมก่อนนั้นจะทำให้เรามองเห็นชัดเจนมากขึ้นว่าเท่าไรกันแน่ที่เราควรใช้จ่ายได้ต่อเดือน

2. งบประมาณควรแบ่งประเภทและลำดับความสำคัญ

จากข้อที่แล้วจะช่วยให้เราเห็นงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดหลังหักเงินออมที่คาดหวัง ทั้งนี้เมื่อลงมือจริง หลายครั้งก็จ่ายไม่ได้จริงตามที่ตั้งใจเพราะมักจะจ่ายให้กับ ‘สิ่งที่ไม่สำคัญแต่เกิดขึ้นก่อน’ เช่น จ่ายให้กับค่าอาหารที่อยากทานในแต่ละวันก่อน จนลืมคิดไปว่ามีส่วนที่สำคัญที่จะตามมาในช่วงปลายเดือน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำค่าไฟ ค่าผ่อนสินค้า เป็นต้น ทำให้ใช้เงินเยอะกว่างบประมาณ ทางที่ดีควรวางแผนรายจ่ายให้ละเอียด ตั้งงบประมาณให้กับรายจ่ายประจำที่สำคัญก่อน
 
จากผลสำรวจงบประมาณรายจ่าย (ใช้ตัวเลขอ้างอิงจากผลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ) สำรวจในหัวข้อภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ปี 2559 พบว่าจากครัวเรือนทั่วประเทศมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ในครัวเรือนเป็นสัดส่วนดังนี้
 
ทั้งนี้คุณสามารถปรับเปลี่ยนงบประมาณได้ตามความเหมาะสม เช่น ลดค่าอาหาร เพิ่มค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา เป็นต้น
 
17 วิธีเก็บเงินให้อยู่ อุดรูรายจ่ายที่รั่วไหล

3. จดบันทึกให้เป็นนิสัย

จากผลสำรวจของบริษัท YouGov ในปี 2558 ผลการสำรวจนี้พบว่าคนไทยมี “ค่าใช้จ่ายปริศนา” สูงถึง 72% ของรายจ่ายทั้งหมด ซึ่งสรุปได้ว่าคนไทยหนึ่งคนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 1,588 บาท นั่นหมายความว่าค่าใช้จ่ายปริศนาที่ระบุไม่ได้ว่าจ่ายไปกับอะไรจะอยู่ที่ประมาณ 1,143 บาท (มากกว่าพันบาทต่อสัปดาห์เลยทีเดียว) ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เชื่อว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวน่าจะมาจากค่าอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค ค่าขนมขบเคี้ยว หรือการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย
 
ค่าใช้จ่ายรั่วไหลกับอะไรไม่รู้...ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยการจดบันทึกรายรับรายจ่ายให้เป็นนิสัย ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันรายรับรายจ่ายมากมาย ทั้ง iOS และ Android ให้คุณได้เลือกลองใช้

4. ค่าอาหาร...รายจ่ายประจำที่ลดได้

จากข้อมูลในข้อที่แล้วซึ่งพบว่าค่าอาหารเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุดก้อนหนึ่งในชีวิตประจำวัน วิธีหนึ่งที่จะลดรูรายจ่ายก็คือการประหยัดค่าใช้จ่ายก้อนนี้ให้มากขึ้น สำหรับการลดรายจ่ายค่าอาหารมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เช่น
  • ทำอาหารทานเอง: การทำอาหารทานเองประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าซื้อทาน โดยเฉพาะถ้าเป็นครอบครัวหลายคน ราคาต่อหัวก็จะประหยัดมากขึ้น และสำหรับคนทำงานที่เคยซื้ออาหารในที่ทำงานทานทุกวัน ลองนำอาหารไปทานเอง เช่น ตั้งเป้าว่าจะนำอาหารมาทานเอง 1-2 วันต่อสัปดาห์ ก็จะช่วยลดรายจ่ายค่าอาหารได้
  • ทานกับข้าวร่วมกันกับทีม: คนทำงานส่วนใหญ่มักนิยมทานอาหารจานเดี่ยวเพราะความสะดวกคล่องตัว การสั่งกับข้าวทานร่วมกันนั้นเป็นอีกวิธีที่นอกจากจะได้เปลี่ยนบรรยากาศแล้วยังเพิ่มโอกาสการประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย

5. ลดรายจ่ายเรื่องเสื้อผ้า

เปลี่ยนสิ่งที่ไม่ใช้แล้วเป็นเงินเข้ากระเป๋า รวมไปถึงเสื้อผ้าที่กำลังล้นตู้อยู่ หลายคนมีเสื้อผ้าเยอะมาก แต่ใส่ไปไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของทั้งหมด มีผลวิจัยเคยกล่าวไว้ว่าคนไทยซื้อเสื้อผ้ามากขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี ไม่แปลกใจเลยที่จะล้นตู้  แนะนำว่าให้ตัดใจแล้วนำไปขายต่อ หรือลองเรียนรู้วิธี DIY เปลี่ยนชุดเก่าให้เป็นชุดเก๋ รวมถึงหากนำเสื้อผ้าที่มีมาจับคู่ดีๆ เปลี่ยนไปมาก็ดูเหมือนคุณมีเสื้อผ้าใหม่ๆ ตลอดเวลาได้เหมือนกัน
 
17 วิธีเก็บเงินให้อยู่ อุดรูรายจ่ายที่รั่วไหล

6. อย่าซื้อเสื้อผ้าราคาถูก

อีกจุดสำคัญที่ช่วยอุดรอยรั่วจากรายจ่ายในการซื้อเสื้อผ้าก็คือการเลือกเสื้อผ้าที่ใช้วัสดุคุณภาพดี เพราะเมื่อคุณซื้อเสื้อผ้าราคาถูกที่เนื้อผ้าไม่ดี หรือการตัดเย็บไม่ดี จะทำให้เสื้อผ้าเหล่านั้นเสื่อมสภาพเร็วหลังจากซักไปเพียงไม่กี่ครั้ง และทำให้คุณก็ต้องเสียเงินเพื่อซื้อเสื้อผ้าใหม่อีกรอบ

7. อย่าบ้าสะสม

ของสะสมเป็นของที่มีคุณค่าทางจิตใจ แต่อย่างไรก็ตาม ใครที่เป็นนักสะสมก็มักจะเต็มไปด้วยรายจ่ายที่รั่วไหล ถ้าคุณไม่หยุดตัวเองเลย เมื่อมองย้อนกลับมาอีกทีอาจพบว่ามีของสะสมอยู่เต็มบ้านไปหมด แต่เงินในบัญชีกลับว่างเปล่า มีผลสำรวจพบว่าคนไทยชอบบินไปซื้อของแบรนด์เนมจากต่างประเทศเป็นตัวเลขมูลค่ามหาศาล ลองเช็กตัวเองดูว่าคุณเป็นอีกหนึ่งคนหรือเปล่าที่ชอบเก็บแบรนด์เนมแพงๆ ไว้ในตู้โชว์  แนะนำให้สะสมบ้างและปล่อยขายบ้างเมื่อราคาสูงขึ้น เพื่อเป็นการรักษาสมดุลทางการเงิน

8. เลือกบัญชีธนาคารดอกเบี้ยดีๆ

ลองฝากประจำ หรือลงทุนในกองทุนรวมเพื่อสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการฝากเงินทั่วไป แบบการเลือกหักบัญชีแบบอัตโนมัติบัญชี ก็สามารถสร้างวินัยการออมได้เหมือนกัน จะได้ไม่ต้องกังวลว่าเดือนนี้ได้ออมเงินหรือยัง ซึ่งวิธีนี้ง่ายต่อการไปถึงเป้าหมายการออมที่วางไว้ด้วย อ่านเพิ่มเติมได้ที่

9. อย่ามีเฉพาะออมทรัพย์

ลองฝากประจำ หรือลงทุนแบบหักอัตโนมัติบัญชีเพื่อสร้างวินัยการออม จะได้ไม่ต้องกังวลว่าเดือนนี้ได้ออมเงินหรือฝากเงินเข้าธนาคารแล้วหรือยัง ซึ่งวิธีนี้ง่ายต่อการไปถึงเป้าหมายการออมที่วางไว้ด้วย อ่านเพิ่มเติมได้ที่

10. ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ

ร้านค้าหลายร้านมักมีสิทธิพิเศษให้เมื่อเราไปช้อปปิ้ง ก็ขออย่าละเลยสิทธิพวกนี้ เพราะบางทีคุณอาจได้รับเช็คของขวัญ บัตรกำนัลดีๆ ที่ทำให้ประหยัดเงินไปได้อีกเยอะเลย นอกจากนั้นควรกดติดตามแฟนเพจ เว็บไซต์ ที่คอยอัปเดตส่วนลดบ่อยๆ  เผื่อว่าจะมีโปรโมชั่นที่น่าสนใจโผล่ขึ้นมาให้ได้ช้อป

11. ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ

จ่ายเยอะจ่ายยาก จ่ายน้อยจ่ายง่าย แต่น้อยๆ ที่รวมกันอาจสะสมกันเป็นเงินก้อนใหญ่ได้
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ดีจะมีอายุการใช้งานที่นาน ทำให้ไม่ต้องเสียเงินเพื่อเปลี่ยนอันใหม่บ่อยๆ เป็นสิ่งของชิ้นใหญ่ที่ควรลงทุนเพื่อความสะดวกสบาย แลควรตระหนักถึงการประหยัดพลังงานด้วย เพราะการประหยัดค่าไฟก็ช่วยคืนเงินในกระเป๋าได้

12. ยกเลิกการเป็นสมาชิกที่ไม่ได้ใช้

หากคุณต้องจ่ายเงินเพื่อเป็นสมาชิกกับหลายๆ ที่ เพราะตั้งใจว่าจะมาใช้บริการบ่อยๆ แต่นานๆ ครั้งถึงจะได้ใช้จริง อย่างฟิตเนสที่สมัครไว้เพราะอยากหุ่นดี อย่าลืมว่าคุณสามารถต่ออายุการเป็นสมาชิกในภายหลังได้ ถ้าไม่ได้ไปจริงๆ ก็ยกเลิกไปก่อนก็ได้

13. หยุดใช้บัตรเครดิต ‘จ่ายล่วงหน้าโดยที่ยังไม่มีความจำเป็น’

‘หนี้บัตรเครดิต’ เกิดขึ้นเพราะความชะล่าใจในการซื้อของ ซื้อก่อนโดยคิดว่า ‘ยังมีเวลา’ จะหาเงินมาจ่ายทีหลัง หรือมีเงินเพียงพอในธนาคาร แต่เพราะความสะดวกของบัตรเครดิตก็ทำให้ใช้เกินงบประมาณที่ตั้งไว้ จนทำให้เก็บเงินได้ไม่ถึงเป้าหมาย

เทคนิคง่ายๆ ในการยับยั้งชั่งใจ เขียนข้อความเตือนตัวเองบนกระดาษเล็กๆ แปะบนบัตรเครดิตเอาไว้เลย เป็นข้อความเตือนใจให้คิดก่อนซื้อ
 
17 วิธีเก็บเงินให้อยู่ อุดรูรายจ่ายที่รั่วไหล

14. สนุกกับความบันเทิงง่ายๆ

การไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้า หรือเที่ยวข้างนอกจะทำให้พบกับสิ่งล่อตาล่อใจมากมายจนจ่ายเงินไปในจำนวนมากกว่าที่ตั้งใจเอาไว้ ลองมีสักวันที่คุณสร้างความสุขและความบันเทิงง่ายๆ ได้ที่บ้าน อย่างฟังเพลง ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ (ที่เรามักจะซื้อมาแล้วอ่านไม่จบให้จบเสียก่อน) เป็นอีกเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ ในการลดรายจ่ายเรื่องความบันเทิง แต่ทั้งนี้ให้คุณดูความเหมาะสมและความชอบกับคุณและครอบครัวของคุณเองด้วย

15. ใช้ระบบขนส่งสาธารณะเสียบ้าง

การโดยสารด้วยรถสาธารณะช่วยให้คุณประหยัดเงินได้มาก และยังช่วยประหยัดพลังงานแทนการขับรถยนต์ส่วนตัวด้วย หรือลองซื้อบัตรรายเดือนของรถไฟฟ้า รถเมล์ ก็จะพบว่าค่าโดยสารยิ่งราคาถูกลงไปอีก

16. อย่าเพียงแค่ประหยัดเงิน

การออมเป็นสิ่งทีดี โดยควรตั้งเป้าหมายในการออมระยะสั้น เช่น ออมให้ได้ 300 บาทหรือมากกว่านั้นต่อสัปดาห์ จะทำให้ไม่รู้สึกหนักเกินไปและมีกำลังใจในการเก็บเงิน และควรวางแผนการเกษียณให้เร็วที่สุดอย่าเพียงแค่ทำงานไปทุกๆ เดือน ทางที่ดีให้ลงทุนในกองทุนเอาไว้บ้างเพื่ออนาคต

17. ใช้กฎ 24 ชั่วโมง และการเปรียบเทียบ

เวลาที่คุณอยากซื้อของราคาสูงๆ ให้กลับบ้านไปแล้วไตร่ตรองอีกสัก 24 ชั่วโมงค่อยเวียนกลับมาซื้ออีกครั้ง เพราะถึงเวลานั้นก็อาจจะไม่อยากได้แล้ว หรือลองคำนวณราคาสิ่งของที่จะซื้อ เปรียบเทียบกับจำนวนค่าตอบแทนรายวันที่จากการทำงานของคุณ
 
เช่น รองเท้าราคา 5,000 บาท แต่คุณมีเงินเดือน 20,000 บาท ทำงานเดือนละ 22 วัน เท่ากับ 20,000/22 = 909 บาท ดังนั้น การซื้อรองเท้าคู่นี้เทียบได้กับการที่คุณต้องทำงานแลกเป็นเวลา 5.5 วัน ให้ลองเปรียบเทียบกับความคุ้มค่าดู
 3902
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์