e-Tax invoice ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

e-Tax invoice ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

e-Tax invoice ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร

e-Tax Invoice คือ

“e-Tax Invoice หรือ “ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์” คือใบกํากับภาษีที่ปรับรูปแบบจากที่เคยเป็นกระดาษไปเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานแสดงจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณได้จากมูลค่าสินค้าหรือบริการ โดยไม่ต้องออกในรูปแบบกระดาษ หากดูจากจุดที่แตกต่างคือ e-Tax Invoice จะมีหมายเลขใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) และลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) เป็นเครื่องยืนยันตัวตนของผู้ออกใบกำกับภาษี (ผู้ขาย) และรับรองถึงความถูกต้องของข้อมูล

ข้อดีของ e-Tax Invoice

  • ลดความซับซ้อนและเพิ่มความสะดวกสบาย: การใช้ e-Tax Invoice ช่วยลดความซับซ้อนในกระบวนการออกใบกำกับภาษี เพราะไม่ต้องพิมพ์และจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ ทำให้ธุรกิจสามารถประหยัดเวลาและทรัพยากรได้มากขึ้น
  • ลดต้นทุน: การลดการใช้กระดาษและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการพิมพ์และจัดส่งเอกสารทำให้ลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกใบกำกับภาษีได้
  • เพิ่มความถูกต้องและความน่าเชื่อถือ: e-Tax Invoice มักจะมีลายเซ็นดิจิทัลหรือรหัสอิเล็กทรอนิกส์ที่ช่วยให้ข้อมูลมีความถูกต้องและน่าเชื่อถือมากขึ้น
  • ลดการผิดพลาด: การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ช่วยลดโอกาสของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในกระบวนการออกใบกำกับภาษี เนื่องจากมีการควบคุมและตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายขึ้น
  • เพิ่มความเชื่อถือในการทำธุรกิจ: การใช้ e-Tax Invoice ช่วยเสริมสร้างความเชื่อถือในการทำธุรกิจ เนื่องจากสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายและมีความน่าเชื่อถือมากขึ้นต่อลูกค้าและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนการใช้ e-Tax Invoice

1. ตรวจสอบคุณสมบัติว่ามีสิทธิ์ใช้ “e-Tax Invoice” หรือไม่
  • บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป คือ ผู้ประกอบการจดทะเบียนซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลสามารถยื่นคำขอจัดทำฯ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ได้ จากเดิมต้องเป็นบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัดที่มีทุนจดทะเบียนตั้งแต่ 10 ล้านบาท เป็น ผู้ยื่นคำขอดังกล่าวมีทุนจดทะเบียนเท่าใดก็ได้
  • มีความมั่นคงและความน่าเชื่อถือในการประกอบการ
  • มีการจัดทำบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด
  • มีระบบการควบคุมภายในที่ดี และสามารถพิสูจน์ได้ว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำและส่งให้แก่ผู้รับมีข้อความถูกต้องครบถ้วนเช่นเดียวกับขณะที่สร้าง ส่งและรับโดยใช้วิธีการที่เชื่อถือได้ และสามารถแสดงข้อความได้ในภายหลังโดยความหมายไม่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งต้องมีระบบงานที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยไร้ร่องรอยหรือมีการเปลี่ยนแปลงรายการในเอกสารที่ออกระหว่างทาง
2. ยื่นคำขอ

เมื่อตรวจสอบคุณสมบัติแล้วว่าครบถ้วนก็สามารถยื่นคำขอและเอกสารดังต่อไปนี้

  1. ยื่นคำขอทางอินเทอร์เน็ต : ยื่นคำขอ แบบ บอ.01 ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร
  2. ส่งเอกสาร : ดังต่อไปนี้ไปที่สำนักบริหารการเสียภาษีทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ยื่นคำขอ
    • แบบคำขอจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ (บ.อ.01)
    • หนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลที่นายทะเบียนออกให้ไม่เกิน 6 เดือนนับถึงวันส่งเอกสาร
    • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทหรือหน่วยงานของรัฐ
    • หนังสือมอบอำนาจ พร้อมทั้งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นจัดส่งเอกสาร)
    • แผนผังการทำงานรวมของระบบงานทั้งหมด (System Flowchart) และคำอธิบายระบบงาน ระบบรักษาความปลอดภัย และวิธีการเรียกพิมพ์
    • กรณียื่นคำขอเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการขายสินค้าหรือให้บริการบางส่วน ให้ส่งแผนผังกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ของการขายสินค้าหรือให้บริการนั้น

การออก “e-Tax Invoice”

เมื่อได้รับสิทธิ์ใช้ e-Tax Invoice เรียบร้อยแล้วให้ดำเนินการดังนี้

  1. จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการลงลายมือชื่อดิจิทัลทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือให้บริการส่งมอบให้กับผู้ซื้อสินค้าและผู้รับบริการด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และจัดเตรียมข้อมูลใบกำกับภาษีหรือใบรับในรูปแบบโครงสร้าง XML File ตามมาตรฐานที่กำหนด ซึ่งมีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) สำหรับนำส่งกรมสรรพากร
  2. นำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรด้วยช่องทางการนำส่ง ได้แก่ Host to Host หรือ Service Provider หรือ Upload XML ทั้งนี้วิธีการเลือกช่องทางนำส่งขึ้นอยู่กับขนาดของกิจการและความพร้อมทางเทคโนโลยีของผู้ประกอบการแต่ละราย
  3. ติดตามและตรวจสอบผลการนำส่งข้อมูล ที่ระบบ Tracking
  4. เก็บรักษาข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้องปลอดภัยตาม พ.ร.บ.ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
ขนาดผู้ประกอบการ รายได้ เริ่มเข้าระบบ e-Tax invoice
ขนาดใหญ่ มากกว่า 500 ล้านบาท ภายใน 31 ธันวาคม 2560
กลาง มากกว่า 30 ล้านแต่ไม่เกิน 500 ล้านบาท ภายใน 31 ธันวาคม 2560
เล็ก มากกว่า 1.8 ล้านแต่ไม่เกิน 30 ล้านบาท ภายใน 31 ธันวาคม 2562
ไมโคร น้อยกว่า 1.8 ล้านบาท ภายใน 31 ธันวาคม 2564

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) หน้าตาเป็นอย่างไร?

หน้าตาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax invoice

รายละเอียดข้อมูลบนใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ e-Tax invoice

  1. การจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ใบกำกับภาษี, ใบเพิ่มหนี้, ใบลดหนี้, ใบเสร็จรับเงิน จะต้องมีรูปแบบไฟล์ ขนาดไม่เกิน 3 MB
    • .pdf (Portable Document Format)
    • .doc, .docx (Microsoft Word Document)
    • .xls, .xlsx (Microsoft Excel)
  2. ข้อมูลไฟล์เจะต้องไม่ใช่รูปภาพ ห้ามใช้การถ่ายภาพหรือการแปลงไฟล์จากเอกสารกระดาษให้เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ต้องมีการลงลายเซ็นดิจิทัล (Digital Signature) หรือประทับรับรองเวลา (Time Stamp) ผ่านระบบ e-tax invoice by email เพื่อให้เอกสารนี้ถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถใช้ต่อสู้ในชั้นศาลในกรณีที่เกิดข้อพิพาท ทั้งนี้วิธีการประทับรับรองนี้จะทำด้วยวิธีไหนขึ้นอยู่กับขนาดของธุรกิจ

เอกสารที่ทำเป็นอิเล็กทรอนิกส์และต้องส่งสรรพากร

  1. ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
  2. ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร
  3. ใบลดหนี้ (Credit Note) ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร
  4. ใบรับ (Receipt) ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

ขั้นตอนการนำส่งใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-tax invoice) ให้กรมสรรพากร

การนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร
 35440
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์