เรื่องต้องรู้ก่อนยื่น ภ.ง.ด. 51

เรื่องต้องรู้ก่อนยื่น ภ.ง.ด. 51


ภ.ง.ด. 51 ยื่นภาษีกลางปี   ภ.ง.ด. 51 คืออะไร

ภ.ง.ด 51 คือ  แบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี (6 เดือน) โดยกำหนดให้ยื่นรายการภายในสองเดือนสุดนับแต่วันสุดท้ายของครึ่งรอบรอบระยะเวลาบัญชี

สำหรับรอบบัญชีปกติตามปีปฎิทิน คือ เริ่มวันแรกในวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี   

ยื่นเอกสาร  มีหน้าที่ต้องยื่นแบบภายในสิ้นเดือนสิงหาคมของทุกปี ตรงกับวัน 2 กันยายน ของทุกปี

ยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต กรมสรรพากรได้ขยายกำหนดการยื่นแบบฯ ทุกประเภทภาษีออกไปอีก 8 วัน

ภ.ง.ด. 51 ยื่นภาษีกลางปี – เรื่องต้องรู้ก่อนยื่นภาษีกลางปี

สำหรับรอบบัญชีปกติตามปีปฎิทิน คือ เริ่มวันแรกในวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี  

ยื่นเอกสาร  สามารถยื่นแบบได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม  ถึงวันที่ 31 สิงหาคม

ยื่นแบบผ่านอินเตอร์เน็ต สามารถยื่นแบบฯ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึงวันที่ 9 กันยายน

ใครมีหน้าที่ในการยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51

ผู้มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 คือใคร มีหลักเกณฑ์อะไรบ้าง

1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ต้องจัดทำประมาณการกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ

2. บริษัทจดทะเบียน ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ หรือบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เสียภาษีจากกำไรสุทธิ(ขาดทุนสุทธิ) จริงในครึ่งปีแรก

การยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ต้องแนบเอกสารหรือไม่

ไม่ต้องแนบเอกสาร เว้นแต่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด ตามประกาศอธิบดีฯ ภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 128) ซึ่งเสียภาษีจากกำไรสุทธิจริง จะต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงินและหนังสือของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี

วิธีการคำนวณภาษีเงินได้เพื่อยื่นแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 นั้น มีสองวิธี คือ

1. กึ่งหนึ่งของประมาณการกำไรสุทธิ ใช้กับ บริษัทฯ ทั่วไป กิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต กิจการบริการ SME STart Up 

2. กำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชี 6 เดือนแรก ใช้กับบริษัทดังต่อไปนี้

• บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือบริษัทเงินทุน บริษัทหลักทรัพย์ หรือบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ไม่ต้องแนบงบแสดงสถานะทางการเงิน และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย

• บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามประกาศอธิบดีกรมกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฯ ตามมาตรา 67 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากร ต้องมีการแนบงบแสดงสถานะทางการเงินและหนังสือของผู้สอบทานงบแสดงสถานะทางการเงินด้วย

ค่าปรับกรณียื่นแบบพ้นกำหนดระยะเวลา 

ค่าปรับอาญา – กรณี

          ยื่นแบบล่าช้าไม่เกิน 7 วัน ปรับ 1,000 บาท แต่
          ยื่นแบบพ้นกำหนด 7 วันไปแล้วจะต้องเสียค่าปรับ 2,000 บาท

เงินเพิ่ม  – กรณีที่ผู้เสียภาษีมีภาษีที่ต้องชำระ จะมีภาระ “เงินเพิ่ม” โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้

        1) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าไม่เกิน 2 วันให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.1% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
        2) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 2 วันแต่ไม่เกิน 7 วันให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 0.5% ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
        3) หากยื่นแบบแสดงรายการล่าช้าเกินกว่า 7 เป็นต้นไปให้เสียเงินเพิ่มในอัตรา 1.5% ต่อเดือน ของเงินภาษีที่ต้องชำระ  จนกว่าเงินเพิ่มจะครบ 20% ของภาษี

ป.ล. ค่าปรับอาญาและเงินเพิ่มข้างต้น “ไม่สามารถถือเป็นรายจ่าย” ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลได้

กรณียื่นภาษีขาดไปเกินกว่าร้อยละ 25 โดยไม่มีเหตุอันควร 

กรณียื่นแบบและชำระภาษีจากประมาณการกำไรสุทธิ แล้วแสดงประมาณการกำไรสุทธิ ขาดเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันควร ต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 20 ของภาษีที่ชำระไว้ขาด

การแก้ไขกรณี ยื่นแบบ ภ.ง.ด 51 ขาดไปเกินกว่า 25% ให้ยื่นเพิ่มเติมก่อนยื่น ภ.ง.ด 50 ในเดือน พฤษภาคม

หากบริษัทได้ยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการ
โดยไม่ได้รับคำเตือนหรือคำเรียกตรวจสอบไต่สวน โดยตรงเป็นหนังสือ
ให้ลดเงินเพิ่มได้ แต่ต้องเสียในอัตราและตามเงื่อนไขดังต่อไปนี้

(ก) ถ้าชำระภายใน 2 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.10 ของเงินภาษี ที่ต้องชำระ
(ข) ถ้าชำระภายหลัง 2 วัน แต่ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้น กำหนดเวลายื่นรายการ ให้เสียร้อยละ 0.50 ของเงินภาษีที่ต้องชำระ
เกินกว่านั้นให้เสียเงินเพิ่มร้อยละ 1.5 ต่อเดือนไม่เกินร้อยละ 20

บริษัทมีกำไร (ขาดทุน) สุทธิทางบัญชี และทางภาษีอากรไม่เท่ากัน ในการประมาณการกำไรสุทธิ ตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ต้องใช้กำไร (ขาดทุน) สุทธิจากยอดใด

การประมาณการกำไรสุทธิตามแบบแสดงรายการ ภ.ง.ด.51 ต้องใช้กำไร (ขาดทุน) สุทธิทางภาษีอากร

ยื่นแบบฯ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตตามโครงการ “ทำธุรกรรมภาษีที่บ้าน” (TAX from Home) จะช่วยให้การทำธุรกรรมภาษีเป็นเรื่องง่ายที่ www.rd.go.th ทั้งการลงทะเบียน ( e-Registration ) การยื่นแบบฯ และนำส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ( e-Filing ) การชำระภาษี ( e-Payment ) ที่สะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย”

ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม ภ.ง.ด.51 >> Click


ระบบ Value Added Tax

เริ่มต้นการทำบัญชีราย รายจ่าย ง่ายๆ ด้วยโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป Prosoft WINSpeed
Value Added Tax เป็นระบบสำหรับเรียกดูรายงานภาษีซื้อ , ภาษีขายของกิจการ โดยสามารถเลือกรายงานตามงวดที่ ต้องการได้ เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการจัดทำภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ให้แก่กรมสรรพากร และยังสามารถ พิมพ์ ภ.ง.ด 3, ภ.ง.ด 53 ทั้งใบปะหน้า และใบแนบ รวมทั้งหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่ายได้อีกด้วย

ที่มา : www.beeaccountant.com,http://www.rd.go.th/

 20490
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์