• หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • ครม.ไฟเขียว “ลดภาษีที่ดิน – ค่าธรรมเนียมโอน –ขยายเวลายื่นภาษีบุคคลธรรมดา”

ครม.ไฟเขียว “ลดภาษีที่ดิน – ค่าธรรมเนียมโอน –ขยายเวลายื่นภาษีบุคคลธรรมดา”

  • หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • ครม.ไฟเขียว “ลดภาษีที่ดิน – ค่าธรรมเนียมโอน –ขยายเวลายื่นภาษีบุคคลธรรมดา”

ครม.ไฟเขียว “ลดภาษีที่ดิน – ค่าธรรมเนียมโอน –ขยายเวลายื่นภาษีบุคคลธรรมดา”


26 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ไฟเขียวเห็นชอบ มาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิดเพิ่มเติม ในรูปแบบมาตรการด้านภาษีหรือ "แพ็คเกจภาษี" เพื่อช่วยลดภาระรายจ่ายให้กับประชาชน และผู้ประกอบการ ดังนี้

1. ขยายเวลาการยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2563 กับกรมสรรพากรออกไปอีก 3 เดือน ซึ่งเดิมกำหนดสิ้นสุดยื่นวันสุดท้าย 31 มี.ค. 2564 ออกไปเป็นวันที่ 30 มิ.ย. 2564

2. การลดอัตราจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างรอบปี 64 ลง 90% และให้จัดเก็บจริงเพียง 10% ครอบคลุมที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นใช้ประโยชน์เป็นที่อยู่อาศัย ทำการเกษตร ที่ดินว่างเปล่า และใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ อุตสาหกรรมหรืออื่น ๆ

3.ขยายมาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนซื้ออสังหาริมทรัพย์  สำหรับราคาบ้านไม่เกิน 3 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และลดค่าใช้จ่ายของประชาชนที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัย โดยจะลดค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์และห้องชุดจากเดิม 2% ของราคาประเมินทุนทรัพย์เหลือ 0.01%

4. ค่าจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์และห้องชุด จากเดิม 1% ของมูลค่าที่จำนอง เหลือ 0.01% ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มาก กรณีซื้อบ้านหลังละ 3 ล้านบาท เดิมจะต้องเสียค่าโอนและจดจำนองสูงถึง 60,000 บาท จะลดเหลือ 300 บาทเท่านั้น

การจ่ายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างหลังลดเหลือ 10%    

1. ที่ดินประกอบการเกษตร กรณีเจ้าของเป็นบุคคลธรรมดา กฎหมายกำหนดให้ 3 ปีแรก (ปี 2563-2565) จะได้รับยกเว้นจากการจัดเก็บภาษี แต่ถ้าเจ้าของเป็นนิติบุคคล จะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.01 หากมูลค่าราคาประเมินทุนทรัพย์ 5 ล้านบาท คิดเป็นค่าภาษี 500 บาท แต่เมื่อลดภาษี 90% แล้ว จะชำระภาษีเพียง 50 บาท

2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัย

กรณีบ้านหลังหลักที่เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นบุคคลธรรมดาและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน จะได้รับยกเว้นมูลค่าฐานภาษีไม่เกิน 50 ล้านบาท และ 10 ล้านบาท

- กรณีเป็นเจ้าของสิ่งปลูกสร้างแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดิน สำหรับบ้านหลังอื่น หากมูลค่าประเมินทุนทรัพย์ 5 ล้านบาท จะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.02 คิดเป็นค่าภาษี 1,000 บาท แต่เมื่อลดภาษี 90% แล้ว จะชำระภาษีเพียง 100 บาท

3. ดินรกร้างว่างเปล่า รวมถึงกรณีที่ใช้ประโยชน์ประกอบการพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรม

มูลค่าราคาประเมินทุนทรัพย์ 5 ล้านบาท เดิมเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0.3 คิดเป็นค่าภาษี 15,000 บาท เมื่อลดภาษี 90% แล้ว จะชำระภาษีเพียง 1,500 บาท

การลดค่าธรรมเนียมการโอนและจดทะเบียนจำนองอสังหาริมทรัพย์ ช่วยลดภาระรายจ่ายผู้ซื้อบ้าน จากอัตราที่กำหนดดังนี้

- ลดค่าธรรมเนียมการโอน อัตราปกติ  2.00% เหลือ   0.01%

- ลดค่าธรรมเนียมการจำนอง อัตราปกติ 1.00 %  เหลือ 0.01%  

- กรณีผู้ซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท ค่าธรรมเนียมการโอนจากปกติต้องจ่าย 2% เป็นเงิน 60,000 บาท เมื่อลดเหลือ 0.01% จะจ่ายเพียง 300 บาท

- การลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์ จากปกติต้องจ่าย 1% คิดเป็นเงิน 30,000 บาท เมื่อลดเหลือ 0.01% จะจ่ายเพียง 300 บาท

รวมแล้วจากที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการโอนและจดจำนองสำหรับบ้านราคา 3 ล้านบาท ในอัตรา 3% เป็นเงิน 90,000 บาท  ก็จะจ่ายในอัตราเพียง 0.02% เป็นเงินเพียง 600 บาท หรือจ่ายล้านละ 200 บาท 


ที่มา : https://www.thansettakij.com/

 1196
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์