– ใบกำกับภาษีที่มีการแก้ไขข้อความ หรือลบข้อความในเอกสารจริงออก
– ใบกำกับภาษีที่ออกโดยคู่ค้าที่ไม่จด VAT (การออกใบกำกับภาษีได้ จำเป็นต้องมีการจด VAT)
– ใบกำกับภาษีที่ออกมาโดยไม่มีการซื้อขายจ่ายรับจริง
– ใบกำกับภาษีที่ไม่สามารถยืนยันหรือพิสูจน์ได้ว่าใครเป็นผู้ออก
– ใบกำกับภาษีที่ออกโดยมีมูลค่าสินค้าและบริการไม่ตรงตามจริง
– ใบกำกับภาษีที่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่ผู้ประกอบการที่จดทะเบียน ทำการออกให้ผู้ซื้อใบกำกับภาษี โดยผู้ซื้อนั้นมีเจตนาในการหลีกเลี่ยงภาษีมูลค่าเพิ่ม
– ใบกำกับภาษีที่ผู้ประกอบการออกให้กับคู่ค้าที่ไม่ได้ทำการซื้อสินค้า หรือบริการจริง เช่นผู้ประกอบการจดทะเบียนร้านค้าปลีก ขายสินค้าโดยไม่ได้ออกใบกำกับภาษี แล้วนำรายการนั้นมาออกใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปแบบให้แก่บุคคลอื่น ที่ไม่ใช่ผู้ซื้อสินค้าจริง
– ใบกำกับภาษีที่ไม่ได้ออกตามจริง เช่นการออกเอกสารใบกำกับภาษีโดยมีรายการสินค้า และบริการไม่ตรงตามจริงที่ได้ทำการซื้อขายให้บริการ
ผู้ขายใบกำกับภาษีปลอม มีโทษจำคุกกระทงละ 1 ปี โดยคิดเป็น 1 ใบกำกับภาษีปลอม = 1 กระทง 10 ใบกำกับภาษีปลอม ก็จำคุกไป 10 ปี
ผู้ซื้อใบกำกับภาษีปลอม ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 7 ปี และปรับตั้งแต่ 2,000 บาท ถึง 200,000 บาท