• หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ&ใบกำกับภาษีอย่างย่อแตกต่างกันอย่างไร

ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ&ใบกำกับภาษีอย่างย่อแตกต่างกันอย่างไร

  • หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ&ใบกำกับภาษีอย่างย่อแตกต่างกันอย่างไร

ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ&ใบกำกับภาษีอย่างย่อแตกต่างกันอย่างไร


ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) คือ เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้าหรือบริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการและจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนเรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือบริการในแต่ละครั้ง แต่มากไปกว่านั้น ใบกำกับภาษี ยังแบ่งได้ออกอีกเป็น 2 ประเภท คือ 

  1. ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบ
  2. ใบกำกับภาษีอย่างย่อ 


โดยหลักๆส่วน จะอยู่ที่เนื้อหาเล็กน้อยเท่านั้นครับ

โดยเนื้อหาหลักๆที่ใบกำกับภาษีอย่างย่อต้องมี คือ

  1. ต้องมีระบุในใบว่า “ใบกำกับภาษีอย่างย่อ”
  2. วัน/เดือน/ปี ที่ออกใบกำกับภาษี
  3. เลขที่ใบกำกับภาษี
  4. ชื่อ/ชนิด/ประเภท/ปริมาณ/ราคา ของสินค้าที่ซื้อขาย
  5. ชื่อ และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย
  6. ราคาสินค้าบริการ โดยต้องระบุยอดรวม Vat แล้ว
  7. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด

ส่วนในเนื้อหาของใบกำกับภาษีอย่างเต็มรูปแบบที่เพิ่มมาจากใบกำกับภาษีอย่างย่อ คือ

  1. ต้องระบุให้ชัดเจนในใบว่าเป็น “ใบกำกับภาษี”
  2. ต้องระบุ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย
  3. ต้องระบุ ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อ

ส่วนเนื้อหาอื่นๆนั้นคงยังต้องมีเหมือนกับใบกำกับภาษีอย่างย่อ

ส่วนสำคัญที่ต่างกันของใบกำกับภาษี 2 แบบนี้ คือ 

*ใบกำกับภาษีอย่างย่อ  จะไม่สามารถนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำส่ง ภ.พ.30 ได้

*ใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ สามารถนำไปหักออกจากภาษีขายในการคำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อนำส่ง ภ.พ.30 ได้

แล้วใครจะสามารถออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้บ้างหละ?

  • กิจการในระบบ VAT ที่มีลักษณะขายปลีก โดยเป็นการขายให้แก่ผู้บริโภคโดยตรง หมายถึงการซื้อไปใช้เองไม่ได้นำไปขายต่อ เช่น ร้านสะดวกซื้อ ร้านค้าแผงลอย ร้านขายของชำ ร้านขายยา ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
  • กิจการในระบบ VAT ที่ให้บริการรายย่อยแก่บุคคลจำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร โรงแรม โรงภาพยนตร์ เป็นต้น
  • โดยผู้ประกอบการต้องยื่นขอกรมสรรพากรก่อนเพื่อจดขอออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

ที่มา : www.topmultiprints.com
 4146
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์