e-Stamp Duty ทำธุรกรรม 5 ประเภท ไม่ต้องติดอากรแสตมป์แบบเดิม

e-Stamp Duty ทำธุรกรรม 5 ประเภท ไม่ต้องติดอากรแสตมป์แบบเดิม



        กรมสรรพากรยกระดับบริการจัดทำระบบการชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ อ.ส.9 หรือ e-Stamp Duty รองรับการทำธุรกรรม 5 ตราสารอย่างเต็มรูปแบบ เพิ่มความสะดวก ลดขั้นตอนการจัดทำเอกสารด้วยกระดาษ ประหยัดการเดินทางให้กับผู้ประกอบธุรกิจ

        นางสมหมาย ศิริอุดมเศรษฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) ในฐานะโฆษกรมสรรพากร เปิดเผยว่า กรมสรรพากรได้ผลักดันกระบวนการทำงานโดยใช้ Digital มากขึ้น โดยเปิดกว้างการให้บริการผ่านระบบ Open API เพื่อให้เข้าถึงบริการที่รวดเร็วและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนอย่างทั่วถึง ระบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ อ.ส.9 หรือ e-Stamp Duty ถือเป็นระบบที่ช่วยให้การชำระอากรแสตมป์เป็นเรื่องง่าย ลดปัญหาความยุ่งยากในการเดินทางไปชำระอากรแสตมป์ และการคำนวณอากรแสตมป์ผิดพลาด เพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ใช้บริการได้มากขึ้น

        ผู้มีหน้าที่เสียอากรที่ประสงค์จะนำตราสารที่สามารถชำระอากรเป็นตัวเงินผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถยื่นคำขอผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตและชำระค่าอากร ก่อนกระทำตราสารหรือภายใน 15 วัน นับแต่วันถัดจากวันกระทำตราสารโดยไม่เว้นวันหยุดราชการ และชำระเงินค่าอากรโดยโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากรผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Payment) ทั้งนี้ ต้องเป็นตราสารที่จัดทำขึ้นตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ประกอบด้วยตราสาร ๕ ลักษณะ ได้แก่

  1. จ้างทำของ
  2. กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
  3. ใบมอบอำนาจ
  4. ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมของบริษัท
  5. ค้ำประกัน



        สำหรับการยื่นขอเสียอากรเป็นตัวเงิน ตาม “แบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์” (อ.ส.9) โดยผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร ที่ www.rd.go.th > e – Filing > ระบบขอเสียอากรแสตมป์ เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังสามารถยื่นผ่านทาง Application Programming Interface (API) ของกรมสรรพากร ซึ่งระบบขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์จะเปิดให้บริการเฉพาะการขอเสียอากรฉบับปกติภายในกำหนดเวลา หากต้องการขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารที่เกินกำหนดเวลาหรือยื่นแบบเพิ่มเติม ต้องยื่นด้วยแบบ อ.ส.4, อ.ส.4ข ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา

        โฆษกกรมสรรพากร กล่าวเพิ่มเติมว่า “เมื่อผู้ยื่นขอเสียอากรด้วย e – Stamp Duty โอนเงินค่าอากรเข้าบัญชีเงินฝากธนาคารของกรมสรรพากรแล้ว เมื่อกรมสรรพากรได้ออกรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์พร้อมใบเสร็จรับเงินตามจำนวนเงินค่าอากร และเจ้าหน้าที่รับชำระเงินได้ลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ผู้เสียอากรแล้ว ถือว่าตราสารตามรายการข้อมูลในแบบขอเสียอากรแสตป์เป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ (อ.ส.9) ได้ปิดแสตมป์บริบูรณ์แล้ว”

        หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานสรรพากรทุกแห่งทั่วประเทศหรือที่ศูนย์สารนิเทศสรรพากร (RD Intelligence Center) โทร. 1161


ที่มา :
www.moneyandbanking.co.th,กรมสรรพากร
 6682
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์