"หากมีเงินเดือนหรือมีรายได้จากหลายทางเกิน 10,000 บาท/เดือน (120,000 บาท/ปี) ต้องยื่นภาษีทุกคน"
คนที่มีรายได้ 10,000 บาท/เดือน ไม่มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการ เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ผู้มีเงินได้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการหากมีเงินได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร เกิน 120,000 บาท
สาเหตุที่กฎหมายกำหนดเช่นนี้ เพราะเมื่อผู้ที่มีเงินได้ 120,000 บาทต่อปี ยื่นภาษี แล้วใช้สิทธิลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท ร่วมกับสิทธิหักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินเดือน หรือ 60,000 บาท เท่ากับว่า
"เงินได้ 120,000 – ค่าใช้จ่าย 60,000 บาท – ค่าลดหย่อน 60,000 บาท" =เงินได้สุทธิ 0 บาทจึงไม่ต้องยื่นภาษี
หมายความว่า เด็กจบใหม่ได้เงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาทหรือมากกว่านั้น ก็ต้องยื่นภาษีตามกฎหมาย แต่ไม่ต้องตกใจไป เพราะการ “ยื่นภาษี” ไม่ได้หมายความว่าจะต้อง “เสียภาษี” เสมอไปหลายคนเข้าใจผิดว่ายื่นภาษี และเสียภาษี เป็นเรื่องเดียวกัน หากจะอธิบายง่ายๆ
การยื่นภาษี คือ การที่บุคคลที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ต้องยื่นแบบแสดงรายการเงินได้ปีละ 1 ครั้ง
การเสียภาษี คือ ขั้นตอนหลังจากผู้ยื่นภาษีเรียบร้อยแล้ว จะเสียภาษีก็ต่อเมื่อ มีเงินได้หรือมีรายได้ถึงเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเท่านั้น ส่วนจะต้องเสียภาษีหรือไม่นั้นไปดูที่ข้อต่อไปได้เลย
ก่อนที่จะรู้ว่าเราต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ต้องรู้ก่อนว่าเรามีรายได้สุทธิเท่าไหร่ โดยการคำนวณรายได้สุทธิ คือ
"รายรับทั้งปี – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน"=รายได้สุทธิ
เมื่อรู้ว่าตัวเองมีรายได้สุทธิเท่าไหร่เรียบร้อยแล้ว จึงนำมาเทียบว่า รายได้สุทธิของเราอยู่ในระดับใด และอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีหรือไม่ ซึ่งเกณฑ์ย่อมแตกต่างกันออกไปตามรายได้สุทธิที่ได้รับ ยิ่งรายได้สุทธิมากเท่าไหร่ ยิ่งเสียภาษีมากขึ้นตามไปด้วย โดยเป็นไปตามเกณฑ์ดังต่อไปนี้
อย่างไรก็ตามผู้ยื่นภาษี มีสิทธิที่เรียกว่า “ค่าใช้จ่าย” และ “ค่าลดหย่อน” ที่เข้ามาช่วยให้หักลบกับรายได้สุทธิ
สำหรับ "ค่าใช้จ่ายที่จะนำมาหักลบ" นั้น ต้องมีเงื่อนไขดังนี้
ส่วน "ค่าลดหย่อนภาษี" ที่สามารถนำมาลดหย่อนได้ ประกอบด้วย
หมายความว่า ทุกคนที่ “ยื่นภาษี” ไม่ได้หมายความว่าจะต้อง “เสียภาษี” ทุกคน ขึ้นอยู่กับการหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนของแต่ละคน
ดังนั้น จะมีทั้งคนที่ไม่ได้เสียภาษีใดๆ เลย มีทั้งคนที่ต้องเสียภาษี และได้ภาษีคืน
ถัดจากนี้ คือ 3 คำถามยอดฮิต ที่เหล่ามือใหม่หัดยื่นภาษี มักสงสัยอยู่เสมอ..
นับตั้งแต่มีรายได้เป็นของตัวเอง จะต้องยื่นภาษีเงินได้ส่วนบุคคลให้กับกรมสรรพากรอย่างตรงไปตรงมา สำหรับคนเริ่มต้นทำงานปีแรกเช่น ปี 2562 จะต้องรวบรวมรายได้ตั้งแต่เดือน มกราคม 2562 ถึง ธันวาคม 2562 มายื่นแสดงข้อมูลให้กับสรรพากรตั้งแต่ 1 ม.ค.- 31 มี.ค. ของปีถัดไป หรือปี 2563 โดยปีนี้ กรมสรรพากรขยายเวลายื่นภาษีบุคคลธรรมดา ทั้งช่องทางออนไลน์และยื่นภาษีแบบกระดาษ ถึง 30 มิ.ย.63
ส่วนใครที่เพิ่งเริ่มทำงานกลางปี 2562 (เงินเดือนมากกว่า 10,000 ต่อปี) ก็สามารถยื่นแบบแสดงรายการตามเงินได้ที่ได้รับจริงๆ ในปีนั้นได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ทำงานครบปี
ปัจจุบันกรมสรรพากรเปิดโอกาสให้ยื่นภาษีได้ 3 ช่องทางหลัก
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาทุกแห่ง
- ไปรษณีย์ แบบลงทะเบียน เฉพาะผู้มีเงินได้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพฯ
- ง่ายที่สุดคือช่องทางออนไลน์ สามารถยื่นผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร rd.go.th ได้เลย
สำหรับวิธีการยื่นภาษีออนไลน์สามารถดูรายละเอียด และทำตามขั้นตอนต่างๆ ได้ที่ ขั้นตอนการยื่นภาษีออนไลน์จากกรมสรรพากร
การไม่ยื่นภาษี หรือ เลี่ยงภาษีล้วนมีความผิด แต่บทลงโทษจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละกรณี ดังนี้
- กรณีที่ไม่จ่ายภาษีในเวลาที่กำหนด จะต้องเสียเงินเพิ่มอีก 1.5% ต่อเดือนจนถึงวันที่เสียภาษี
- กรณีที่ตรวจสอบพบว่าไม่ได้ยื่นภาษี หรือยื่นแสดงรายการไว้ แต่จ่ายภาษีขาดไป ต้องรับผิดชอบเงินส่วนที่หายไป และเสียเบี้ยปรับอีก 1 เท่า หรือ 2 เท่าของภาษีที่ต้องชำระ แล้วแต่กรณี
- กรณีไม่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.90, 91 หรือ 94 ภายในกำหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับทางอาญาไม่เกิน 2,000 บาท
- ถ้าจงใจให้ข้อความเท็จ แสดงหลักฐานเท็จ หรือฉ้อโกง เพื่อเลี่ยงภาษี มีโทษจำคุก ตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปีและปรับตั้งแต่ 2,000-200,000 บาท
- ถ้าเจตนาไม่ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเลี่ยงภาษี มีโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปีหรือทั้งปรับทั้งจำ
แม้การเสียภาษีจะมีรายละเอียดที่ต้องศึกษาค่อนข้างมากในตอนแรก แต่หากค่อยๆ ศึกษาให้เข้าใจ และทำตามขั้นตอนก็สามารถทำได้ด้วยตัวเอง และอาจกล่าวได้ว่าการเสียภาษีเป็นเรื่องที่ไม่น่ากลัว และการจ่ายภาษีให้ถูกต้อง ตรงไปตรงมา เป็นเรื่องที่ง่ายกว่าการตามแก้ปัญหาเรื่องภาษีในภายหลังหลายเท่าตัว