รายการลดหย่อน ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2563

รายการลดหย่อน ยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2563

สำหรับบรรดามนุษย์เงินเดือน  และผู้ที่มีรายได้ทั้งหลาย  ก็ถึงเวลาที่ต้องรวบรวมเอกสารภาษีทั้งหมดเพื่อ ยื่นภาษี หรือแบบ ภ.ง.ด. ในระบบของกรมสรรพากร จนถึง 31 มีนาคม 2563  นอกจากเอกสารรายได้แล้ว  อีกสิ่งสำคัญคือสิทธิลดหย่อนต่างๆ ที่เป็นเหมือนตัวช่วยให้ประหยัดภาษีขึ้นมาได้บ้าง  ก็ถึงเวลาที่ต้องขอหลักฐานยืนยันทั้งหมดเพื่อรวบรวมแล้วยื่นไปในระบบควบคู่กับเอกสารเงินได้

ยื่นภาษี แล้วใครต้องเสียเท่าไหร่บ้าง

ในปีภาษี 2562 (หรือการยื่นช่วงต้นปี 2563) สำหรับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรม  เป็นการจัดเก็บแบบขั้นบันได 5-35% ของรายได้สุทธิ หรือ รายได้ทั้งหมดหักค่าลดหย่อนทุกอย่างแล้ว  โดยผู้ที่มีรายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่ปี  คุณก็จะเป็นผู้ได้รับยกเว้นภาษี

หรืออธิบายอีกอย่างได้ว่า หากคุณเป็นมนุษย์เงินเดือนมีรายได้ที่มาจาก เงินเดือนหรือค่าจ้างทั้งปี 310,000 บาท หักค่าใช้จ่ายส่วนตัว 100,000 บาท (วงเงินหักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท) บวกกับค่าลดหย่อนส่วนตัวอีก 60,000 บาท คุณก็จะมีรายได้สุทธิ 150,000 บาท ก็เท่ากับว่าคุณคือ “ผู้ได้รับยกเว้นภาษี”

ดังนั้นถ้ารวมรายได้ทั้งปีไม่ถึง 310,000 บาท หรือมีเงินเดือนไม่เกินเดือนละ 25,833.33 บาท คุณก็ไม่จำเป็นต้องไปหาสิทธิลดหย่อนภาษีอื่นๆ มาเพื่อประหยัดภาษี (แต่สำหรับใครที่รายได้พึงประเมินไม่ได้มาจากเงินเดือน หรือค่าจ้าง การหักค่าใช้จ่ายจะมีสัดส่วนที่แตกต่างกันออกไป แนะนำให้ดูข้อมูลจาก กรมสรรพากร >> คลิกเพื่อดูการหักค่าใช้จ่าย)  ส่วนผู้ที่มีรายได้สุทธิเกิน 150,000 บาทต่อปี ลองเช็คจากตารางดูว่าคุณต้องเสียภาษีเท่าไหร่

เช็คสิทธิลดหย่อน มีอะไรช่วยได้บ้าง

สำหรับผู้ที่คำนวณแล้วมีรายได้เกิน 310,000 บาทต่อปี  ก็คงต้องมาหาสิทธิลดหย่อนเพื่อช่วยประหยัดภาษี  ลองมาตรวจสอบกันดูว่า  เราได้สิทธิอะไรบ้าง  จะได้รวบรวบเอกสารยื่นกรมสรรพากรได้ครบถ้วน  เผื่อได้สิทธิเงินคืนภาษีจะได้ไม่ต้องรอนาน  ถ้าคุณรวบรวบเอกสารทุกอย่างครบถ้วนและถูกต้อง

ค่าลดหย่อนส่วนตัว
  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท ลดได้ทันทีที่ยืนแบบแสดงรายได้
  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส ลดหย่อนได้ 60,000 บาท ต้องเป็นกรณีคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรส และไม่มีรายได้  หรือมีรายได้แต่เลือกคำนวณภาษีพร้อมกัน ในส่วนนี้ควรเตรียมเอกสารทะเบียนสมรสไว้ด้วย
  • ค่าลดหย่อนบุตร 30,000 บาท ต่อลูก 1 คน นอกจากนี้ยังมีค่าลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ขึ้นไป ซึ่งเกิดตั้งแต่ปี 2561 จะได้รับสิทธิลดหย่อนเพิ่มอีก 60,000 บาท (ตามนโยบายส่งเสริมให้มีลูกเพิ่มขึ้น) ส่วนนี้ควรเตรียมเอกสารสูจิบัตร หรือใบรับรองบุตรไว้ยืนพร้อมการ ยื่นภาษี
  • ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ลดหย่อนได้ไม่เกินปีละ 60,000 บาท (หากเป็นคุณสามีสามารถนำค่าใช้จ่ายนี้ไปหย่อนในรายการของตัวเองได้ ในกรณีที่ภรรยาไม่มีเงินได้)
  • ค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา ซึ่งต้องอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้คนละ 30,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 4 คน (รวมพ่อแม่ของคู่สมรส) แต่หากมีพี่น้องและพี่น้องของเราใช้สิทธิ์ไปแล้ว เราจะไม่สามารถใช้สิทธิตรงนี้ได้ ในส่วนนี้ให้เตรียมเอกสารรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (ดาวน์โหลดได้ที่นี่) 
  • ค่าอุปการะคนพิการ หรือ คนทุพพลภาพ ลดหย่อนได้ 60,000 บาทต่อคน หากเป็นผู้พิการต้องมีบัตรประจำตัวคนพิการ และระบุชื่อผู้มีเงินได้เป็นผู้ดูแลในบัตรประจำตัวคนพิการ  ส่วนคนทุพพลภาพ  จะต้องเป็นผู้ทุพลภาพมาแล้วไม่น้อยกว่า 180 วัน  มีใบรับรองแพทย์ที่ออกในปีภาษีขอใช้สิทธิหักลดหย่อน  และมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ (ดาวน์โหลดได้ที่นี่)
ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออมและการลงทุน
  • ประกันสังคม ที่ลดหย่อนได้ตามจริง สูงสุดไม่เกิน 9,000 บาทต่อปี
  • เบี้ยประกันชีวิต หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพ หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15,000 บาท แต่เมื่อรวมกับประกันชีวิตแล้วจะต้องไม่เกิน100,000 บาท
  • เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา ได้ไม่เกิน 15,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรส หากคู่สมรสไม่มีเงินได้ 10,000 บาท
  • เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ หักลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้และต้องไม่เกิน 200,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน และ กองทุน RMF จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกิน 10,000 บาท ส่วนที่เกิน 10,000 บาท แต่ไม่เกิน 15% ของรายได้และไม่เกิน 490,000 บาทจะได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเอาไปคำนวณภาษี
  • เงินสะสมกองทุน กบข.และกองทุนสงเคราะห์ครูเอกชน ลดหย่อนได้ตามจริงแต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี หรือ ไม่เกิน 500,000 บาท
  • เงินสะสม กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 13,200 บาท
  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว หรือ LTF ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท โดยต้องซื้อและถือครองเอาไว้อย่างน้อย 7 ปีปฏิทิน ( ปีสุดท้ายสำหรับการใช้สิทธิลดหย่อนในการ ยื่นภาษี )
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชี้ หรือ RMF ลดหย่อนได้ไม่เกิน 15% ของเงินได้แต่ต้องไม่เกิน 500,000 บาท และต้องลงทุนต่อเนื่องถึงอายุ 55 ปี

ในค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออมและการลงทุน จะมีเอกสารรับรองเพื่อใช้ในการ ยื่นภาษี ซึ่งบางแห่งอาจมีจดหมายส่งมาถึงบ้าน หรือบางแห่งอาจให้คุณดาวน์โหลดเอกสารเองจากเวปไซต์ ลองตรวจเช็คเอกสารส่วนนี้ด้วย

ค่าลดหย่อนด้านอสังหาริมทรัพย์
  • ลดหย่อนดอกเบี้ยที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ที่กู้เงินซื้อบ้านหรือคอนโด  สามารถนำดอกเบี้ยที่จ่ายไปมาลดหย่อนได้ตามจริง  แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • ลดหย่อนภาษีโครงการบ้านหลังแรก ปี 2558 ในกรณีที่ราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท  คุณสามารถนำราคาบ้านมาลดหย่อนได้ปีละ 4% ในเวลา 5 ปี รวม 20%
  • ลดหย่อนภาษีโครงการบ้านหลังแรก ปี 2562 สำหรับบ้านราคาไม่เกิน 5 ล้านบาท  สามารถนำมาลดหย่อนได้ไม่เกิน 200,000 บาท
เงินบริจาค
  • เงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการศึกษา สถานพยาบาลของรัฐ สนับสนุนการกีฬา และเงินบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์ต่างๆ สามารถหักได้ 2 เท่า ตามที่จ่ายจริงแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 10% ของรายได้พึ่งประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆแล้ว
  • เงินบริจาคช่วยเหลืออุทกภัยน้ำท่วมจากพายุปาบึก ลดหย่อนได้ตามบริจาคจริง
  • เงินบริจาคทั่วไป ลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย
  • เงินบริจาคให้พรรคการเมือง ลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 10,000 บาท

ในส่วนของเงินบริจาคต้องเป็นการบริจาคที่เกิดขึ้นในรอบปี 2562 ลองตรวจเอกสารยืนยันการบริจาคให้ครบ เพื่อนำมาประกอบการ ยื่นภาษี

ค่าลดหย่อนพิเศษตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐ
  • ซื้อสินค้าการศึกษาและกีฬา ไม่เกิน 15,000 บาท
  • ซื้อหนังสือ ไม่เกิน 15,000 บาท
  • ซื้อสินค้าโอทอป ไม่เกิน 15,000 บาท
  • ท่องเที่ยวเมืองหลัก 15,000 บาท ท่องเที่ยวเมืองรอง 20,000 บาท (แต่รวมกันทั้งเที่ยวเมืองหลักและเมืองรองไม่เกิน 20,000 บาท)
  • ค่าซ่อมบ้านหรือรถ กรณีประสบภัยจากพายุปาบึก พายุโพดุล พายุคาจิกิ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ตามจริง กรณีค่าซ่อมบ้านลดหย่อนได้ตามค่าใช้จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนซ่อมรถ ตามค่าใช้จ่ายแต่ไม่เกิน 30,000 บาท
 3337
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์