สรรพากรมองสินค้าฝากขายอย่างไร

สรรพากรมองสินค้าฝากขายอย่างไร



รับทำบัญชี ภาษี กิจการซื้อมาขายไป – สินค้าฝากขาย  การฝากขายสินค้าทางกรมสรรพากรได้ออกแนวทางในการปฎิบัติไว้ 2 แบบดังนี้

1.การฝากขายโดยไม่มีสัญญาแต่งตั้งตัวแทน

ในกฎหมายเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้ระบุไว้เป็นการทั่วไปว่า“เมื่อมีการส่งมอบสินค้าเพื่อเป็นการฝากขาย” ไปให้ผู้รับฝากขาย แล้ว ถือว่า ภาระภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นแล้ว ผู้ฝากขาย มีหน้าที่ต้องออกใบกำกับภาษี และคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม และนำส่งภาษีขายแก่กรมสรรพากร ทำให้เกิดความแตกต่างในวิธีปฏิบัติทางบัญชี และภาษีอากรเกิดขึ้น

2.  การฝากขายโดยมีสัญญาแต่งตั้งตัวแทน

ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 8) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ของสัญญาการตั้งตัวแทนเพื่อขายตามประเภทของสินค้า ตามมาตรา 78(3) แห่งประมวลรัษฎากร


ประเด็นทางภาษี ในการรับทำบัญชี สินค้าฝากขาย


กิจการซื้อมาขายไป -สินค้าฝากขาย การฝากขายสินค้ามีประเด็น ทางบัญชี และภาษีอากรที่ต้องทำความเข้าใจพอสมควร  ทั้งในส่วนของภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล  กิจการควรวางแผนจัดการ อย่างเป็นระบบ ในหัวข้อประเด็นทางบัญชี ภาษีดังนี้

การรับรู้รายได้ / ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ตามความหมายการขายตามภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น สินค้าที่ฝากขาย โดยไม่มีสัญญาแต่งตั้งตัวแทนนั้น

ผู้ฝากขาย ต้องออกใบกำกับภาษีและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้รับฝากขาย ได้รับใบกำกับภาษีมูลค่าเพิ่ม และสามารถนำมาใช้ในการเครดิตกับภาษี

หากสินค้าที่ไปวางไว้ที่ผู้รับฝากขายยังขายไม่ได้ ก็เท่ากับ ผู้ฝากขาย ต้องจ่ายภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ทั้งที่ยังไม่สามารถขายสินค้าได้ขายได้ระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระทุกเดื

ในบางกรณี ผู้ฝากขายอาจทำข้อตกลงกับผู้รับฝากขายว่า ทุกสิ้นเดือนจะนับยอดสินค้าคงเหลือ และปรับยอดฝากขายโดยออกใบลดหนี้ (อ่านเพิ่ม ใบลดหนี้คืออะไร)ให้ยอดขายตามใบกำกับภาษีนั้นลดลง เพื่อให้ยอดคงเหลือของสินค้าสะท้อนถึงตัวเลขสินค้าที่ขายได้จริง วิธีนี้จะช่วยให้ผู้ฝากขายปรับยอดภาระภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระทุกเดือน ให้เป็นไปตามยอดที่สามารถขายได้จริง

สรุป

กรณีไม่มีสัญญาแต่งตั้งตัวแทน  – ออกใบกำกับภาษี และออกใบลดหนี้เมื่อสิ้นเดือน

กรณีที่สัญญาแต่งตั้งตัวแทน – ออกใบส่งมอบสินค้า และไม่ยังไม่ต้องรับรู้รายได้ / ไม่ต้องรับรู้ภาษีมูลค่าเพิ่ม จนกว่าตัวแทนจะขายสินค้าได้

มูลค่าสินค้าตามใบกำกับภาษี / รายได้ของกิจการ

ในการฝากขาย กิจการอาจจะเลือกตกลงราคา / ผลประโยชน์ตามยอดขายไว้อย่างชัดเจน หรือ ขายโดยให้ผู้รับฝากบวกผลประโยชน์เพิ่มไว้เอง

ดังนั้นยอดมูลค่าสินค้าตามใบกำกับภาษี ควรจะเป็นยอดมูลค่าสินค้าตามราคาตลาด เพราะถ้ากิจการออกใบกำกับยอดที่ต่ำว่าราคาตลาดอาจมีความเสี่ยงในการถูกประเมินภาษีเพิ่มได้

ดังนั้นมูลค่าในใบกำกับภาษีอาจจะไม่ใช่ยอดที่กิจการเรียกเก็บจากผู้รับฝากขาย แต่เป็นยอดเพื่อการนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม

เมื่อขายสินค้าได้ทางผู้รับฝากอาจจะจ่ายเงินชำระค่าสินค้าเท่ากับมูลค่าในใบกำกับภาษี หรือ อาจจะจ่ายโดยหักส่วนลดที่กิจการได้ตกลงกันไว้แล้วก่อนหน้านี้

ผลของการรับรู้รายได้มีดังนี้

  1. กิจการรับรู้รายได้สูงเกินไป ถ้าช่วงคาบเกี่ยวปีจะมีผลในการนำส่งภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงเกินไป
  2. การรับรู้รายได้คลาดเคลื่อนไปจากการรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชี

สรุป

กรณีไม่มีสัญญาแต่งตั้งตัวแทน  – รับรู้รายได้ตามยอดในใบกำกับภาษีซื้อควรต้องใช้ราคาตลาด

กรณีที่สัญญาแต่งตั้งตัวแทน – รับรู้รายได้เมื่อตัวแทนขายสินค้าได้

การจัดทำรายงานสินค้าคงเหลือ

ในการฝากขาย ตามความเป็นจริงสินค้ายังคงเป็นของผู้ฝากขาย ดังนั้นในการตรวจนับ ดูแล สินค้ายังคงเป็นภาระของผู้ฝากขายอยู่

สรุป

กรณีไม่มีสัญญาแต่งตั้งตัวแทน  – กิจการผู้ฝากต้องมีการจัดทำสินค้าคงเหลือ ในส่วนสินค้าฝากขายแยกต่างหาก

กรณีที่สัญญาแต่งตั้งตัวแทน – เป็นหน้าที่ตัวแทนในการจัดทำสินค้าคงเหลือ (ตามประกาศภาษีมูลค่าเพิ่มฉบับที่ 8)


ที่มา : www.beeaccountant.com

 19457
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์