081-359-6920
,
02-402-6117
sale@prosoftwinspeed.com
ลงทะเบียน Demo
Menu
Home
Products
Overview
Key Feature
Screenshots
Reports
Sales Order
Purchase Order
Accounts Receivable
Accounts Payable
Inventory Control
Warehouse Management
Job Cost
General Ledger
Budget Control
Cheque and Bank
Petty Cash
Advance System
Multi Currency
Letter of Credit
Commission Management
Consignment
Audit and Internal Control
Value Added Tax
Customer Relationship Management
Fixed Assets
Solutions
ธุรกิจเหล็ก
ธุรกิจการผลิต
ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ธุรกิจก่อสร้าง
ธุรกิจฝากขาย
Services
จองอบรม Online
FAQ Online
E-learning
คู่มือการใช้งาน (Help)
System Requirements
New Feature
E-Newsletter
บริการ Maintenance
บริการเสริม
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
Customers
ลูกค้าของเรา
Success Stories
บรรยากาศการอบรม
More
News & Events
Accounting Articles
About Us
Company Profile
Organization
Management Team
Our Business
Awards & Standards
Prosoft Group
Our Family
Social Enterprise
Job Opportunity
Gallery
Office Location
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
หน้าแรก
Accounting Articles
7 วิธี คืนชีพกระแสเงินสด! ให้ธุรกิจไม่สะดุด แม้เจอวิกฤตอีกกี่รอบ
7 วิธี คืนชีพกระแสเงินสด! ให้ธุรกิจไม่สะดุด แม้เจอวิกฤตอีกกี่รอบ
ย้อนกลับ
หน้าแรก
Accounting Articles
7 วิธี คืนชีพกระแสเงินสด! ให้ธุรกิจไม่สะดุด แม้เจอวิกฤตอีกกี่รอบ
7 วิธี คืนชีพกระแสเงินสด! ให้ธุรกิจไม่สะดุด แม้เจอวิกฤตอีกกี่รอบ
ย้อนกลับ
ไม่ว่าจะเวลาไหน เรื่องเงินก็ยังยืนหนึ่งในใจของคนทำธุรกิจอยู่เสมอ ยิ่งในช่วงนี้ที่ต้องลำบากเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว การรับมือและจัดการกับกระแสเงินสด หรือ Cash Flow จึงเป็นอะไรที่ต้องมีมากกว่าแค่ความใส่ใจ
และเพื่อที่จะทำให้เงินเข้าและออกได้อย่างคล่องตัว ไปดูกันว่า ผู้ประกอบการควรทำอย่างไร ในวันที่ความฝืดเคืองนั้นอยู่ไม่ไกล แถมยังคอยขยับเข้ามาใกล้แบบนี้
1. ทำความเข้าใจกับสถานะทางการเงินในปัจจุบัน
ในช่วงเวลาเช่นนี้ อย่างแรกที่ควรทำคือ การประเมินสถานะของกระแสเงินสดแบบรายวันหรือรายสัปดาห์ และผลกระทบทางการเงินระยะสั้นและระยะกลางที่อาจเกิดขึ้นได้จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมุ่งไปที่เรื่องของสภาพคล่อง ข้อตกลงสัญญาต่างๆ ที่ทำไว้ รวมถึงทบทวนการคาดการณ์กระแสเงินสดระยะสั้น พร้อมอัปเดตแผนธุรกิจและงบประมาณต่างๆ นอกจากนี้ ควรจำลองสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่อาจเกิดขึ้นได้ และควรทำความเข้าใจในเรื่องของผลกระทบของอัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศต่อสถานะเงินสดของธุรกิจที่มีอยู่ด้วย เพื่อเตรียมแผนรับมือล่วงหน้า
2. ตรวจสอบลูกหนี้การค้าอย่างรอบคอบ
Accounts Receivable (A/R) หรือ ลูกหนี้การค้า คือ เงินที่ลูกค้าของกิจการค้างชำระ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการที่ได้ส่งมอบไปแล้ว ซึ่งหากตัวเลขของลูกหนี้การค้าสูงเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อการเงินและสภาพคล่องของธุรกิจได้ โดยเฉพาะในช่วงวิกฤตเช่นนี้ที่ลูกค้าบางรายอาจจ่ายเงินล่าช้า หรือลูกค้าที่ชำระผ่านบัตรเครดิตอาจจะชะลอการจ่ายออกไป ดังนั้น ต้องตรวจสอบสิ่งเหล่านี้อย่างใกล้ชิด เพื่อมองให้เห็นภาพอย่างชัดเจนและวางแผนหาวิธีจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
3. กระตุ้นลูกค้าจ่ายเงินให้เร็วขึ้น
กลยุทธ์ที่ดีอย่างหนึ่งในการกระตุ้นให้ลูกค้าชำระเงินให้เร็วขึ้นและหลีกเลี่ยงการไม่ชำระเงินเลยคือ การมอบส่วนลดหากชำระเงินในทันทีนั่นเอง ซึ่งแม้ว่าตามใบแจ้งหนี้ ระยะเวลาของการชำระเงินอาจครบกำหนดภายใน 30 วัน แต่การเสนอส่วนลดให้แบบนี้ จะช่วยดึงดูดใจให้พวกเขาจ่ายได้เร็วขึ้น หรือถ้าจะให้ดี อาจมีข้อเสนอส่วนลดพิเศษให้คนที่จ่ายล่วงหน้าด้วยก็ได้ ซึ่งการเสนอส่วนลดแบบนี้ ถือเป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมที่จะทำให้ธุรกิจได้รับการชำระเงินล่วงหน้าและมีเงินสดได้อย่างรวดเร็ว
4. ชะลอการจ่ายของตัวเองลงเล็กน้อย
เช่นเดียวกับลูกค้า ผู้ประกอบการเองก็มีสิ่งที่ต้องจ่ายเหมือนกัน โดยเฉพาะ Accounts Payable (A/P) หรือ เจ้าหนี้การค้า ซึ่งก็คือเงินที่กิจการค้างชำระ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าหรือบริการที่ได้รับไปแล้วนั่นเอง ยิ่งชะลอการจ่ายได้นานเท่าไร ยิ่งมีเงินสดอยู่ในมือได้มากเท่านั้น แต่อย่าลืมว่า ยิ่งจ่ายช้าเท่าไร ผู้ขาย (Vendor) หรือเจ้าหนี้ยิ่งไม่ชอบมากเท่านั้นเช่นกัน ดังนั้น ควรชั่งน้ำหนักถึงข้อดีและข้อเสียตรงนี้ให้ดี เพราะการชำระเงินที่ช้าเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างกันได้ ในขณะที่การจ่ายเงินเร็วเกินไปก็อาจส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น ผู้ประกอบการต้องหาตรงกลางให้เจอ เพื่อให้ทั้งตัวเองอยู่รอดและเจ้าหนี้ก็ชอบใจ
5. ซื้อสินค้าคงคลังให้น้อยลง
ผู้ประกอบการไม่น้อยมักสร้างความผิดพลาดด้วยการซื้อสินค้าคงคลังมากเกินไป ซึ่งทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมากโดยไม่จำเป็น ดังนั้น ทางที่ดีควรตรวจสอบดูว่า ธุรกิจสามารถลดจำนวนสินค้าคงคลังลงได้บ้างหรือไม่ และควรสั่งซื้อสินค้าเข้ามาเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น โดยเฉพาะในช่วงเวลานี้ ควรดูว่าจะเปลี่ยนสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็นที่มีอยู่เป็นเงินได้อย่างไร และหนึ่งในวิธีที่ได้ผลเสมอก็คือ การนำมาขายแบบลดราคานั่นเอง
6. ต่อรองเพื่อส่วนลด
อีกวิธีที่จะช่วยฟื้นกระแสเงินสดของกิจการได้คือ การขอส่วนลดจากคู่ค้า โดยเริ่มจากการทำรายชื่อผู้ขายและคู่ค้าทั้งหมดเรียงตามค่าใช้จ่ายจากมากไปน้อย จากนั้นลองเจรจากับเจ้าที่ใหญ่ที่สุดเพื่อต่อรองลดราคา หรือทำสัญญาระยะยาวเพื่อแลกกับการชำระเงินที่ราคาต่ำกว่า เพื่อต่ออายุให้กระแสเงินสดของธุรกิจหมุนเวียนได้อย่างไม่ฝืดเคืองมากนัก
7. ขอสินเชื่อ
อีกแหล่งสำคัญของการได้มาซึ่งเงินสดในมือคือ การขอสินเชื่อจากธนาคารและสถาบันการเงิน แม้ว่าการยื่นขอสินเชื่อในช่วงวิกฤตอาจเป็นเรื่องยาก แต่ก็คุ้มค่ากับการลงทุน ซึ่งหากผู้ประกอบการมีสินทรัพย์ เช่น อสังหาริมทรัพย์ หรือสินทรัพย์ที่มีตัวตน (Tangible Assets) อย่างเงินฝากธนาคาร ตั๋วเงินรับ ลูกหนี้ สินค้าคงเหลือ วัสดุสำนักงาน ที่ดิน และอุปกรณ์ต่างๆ สามารถใช้สินทรัพย์เหล่านี้ เพื่อค้ำประกันวงเงินสินเชื่อได้
การวางแผนที่ดี จะช่วยชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจต้องปรับลดต้นทุน ตัดค่าใช้จ่าย และทำการตลาดอย่างไร เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ซึ่งหากผู้ประกอบการรายไหนมีการวางแผนงบประมาณและการประเมินการด้านธุรกิจที่ช่วยคาดการณ์เรื่องของกระแสเงินสดอยู่แล้ว ตอนนี้ก็เป็นเวลาที่จะต้องมองให้ลึกลงไปมากขึ้น พร้อมจำลองสถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้นได้ เพื่อทำให้เข้าใจมากขึ้นว่า การเปลี่ยนแปลงของยอดขายหรือปัจจัยต่างๆ นั้น จะส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดและการเงินของธุรกิจอย่างไร
หรือหากผู้ประกอบการรายไหนยังไม่เคยวางแผนและประเมินสถานการณ์ด้านกระแสเงินสดมาก่อน ควรใช้เวลาเช่นนี้เป็นจุดเริ่มต้น โดยอาจตั้งคำถามกับตัวเองง่ายๆ เช่น เราใช้เงินสดสำรองหมดไวแค่ไหน? เรามีเงินสดอยู่ในมือนานเท่าไรก่อนที่จะใช้มันหมด? และ มีแผนการตลาดไหนบ้างที่เราควรลดหรือตัดออก?
นอกจากนี้ สำหรับธุรกิจส่วนใหญ่ เงินเดือนถือเป็นค่าใช้จ่ายที่กินสัดส่วนมากที่สุด ซึ่งผู้ประกอบการควรทำการทบทวนในประเด็นนี้ให้ดีว่า มีวิธีไหนบ้างที่จะเข้ามาตอบโจทย์ และจะช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มเงินในมือให้มากขึ้นได้ขนาดไหน เช่น ไม่จ้างแรงงานเพิ่ม ปลดพนักงานออก ลดเงินเดือนทุกคนลง 20 เปอร์เซ็นต์ และผู้บริหารไม่รับเงินเดือน เป็นต้น รวมถึงการตัดค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ไม่จำเป็นออก
ดังนั้น ด้วยการวางแผนด้านการเงินที่ดี จะช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถปรับการคาดการณ์ในเรื่องต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นด้านยอดขาย งบประมาณ และค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งจะเป็นแนวทางชี้ให้เห็นว่า จะมีผลกระทบอย่างไรต่อกระแสเงินสดของกิจการในอนาคต ที่สำคัญ การคาดการณ์กระแสเงินสดจะเน้นให้เห็นจุดที่เป็นปัญหาของธุรกิจได้ล่วงหน้า ซึ่งจะช่วยให้เจ้านายตัวเองทั้งหลายมีเวลาในการตอบสนองและหาวิธีแก้ปัญหานั้นๆ ได้ดียิ่งขึ้น
ที่มา : www.smethailandclub.com
1977
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำความรู้จักกับ Landed Cost
ทำความรู้จักกับ Landed Cost
Landed Cost
คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
ความผิดพลาดด้านการเงินที่ SME ต้องเรียนรู้
ความผิดพลาดด้านการเงินที่ SME ต้องเรียนรู้
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องทำยังไง
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องทำยังไง
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เกี่ยวข้องกับงานบัญชีอย่างไร
โปรแกรม ERP เกี่ยวข้องกับงานบัญชีอย่างไร
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี กับการลงทุนที่คุ้มค่า พร้อมระบบงานบัญชีครบวงจร
โปรแกรมบัญชี กับการลงทุนที่คุ้มค่า พร้อมระบบงานบัญชีครบวงจร
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" ลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง
"ยื่นภาษี 2566" ลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com