สูตรการคิดค่าเสื่อมสินทรัพย์
ค่าเสื่อมราคา/วัน = [ (ราคาทุน – ค่าเสื่อมสะสมยกมา) – มูลค่าซาก ] / อายุคงเหลือ (วัน)
เมื่อได้ตัวเลขค่าเสื่อมราคา/วัน จะนำ x จำนวนจำนวนวันของเดือน จะเป็นค่าเสื่อมราคาของเดือนๆนั้น
ซึ่งตัวอย่างการคิดค่าเสื่อมทางทีมงานขอแบ่งเป็น 2 กรณี
กรณีที่ 1 กรณีไม่มีค่าเสื่อมสะสมยกมา
กรณีที่ 2 กรณีมีค่าเสื่อมสะสมยกมา
ซื้อคอมพิวเตอร์วันที่ 11/09/2019
ราคา 36,000 บาท
มูลค่าซากของสินทรัพย์ 1 บาท
อายุการใช้งาน 5 ปี
สูตรค่าเสื่อมราคา/วัน = [ (ราคาทุน – ค่าเสื่อมสะสมยกมา) – มูลค่าซาก ] / อายุคงเหลือ (วัน)
เมื่อแทนค่าในสูตร = [ (36,000 – 0) – 1 ] / 1,827
= 35,999 / 1,827
∴ ค่าเสื่อมราคา/วัน = 19.70 บาท/วัน (โดยประมาณ)
ค่าเสื่อมราคาของเดือน 09/2019
นำจำนวนวันของเดือนกันยายน 2019 x ค่าเสื่อมราคา/วัน
แทนค่าในสูตร = 20 วัน (นับวันที่ 11/09/2019 – 30/09/2019) x 19.70
= 394.08 บาท (โดยประมาณ)
ค่าเสื่อมราคาของเดือน 10/2019
นำจำนวนวันของเดือนตุลาคม 2020 x ค่าเสื่อมราคา/วัน
แทนค่าในสูตร = 31 วัน (นับวันที่ 01/10/2019 – 31/10/2019) x 19.70
= 610.82 บาท (โดยประมาณ)
ซื้อคอมพิวเตอร์วันที่ 11/09/2019
ราคา 36,000 บาท
มูลค่าซากของสินทรัพย์ 1 บาท
อายุการใช้งาน 5 ปี
ค่าเสื่อมราคาสะสม 5,000 บาท
เริ่มให้ระบบ PEAK คิดค่าเสื่อมให้ตั้งแต่วันที่ 01/01/2020
ดังนั้นวันที่คงเหลือใช้งาน = 1,715 (คำนวณจากวันที่อายุใช้งานทั้ง 1,827 – วันที่ทำงานใช้ไป 112)
สูตรค่าเสื่อมราคา/วัน = [ (ราคาทุน – ค่าเสื่อมสะสมยกมา) – มูลค่าซาก ] / อายุคงเหลือ (วัน)
เมื่อแทนค่าในสูตร = [ (36,000 – 5,000) – 1 ] / 1,715
= 30,999 / 1,715
∴ ค่าเสื่อมราคา/วัน = 18.08 บาท/วัน (โดยประมาณ)
ค่าเสื่อมราคาของเดือน 01/2020
นำจำนวนวันของเดือนมกราคม 2020 x ค่าเสื่อมราคา/วัน
แทนค่าในสูตร = 31 วัน (นับจากวันที่ 01/01/2020 – 31/01/2020) x 18.08
= 560.48 บาท (โดยประมาณ)
ค่าเสื่อมราคาของเดือน 02/2020
นำจำนวนวันของเดือนมกราคม 2020 x ค่าเสื่อมราคา/วัน
แทนค่าในสูตร = 29 วัน (นับจากวันที่ 01/02/2020 – 29/02/2020) x 18.08
= 524.32 บาท (โดยประมาณ)
หมายเหตุ: ตัวเลขอาจมีความคลาดเคลื่อนในส่วนของตำแหน่งทศนิยม เพราะระบบคำนวณโดยไม่มีการปัดเศษทศนิยม
ที่มา : blog.peakaccount.com