9 ภาษี ในการประกอบธุรกิจ

9 ภาษี ในการประกอบธุรกิจ



ในการประกอบธุรกิจ หรือเริ่มต้นทำกิจการนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการกังวลส่วนเป็นใหญ่นั้น มักจะเป็นในเรื่องของการตลาด ว่าเราจะเสาะหาแหล่งลูกค้าจากที่ไหน ต้องทำการตลาดยังไงถึงจะเข้าถึงผู้บริโภคอย่างทั่วถึง เรื่องของเงินทุนต่างๆในการเริ่มต้นทำธุรกิจ แต่สิ่งที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งที่ผู้ประกอบการหลายๆคนมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก นั่นก็คือเรื่องของ ภาษี อากร

            โดยหลักการทั่วไปที่คนคุ้นเคยกันนั้น ภาษีคือ ภาระหน้าที่ประชาชนที่ต้องนำส่งภาครัฐตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารประเทศ ภาษีประกอบด้วยภาษีทางตรง และภาษีทางอ้อม ซึ่งกฎหมายจะมีบทลงโทษผู้ไม่ยอมเสียภาษี ดังนั้นบทความนี้จะพูดถึงเรื่องของภาษี อากร ที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจสำคัญที่ผู้ประกอบการควรรู้จักค่ะ

1.ภาษีมูลค่าเพิ่ม

            คือภาษรีซึ่งเก็บจากมูลค่าของการซื้อขายสินค้าหรือบริการ ปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยเรานั้น อยู่ในอัตราคงที่คือ 7% หากผู้ประกอบการได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องมีหน้าที่เรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการและออกใบกำกับภาษีเพื่อเป็นหลักฐานในการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม  จัดทำรายงานตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งได้แก่ รายงานภาษีซื้อ รายงานภาษีขาย และรายงานสินค้าและวัตถุดิบ และสุดท้ายจะต้องทำการยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีตามแบบ ภ.พ. 30 โดยผู้ประกอบการจดทะเบียน ต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 พร้อมชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี) เป็นรายเดือนทุกเดือนภาษี โดยให้ยื่นแบบภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ซึ่งคำนวณจากยอดภาษีขาย หักออกด้วยยอดภาษีซื้อ

2.ภาษีเงินได้

            คือภาษีทางตรงที่รัฐเรียกเก็บจากเงินได้ของผู้ที่มีรายได้ เข้าใจง่ายๆก็คือ ใครมีรายได้ คนนั้นต้องเสียภาษีเงินได้ โดยจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าผู้ประกอบการประกอบธุรกิจโดไม่ได้จดทะเบียนเป็น นิติบุคคล จะต้องเสียภาษีแบบบุคคลธรรมดาโดยจะต้องยื่นภาษี 2 ครั้งในแต่ละปี คือภาษีครึ่งปีโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.94 และภาษีประจำปีโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.90 สำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนเป็น นิติบุคคล จะต้องเสียภาษีเงินได้แบบนิติบุคคล  โดยจะต้องยื่นภาษี 2 ครั้ง คือภาษีครึ่งปีโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.51 และภาษีประจำปีโดยใช้แบบ ภ.ง.ด.50

3.ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

           คือ จะหัก ณ ที่จ่าย ถ้ามีการจ่ายเงินเกิดขึ้น คนที่จ่ายเงินที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท หรือนิติบุคคล หัก ไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินให้กับคนรับ ที่เป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดาก็ได้ เพื่อนำส่งสรรพากร และเมื่อได้ทำการหักถาษี ณ ที่จ่ายแล้วจะต้องมีการออก "หนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย" ซึ่งผู้ถูกหักสามารถนำไปขอคืนจากรัฐตอนสิ้นปี หรือนำไปลดหย่อนภาษีได้ อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

แบบที่ใช้ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย                               

  • กรณีจ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานประจำ ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 1
  • กรณีจ่ายค่าบริการให้กับบุคคลธรรมดา ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 3
  • กรณีจ่ายค่าบริการให้กับนิติบุคคล ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 53
  • กรณีจ่ายค่าบริการให้กับบริษัทต่างประเทศ หรือคนต่างประเทศ ยื่นด้วยแบบ ภ.ง.ด. 54

4.ภาษีธุรกิจเฉพาะ

            คือ เป็นภาษีที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ซึ่งบังคับใช้บางธุรกิจเท่านั้น เช่น ธุรกิจเกี่ยวกับการธนาคาร การรับประกันชีวิต การรับจำนำ ผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามแบบคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มประกอบกิจการ ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษี โดยใช้แบบ ภ.ธ.40  เป็นรายเดือนภาษี ภายในวันที่15 ของเดือนถัดไปไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้นหรือไม่ก็ตาม ภาษีในเดือนภาษีใด เมื่อรวมคำนวณแล้วมีจำนวนไม่ถึง 100 บาท ผู้ประกอบกิจการไม่ต้องเสียภาษีสำหรับ เดือนภาษีนั้น แต่ยังคงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการตามปกติ

5.ภาษีสรรพสามิต

            คือ ภาษีการขายที่เรียกเก็บเฉพาะสินค้าหรือบริการบางประเภท ซึ่งจะมีอัตราภาษีที่ต้องรับภาระสูงกว่าปกติ เช่นสินค้าที่บริโภคแล้วเกิดผลเสียทำลายสุขภาพ ศีลธรรมอันดี ก่อให้เกิดภาระต่อรัฐฯ ที่จะต้องสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ หรือสินค้าที่ทำให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ผู้ประกอบการเหล่านี้จะต้องทำการแจ้งงบการเงินกากรมสรรพสามิตในพื้นที่ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

6.ภาษีโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้าง

คือ ภาษีที่รัฐฯ จัดเก็บจากโรงเรือน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาคาร ตึกแถว สำนักงาน ร้านค้า เป็นต้น และมีรายได้จากเช่า จะต้องเสียภาษีโรงเรือน 12.5% ต่อปีของค่ารายปี โดยชำระภาษีที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอที่ตั้งอยู่ ภายในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี

7.ภาษีบำรุงท้องที่

            คือ ภาษีที่จัดเก็บจากเจ้าของที่ดินทุกประเภท ไม่ว่าจะมีเอกสารสิทธิ์ หรือไม่มีเอกสารสิทธิ์เป็นที่ว่างเปล่าหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่หรือไม่ นอกจากนี้ยังหมายความรวมถึงพื้นที่ที่เป็นภูเขาและแม่น้ำด้วย เจ้าของที่ดินจะต้องมีหน้าที่เสียภาษี ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษี ภ.บ.ท.5 ที่ผลประโยชน์กองคลังเทศบาลทุกๆรอบ 4 ปี

8.ภาษีป้าย

            คือ ภาษีที่เก็บจากการแสดงป้ายทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นป้านชื่อ ป้ายโลโก้ ป้ายยี่ห้อ เป็นต้น ที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือกิจการอื่น เพื่อหารายได้ หรือโฆษณาการค้า ซึ่งอัตราการคิดภาษีของป้าย จะคิดตามขนาดของป้าย แต่เริ่มต้นที่ 200 บาท กรณีที่ป้ายที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษีป้าย จะต้องยื่นที่สำนักงานเขต หรือที่ว่าการอำเภอที่ตั้งภายใน เดือนมีนาคม ของทุกปี

9.อากรแสตมป์

            คือ ภาษีประเภทหนึ่งที่จัดเก็บจากการทำตราสาร หรือธุรกรรมบางอย่าง จะมีอยู่ทั้งหมด 28 ลักษณะตราสาร เช่น ตราสารเช่าที่กับโรงเรือน เช่าซื้อทรัพย์สิน จ้างทำของ กู้ยืมเงิน ฯลฯ เป็นต้น โดยสามารถชำระเป็นอากร ซื้อได้ที่กรมสรรพากร หรือเป็นเงินสด ในตราสารบางประเภท และต้องขออนุมัติด้วย  อ.ส.4 ก่อน


 1494
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์