• หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • การทำบัญชี SMEs กับเทคนิคการวิเคราะห์งบการเงิน สำหรับเจ้าของกิจการ

การทำบัญชี SMEs กับเทคนิคการวิเคราะห์งบการเงิน สำหรับเจ้าของกิจการ

  • หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • การทำบัญชี SMEs กับเทคนิคการวิเคราะห์งบการเงิน สำหรับเจ้าของกิจการ

การทำบัญชี SMEs กับเทคนิคการวิเคราะห์งบการเงิน สำหรับเจ้าของกิจการ



ในปัจจุบัน ในเรื่องการปล่อยสินเชื่อธนาคาร หรือ การปล่อยสินเชื่อของธุรกิจให้กับลูกค้าแต่ละราย จะพบว่า ถ้าเป็นธนาคาร จะขอดูงบการเงินฉบับที่เสียภาษี หรือแม้แต่ธุรกิจบางแห่งจะให้สินเชื่อ โดยจะปล่อยเครดิตให้ลูกค้า ก็จะขอดูงบการเงินฉบับที่ยื่นเสียภาษีประจำปีเช่นกัน ดังนั้นท่านในฐานะผู้บริหาร เมื่อมีการทำบัญชี และจะปิดบัญชีประจำปี ควรมีหลักและเทคนิคในการวิเคราะห์งบการเงิน ของกิจการของท่านดังนี้

1.การวิเคราะห์แบบแนวนอน (Horizontal Analysis) เป็นการวิเคราะห์แบบเปรียบเทียบปีต่อปี หรือ เดือนต่อเดือน ซึ่งจะบอกถึง

- การเปลี่ยนแปลงของรายการต่างๆในงบโดยเปรียบเทียบเป็นปีต่อปี หรือเดือนต่อเดือน

- ทำให้ทราบว่ามีรายการใดเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นจำนวนเงินและเปอร์เซ็นต์รายการละเท่าใด

- สามารถหรือคาดการณ์ได้ว่าแนวโน้มแต่ละรายการในงบว่ารายใดดีขึ้นหรือแย่ลง

- จากข้อมูลทั้งหมดจะทำให้ท่านสามารถคาดการณ์ธุรกิจของท่านในอนาคตได้

2.การวิเคราะห์แบบแนวตั้งหรือแนวดิ่ง (Vertical analysis) การวิเคราะห์จะจะนำงบการเงินมาเปรียบเทียบปีต่อปี

- ในส่วนงบกำไรขาดทุน เช่นต้นทุนขายหรือบริการ  ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน จำนวน เท่าใด ในปีหนึ่งปีใดเปรียบเทียบกับร้อยละ ของยอดขายปี ซึ่งจะทำให้ทราบว่า ต้นทุนเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ต่อยอดขาย หรือค่าใช้จ่ายบริหารรายการใดเป็นเปอร์เซ็นต์ต่อยอดขาย

- หากพบว่ามีรายการค่าใช้จ่ายใดที่สูงกว่าปีก่อน ก็จะหาวิธีการเพื่อลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายได้ทันท่วงที

3.การวิเคราะห์แบบแนวโน้ม (Trend analysis) เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบการเพิ่มขึ้นหรือลดลงในแต่ละปี ของรายการต่างในงบกำไรขาดทุน หรืองบแสดงฐานะการเงิน เช่น

- ใช้ดูแนวโน้มของกิจการว่ายอดขาย ต้นทุน ค่าใช้จ่ายบริหาร ดีขึ้นหรือแย่ลงจากปีก่อน  เป็นต้น

- เพื่อนำนำข้อมูลไปใช้ในการพยากรณ์ในอนาคต หรือการทำประมารการของกิจการต่อไป

4.การวิเคราะห์แบบอัตราส่วนทางการเงิน (Financial ratio analysis) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลในงบการเงินเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างรายการหนึ่งกับรายการหนึ่ง ว่าเหมาะสมเพียงใด อัตราส่วนทางการเงินแบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

- อัตราส่วนวัดสภาพคล่องทางการเงิน

- อัตราส่วนในการวัดความสามารถในการทำ

- อัตราส่วนในการวัดความสามารถ(ประสิทธิภาพ)ในการดำเนินงาน

- การวิเคราะห์โครงสร้างเงินทุนหรือภาระหนี้สิน

ดังนั้นเมื่อท่านได้ทำตามขั้นตอนต่างๆ แล้วอย่างชำนาญ และใช้อย่างต่อเนื่องธุรกิจของท่านจะลดความเสี่ยงต่าง เพราะท่านได้ทราบแนวโน้มปัญหา และอุปสรรคล่วงหน้า และท่านได้มีเวลาปรับปรุงแก้ไขได้ทันที


ที่มา : www.buncheesiam.com

 1018
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์