• หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • “สินค้าคงเหลือ” ในบัญชีแสดงรายการไว้สูงกว่าความเป็นจริงหรือกรณีสินค้าขาดจากรายงาน จะปฏิบัติอย่างไร

“สินค้าคงเหลือ” ในบัญชีแสดงรายการไว้สูงกว่าความเป็นจริงหรือกรณีสินค้าขาดจากรายงาน จะปฏิบัติอย่างไร

  • หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • “สินค้าคงเหลือ” ในบัญชีแสดงรายการไว้สูงกว่าความเป็นจริงหรือกรณีสินค้าขาดจากรายงาน จะปฏิบัติอย่างไร

“สินค้าคงเหลือ” ในบัญชีแสดงรายการไว้สูงกว่าความเป็นจริงหรือกรณีสินค้าขาดจากรายงาน จะปฏิบัติอย่างไร

“สินค้าคงเหลือ” ในบัญชีแสดงรายการไว้สูงกว่าความเป็นจริงหรือกรณีสินค้าขาดจากรายงาน จะปฏิบัติอย่างไร

  สินค้าคงเหลือในการปฏิบัติงานนั้นควรจะต้องมีการวางแผนในการดำเนินการไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของการรับสินค้าเข้า การเบิกจ่ายสินค้าออกไปเพื่อจำหน่าย หรือเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต และขั้นตอนของการตรวจนับสินค้าคงคลัง เพราะในทางปฏิบัติสินค้าคงเหลือเป็นประเด็นที่มักพบข้อผิดพลาดในการจัดทำ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าสูญหาย ขาดจากรายงาน หรือในกรณีอื่น ๆ ที่ทำให้สินค้าคงเหลือแสดงไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ปรากฎ การดำเนินการในการปรับปรุงแก้ไขรายการนั้น ควรยึดหลักการปฏิบัติทางการบัญชีในประเด็นความมีอยู่จริงของรายการ สินค้าคงเหลือที่ปรากฎอยู่จริงนั้น ควรแสดงยอดตรงกับการบันทึกตัดรายการทางบัญชี กิจการควรทำการตรวจสอบกระทบยอดรายการกับเอกสารการเบิก หรือการสั่งขาย ว่าได้มีการลงรายการครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ มีรายการใดบ้างที่ยังไม่ได้ลงบัญชีในอดีต หรือเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อการขาดจากรายงาน

ในที่นี่แยกสาเหตุ และข้อผิดพลาดออกเป็น 4 ลักษณะคือ การไม่รับรู้รายได้ตามข้อเท็จจริง และ/หรือ การบันทึกรายได้แต่มิได้บันทึกต้นทุนขายทันที (กรณีนี้อาจเกิดขึ้นกับการใช้ระบบการบันทึกสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง Perpetual Inventory Method เพราะโดยหลักการการบันทึกด้วยวิธีนี้จะทำการบันทึกต้นทุนขายทันทีที่มีการเคลื่อนไหวของสินค้าคงเหลือ) หรือ การบันทึกสินค้าคงเหลือปลายงวดด้วยระบบการตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด (Periodic Inventory Method) ที่ไม่ได้มีการบันทึกตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น หรือ ในกรณีที่สินค้าสูญหาย

ในการปฏิบัติงานเมื่อมีการพบเหตุการณ์ดังกล่าวว่าในอดีตมีรายการนี้เกิดขึ้น การดำเนินการคือการปรับปรุงรายการย้อนหลังในงบการเงินสำหรับรายการ ณ วันต้นงวดบัญชี กรณีสามารถสืบทราบได้ว่าผลต่างในปัจจุบันเกิดขึ้นจากรายการหรือเหตุการณ์ในอดีต วิธีการในการปรับปรุงแบ่งเป็นกรณีได้ดังนี้

กรณีในอดีตพบข้อผิดพลาดทำให้ต้องบันทึกรายการรายได้ให้ครบถ้วน โดยทำการปรับปรุงกับบัญชีกำไรสะสม ซึ่งการจะดำเนินการปรับปรุงควรจะต้องมีการพิสูจน์หลักฐานที่เกิดขึ้นจากการขายสินค้าร่วมด้วย เพื่อให้การรับรู้รายการมีความถูกต้องตามควร ด้วยการ

เดบิต เงินฝากธนาคาร (ในกรณีที่มีการตรวจสอบว่ามีการชำระค่าสินค้ามาแล้ว โดยมีหลักฐานแสดงการรับเงิน) หรือ

เดบิต ลูกหนี้การค้า (ในกรณีที่มีการจำหน่ายไปแล้วแต่พบว่ายังไม่มีการแสดงข้อเท็จจริงถึงการชำระเงิน) หรือ

เดบิต ลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ (ในกรณีที่กรรมการมีการนำสินค้านั้นไปใช้เพื่อประโยชน์อื่น หรือนำไปจำหน่ายแต่ยังไม่มีการนำส่งหลักฐานที่พิสูจน์รายการได้)

เครดิต กำไรสะสม (อย่างที่กล่าวมาจะต้องมีหลักฐานที่แสดงถึงการขายในอดีต)

การบันทึกรายการด้านเดบิต นักบัญชีควรทำการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะพิจารณาบันทึกรายการ เพราะหากข้อมูลหลักฐานไม่ครบถ้วนอาจส่งผลกระทบไปยังรายการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ เช่นอาจทำให้เงินฝากธนาคารแสดงยอดสูงไป หรือรายการลูกหนี้การค้าที่ปรากฎไม่สอดคล้องตรงกับความจริงที่เกิดขึ้นของรายการ ทั้งนี้ในการปรับปรุงรายการควรมีการประกอบเอกสารหลักฐานเพื่อพิสูจน์รายการและความถูกต้องของรายการนั้นด้วย

สำหรับกรณีกิจการที่ใช้วิธีการบันทึกรายการด้วยระบบการบันทึกสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง Perpetual Inventory Method สิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อจากการบันทึกรายการข้างต้น จะต้องทำการบันทึกรายการต้นทุนขาย ด้วย แต่เนื่องจากการบันทึกดังกล่าวเป็นเหตุจากในอดีต ทำให้การบันทึกจะต้องทำการตัดรายการกับกำไรสะสมแทน ด้วยการบันทึก

เดบิต กำไรสะสม

เครดิต สินค้าคงเหลือ

 สำหรับกรณีกิจการที่ใช้วิธีการบันทึกรายการด้วยระบบการตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด Periodic Inventory Method สิ่งที่จะต้องดำเนินการคือการบันทึกตัดกับรายการสินค้าคงเหลือต้นงวด เพราะข้อมูลที่ถูกบันทึกในอดีตไม่ถูกต้องทำให้สินค้าคงเหลือต้นงวดแสดงข้อมูลขัดต่อข้อเท็จจริง ด้วยการ

เดบิต กำไรสะสม

เครดิต สินค้าคงเหลือ (ต้นงวด)

 เมื่อนักบัญชีได้ดำเนินการปรับปรุงรายการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามวิธีปฏิบัติข้างต้น อีกประเด็นหนึ่งที่นักบัญชีจะต้องดำเนินการคือการปรับปรุงรายการเกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ในปีปัจจุบัน โดยวิธีการในการปรับปรุงนั้น จะทำเพื่อให้มูลค่าของสินค้าคงเหลือปลายงวดในงวดต่อไปนั้น แสดงข้อมูลที่ถูกต้อง เป็นยอดที่สอดคล้องตรงกันกับการตรวจนับสินค้าคงคลัง ด้วยการบันทึก

เดบิต สินค้าคงเหลือ (ต้นงวด)

เครดิต ต้นทุนขาย / กำไรขาดทุน (ขึ้นอยู่กับการออกแบบผังบัญชีและชื่อบัญชีที่กิจการใช้)

กรณีในปัจจุบัน นักบัญชีตรวจสอบรายการพบว่าข้อผิดพลาดทำให้ต้องบันทึกรายการรายได้ให้ครบถ้วน กรณีนี้ควรต้องทำการสืบหาเพื่อให้ทราบว่ามีผลต่างที่เกิดขึ้นของสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวดเกิดขึ้นในปีปัจจุบันจริงหรือไม่ หรือไม่สามารถสืบหาได้ว่าเป็นผลต่างที่เกิดขึ้นในปีใด นักบัญชีจะต้องทำการปรับปรุงรายการด้วยการ 

เดบิต เงินฝากธนาคาร (ในกรณีที่มีการตรวจสอบว่ามีการชำระค่าสินค้ามาแล้ว โดยมีหลักฐานแสดงการรับเงิน) หรือ

เดบิต ลูกหนี้การค้า (ในกรณีที่มีการจำหน่ายไปแล้วแต่พบว่ายังไม่มีการแสดงข้อเท็จจริงถึงการชำระเงิน) หรือ

เดบิต ลูกหนี้เงินกู้ยืมกรรมการ (ในกรณีที่กรรมการมีการนำสินค้านั้นไปใช้เพื่อประโยชน์อื่น หรือนำไปจำหน่ายแต่ยังไม่มีการนำส่งหลักฐานที่พิสูจน์รายการได้)

เครดิต รายได้จากการขาย

 

สำหรับกรณีกิจการที่ใช้วิธีการบันทึกรายการด้วยระบบการบันทึกสินค้าคงเหลือแบบต่อเนื่อง Perpetual Inventory Method สิ่งที่จะต้องดำเนินการต่อจากการบันทึกรายการข้างต้น จะต้องทำการบันทึกรายการต้นทุนขาย ด้วยการปฏิบัติ

เดบิต ต้นทุนขาย หรือ ขาดทุนจากสินค้าสูญหาย

เครดิต สินค้าคงเหลือ

สำหรับกรณีกิจการที่ใช้วิธีการบันทึกรายการด้วยระบบการตรวจนับสินค้าคงเหลือ ณ วันสิ้นงวด Periodic Inventory Method กิจการจะยังไม่ดำเนินการบันทึกรายการ แต่จะทำการปรับปรุงรายการมูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวดใหม่อีกครั้ง ด้วยจำนวนที่ถูกต้องจากการตรวจนับ

 อ้างอิง : ตัวอย่างเพื่อประกอบความเข้าใจในการปรับปรุงบัญชี เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด, สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559.

“สินค้าคงเหลือในการปฏิบัติงานนั้นควรจะต้องมีการวางแผนในการดำเนินการไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของการรับสินค้าเข้า การเบิกจ่ายสินค้าออกไปเพื่อจำหน่าย หรือเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต และขั้นตอนของการตรวจนับสินค้าคงคลัง เพราะในทางปฏิบัติสินค้าคงเหลือเป็นประเด็นที่มักพบข้อผิดพลาดในการจัดทำ”

 4260
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์