การตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด

การตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด



การตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด  มีผลต่อบัญชีและภาษีที่เกี่ยวข้อง อย่างไร

ในหัวข้อนี้ จะขอเน้นรายละเอียดการตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวดตามที่สรรพากรประกาศให้ใช้เพื่อแสดงมูลค่าที่ถูกต้อง

สินค้าคงเหลือ สินค้าคงคลัง ทางบัญชี และภาษี จัดไว้ว่าเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ คือมีไว้เพื่อขาย หรือมีไว้เพื่อการผลิต

ดังนั้นการบริหารสินค้าคงเหลือ ก็ถือได้ว่าเป็นการบริหารสภาพคล่องของกิจการ  ทั้งกิจการซื้อมาขายไป กิจการผลิต และกิจการบริการ เช่น อู่ซ่อมรถยนต์ อู่ซ่อมรถจักรยานยนต์ กิจการบริการซ่อมคอมพิวเตอร์

จึงถือได้ว่า สินค้าคงเหลือ เป็นสินทรัพย์หมุนเวียน ที่มีผลต่อการดำเนินธุรกิจ คือมีไว้เพื่อขาย หรือมีไว้เพื่อการผลิต ดังนั้นการบริหารสินค้าคงเหลือ ก็ถือได้ว่าเป็นการบริหารสภาพคล่องของกิจการ

การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวด เพื่อการบันทึกบัญชี และภาษี

การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือปลายงวด หรือ การตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด เพื่อการบันทึกบัญชีที่ถูกต้องตามหลักการบัญชี และ ผลต่อภาษี สรรพากร ในส่วนที่เกี่ยวกับยอดต้นทุนสินค้าในการยื่นภาษีต่อกรมสรรพากร

ก่อนอื่นขอให้รายละเอียดสินค้าคงเหลือตามมาตรฐานการบัญชีไว้ดังนี้

มาตรฐานการบัญชี

สินค้าคงเหลือ ตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 2 (ปรับปรุง 2560) ให้ความหมายว่า “สินทรัพย์ซึ่งมีลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังต่อไปนี้

                   1) ถือไว้เพื่อขายตามลักษณะการประกอบธุรกิจตามปกติของกิจการ

                   2) อยู่ในระหว่างกระบวนการผลิตเพื่อให้เป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อขาย

                   3) อยู่ในรูปของวัตถุดิบ หรือวัสดุที่มีไว้เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตสินค้าหรือให้บริการ”

การวัดมูลค่าสินค้าคงเหลือเป็นดังนี้

สินค้าคงเหลือต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แล้วแต่มูลค่าใดจะต่ำกว่า

มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ หมายถึง ราคาโดยประมาณที่คาดว่าจะขายได้ตามปกติของธุรกิจ หักด้วยประมาณการต้นทุนในการผลิตสินค้านั้นให้เสร็จและต้นทุนทจำเป็นต้องจ่ายไปเพื่อให้ขายสินค้านั้นได้

มูลค่ายุติธรรม หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อและผู้ขายตกลงแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ หรือจ่ายชำระหนี้สินในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยน และสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน

ทางภาษีอากร กรมสรรพากร ให้ความหมายของการตีราคาสินค้าคงเหลือเป็นดังนี้

ตามมาตรา 65 ทวิ (6) แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติเกี่ยวกับการตีราคาสินค้าคงเหลือ ดังนี้

การตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวด  คือ ราคาสินค้าคงเหลือในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้คำนวณตามราคาทุนหรือราคาตลาดแล้วแต่อย่างใดจะน้อยกว่าและให้ถือราคานี้เป็นราคาสินค้าคงเหลือยกมาสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีใหม่ด้วยการคำนวณราคาทุนดังกล่าว เมื่อได้คำนวณตามหลักเกณฑ์ใดตามวิชาการบัญชีแล้วให้ใช้หลักเกณฑ์นั้นตลอดไป เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีจึงจะเปลี่ยนหลักเกณฑ์ได้

วิธีคำนวณ สินค้าคงเหลือ ปลายงวด

1.  วิธีเข้าก่อน-ออกก่อน วิธีนี้ถือเกณฑ์สมมติว่าสินค้าที่ซื้อหรือผลิตได้ก่อนย่อมจะถูกขายออกไปก่อนและสินค้าที่เหลืออยู่ ณ วันสิ้นงวดจะเป็นสินค้าที่ซื้อหรือผลิตได้ครั้งหลังสุดตามลำดับ

2.  วิธีถัวเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก วิธีนี้ถือว่าราคาทุนของสินค้าที่มีไว้ขายต่อหน่วยเท่ากับราคาทุนทั้งหมดของสินค้าที่ซื้อมาหารด้วยจำนวนหน่วยของสินค้านั้น ถ้ามี                สินค้าคงเหลือในวันสิ้นงวดเป็นกี่หน่วยก็เอาจำนวนหน่วยนั้นคูณด้วยราคาถัวเฉลี่ยต่อหน่วยที่หาได้ ก็จะได้ราคาของสินค้าคงเหลือปลายงวด

3.  วิธีเข้าหลัง-ออกก่อน วิธีนี้ถือว่าราคาของสินค้าที่ซื้อมาหรือผลิตได้ก่อนจะเป็นราคาทุนของสินค้าคงเหลือปลายงวด หรือสินค้าที่ซื้อมาหรือผลิตได้ครั้งหลังสุดของรอบระยะเวลาบัญชีนั้นจะเป็นสินค้าที่ขายออกไปก่อน

4.  ราคาเจาะจง วิธีนี้หมายความว่าถ้าสินค้าคงเหลือสามารถแยกออกได้โดยชัดแจ้งว่าสินค้ารายใดซื้อมาเมื่อใด ด้วยราคาเท่าใด ก็ให้ตีราคาสินค้าคงเหลือตามราคาที่แท้จริงของแต่ละรายที่คงเหลืออยู่นั้น ถ้าสินค้าคงเหลือปลายงวดมีอยู่ 2 หน่วย และสามารถชี้เจาะจงลงไปว่าเป็นสินค้าที่ซื้อมาครั้งที่ 1 และครั้งที่ 3 ครั้งละ 1 หน่วย ราคาของสินค้าคงเหลือปลายงวดจะมีราคา 25 บาท

การบันทึกการตีราคาสินค้าคงเหลือไปสู่มูลค่าสุทธิที่จะได้รับ แสดงได้ดังนี้

เดบิต  ผลขาดทุนจากการตีราคาสินค้าลดลง              xxx
เครดิต  สินค้าคงเหลือหรือค่าเผื่อมูลค่าสินค้าลดลง              xxx

ดังนั้น เมื่อบันทึก สินค้าคงเหลือด้วยราคาที่ต่ำกว่า ถือว่ากิจการได้รับรู้ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นของความล้าสมัย ราคาที่ลดลงไปแล้ว  ดังนั้น ยอดเงินตามบัญชี “ผลขาดทุน..ลดลง” จึงต้องเป็นรายการบวกกลับในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ต้องระวังความซ้ำซ้อน)

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

ที่มา : www.beeaccountant.com

 53801
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์