1.เห็นชอบกำหนดนโยบายมาตรการค่าไฟฟ้าฟรี กับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ (ประเภทที่ 1.1 ของการไฟฟ้า
นครหลวง และประเภทที่ 1.1.1 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) จาก 50 หน่วยต่อเดือนเป็น 90 หน่วยต่อเดือน โดยมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับ
กิจการพลังงานดำเนินการโดยให้ใช้เงินเรียกคืนรายได้เพื่อให้การไฟฟ้า มีฐานะการเงินตามเกณฑ์ที่กำหนดมาเป็นแหล่งเงินในการสนับสนุนการดำเนินการ
2.เห็นชอบการขยายระยะเวลาการชำระค่าไฟฟ้าให้ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ติดตั้งมิเตอร์ไม่เกิน 5 แอมป์ (ประเภทที่ 1.1 ของการไฟฟ้า
นครหลวง และประเภทที่ 1.1.1 ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) เป็นระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือนของแต่ละรอบบิล สำหรับใบแจ้งค่าไฟฟ้าประจำเดือน
เม.ย.-มิ.ย.2563 โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ขยายระยะเวลาการชำระค่าไฟฟ้าให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
โดยไม่มีเบี้ยปรับ
กระทรวงมหาดไทยพิจารณาแล้ว เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบเศรษฐกิจในหลายส่วนทั้งภาค
ครัวเรือน ธุรกิจ และอุตสาหกรรม โดยคาดว่าจะมีประชาชนจำนวนมากย้ายถิ่นฐานกลับไปยังภูมิลำเนา รวมถึงการทำงานภายในที่พักอาศัย
(Work From Home) ทำให้การใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ใช้ไฟฟ้าที่เดิมเคยได้รับสิทธิค่าไฟฟ้าฟรี จำนวน 50
หน่วยไม่ต้องชำระค่าไฟฟ้า จะไม่ได้รับสิทธิดังกล่าว เป็นผลให้มีภาระต้องชำระค่าไฟฟ้า
ซึ่งในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันผู้ใช้ไฟฟ้ากลุ่มดังกล่าวอาจไม่สามารถชำระค่าไฟฟ้าได้ กระทรวงมหาดไทยจึงมีข้อเสนอมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้า
ที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติม โดยประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินมาตรการดังกล่าวจะเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้า
เป็นวงเงิน ประมาณ 9,375 ล้านบาท ดังนี้
1.ค่าไฟฟ้าฟรี ระยะเวลา 3 เดือน (เดือนเม.ย.–มิ.ย.2563) ผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน รวม 3,029 ล้านบาท
(กฟน. 74 ล้านบาท กฟภ. 2,955 ล้านบาท) จำนวนประชาชนที่ได้รับประโยชน์ รวม 6.4 ล้านราย (กฟน. 205,272 ราย กฟภ. 6.2 ล้านราย)
2.ขยายระยะเวลาการชำระค่าไฟฟ้า 3 เดือน (เดือนเม.ย. – มิ.ย.2563) ผลประโยชน์ ที่จะเกิดขึ้นกับประชาชน รวม 6,346 ล้านบาท กฟน. 301
ล้านบาท กฟภ. 6,045 ล้านบาท รวม 4.265 ล้านราย กฟน. 165,567 ราย กฟภ. 4.1 ล้านราย