จ่ายเงิน ค่าโฆษณาให้ Facebook Google IG Youtube สามารถนำมาบันทึกเป็น ค่าใช้จ่ายของกิจการ และเป็น ค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ สรรพากรยอมรับ โดยต้องเข้าเงื่อนไขดังนี้
มาตรา 70
: บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2)(3) (4) (5) หรือ (6) ที่จ่ายจากหรือในประเทศไทยให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเสียภาษี โดยให้ผู้จ่ายหักภาษีจากเงินได้พึงประเมินที่จ่ายตามอัตราภาษีเงินได้สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแล้วนำส่งอำเภอท้องที่พร้อมกับยื่นรายการตามแบบที่อธิบดีกำหนดภายในเจ็ดวันนับแต่วันสิ้นเดือนของเดือนที่จ่ายเงินได้พึงประเมินนั้นทั้งนี้ ให้นำมาตรา 54 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
กาารลงโฆษณาถ้ากิจการ ได้นำผลจากการโฆษณามาใช้ย่อมเข้าลักษณะเป็นการให้บริการที่ทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักร หมายว่าความ เป็นการจ่ายเงินค่าโฆษณาเพื่อหวังผลการขาย หรือ กลุ่มลูกค้าในประเทศไทย
จึงอยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม บริษัทฯ ซึ่งเป็นผู้จ่ายค่าตอบแทนให้แก่ผู้ให้บริการมีหน้าที่นำส่งเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการมีหน้าที่ต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 7.0 ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/2 และมาตรา 83/6(2) แห่งประมวลรัษฎากร มีหน้าที่ต้องยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) และมีสิทธินำ ใบกำกับภาษีซื้อ มาใช้ได้ภายใน 6 เดือนถัดไป โดยไม่ต้องแสดงหลักฐานพิสูจน์ต่อเจ้าพนักงานสรรพากรว่าไดรับใบกำกับภาษีในเดือนใด – วิธีการนับเดือนภาษีซื้อ
อัตราแลกเปลี่ยน บริษัทฯ จะต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามมาตรา 9 แห่งประมวลรัษฎากร ของวันที่ได้ทำการชำระเงินค่าบริการจริงในการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินบาท เพื่อใช้ในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่งให้แก่กรมสรรพากร
สรุปการจ่าย ค่าโฆษณา Facebook ทางบัญชี ภาษี ที่กิจการปฎิบัติ 2564
สรุปคือ จ่ายเงิน ค่าโฆษณา Facebook Google IG Youtube Line@
1. รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้ หาประโยชน์ เพื่อกำไรของกิจการ
2.มุ่งหวังเพิ่มยอดขายให้กับกิจการ
3.เป็นการเพิ่มกลุ่มลูกค้า ในประเทศ
สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้ ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย แต่ต้องนำส่งภาษีซื้อด้วยยอดที่จ่าย ตามแบบ ภพ 36
เมื่อเป็นภาษีซื้อ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการ จึงสามารถนำมาเครดิตภาษีขายที่ต้องนำส่งได้ ดังนั้น
สำหรับกิจการที่เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจึงไม่เสียอะไรเพิ่มเติมและยังทำให้การจ่ายค่าโฆษณาไปต่างประเทศนั้น มีเอกสารครบถ้วนสมบูรณ์ในการบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้
สำหรับกิจการที่ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีซื้อที่ได้เป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีได้โดยรวมยอดเข้ากับการจ่ายค่าโฆษณา ใช้ผังบัญชีเดียวกัน
ส่วนเอกสารประกอบการจ่าย จะออกมาเป็นชื่อกรรมการ หรือพนักงานตามบัตรเครดิตได้ ไม่ต้องห้ามเพราะภาษีซื้อที่เราใช้เครดิตภาษีขายเราใช้ใบเสร็จจากกรมสรรพากร ที่ออกในนามกิจการ
กรณีที่บริษัทฯ นำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) ตามมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร ภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำส่งดังกล่าวถือเป็นภาษีซื้อตามมาตรา 77/1(18)(ค) แห่งประมวลรัษฎากร และใบเสร็จรับเงินที่กรมสรรพากรออกให้สำหรับการรับชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังกล่าวถือเป็นใบกำกับภาษีตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร โดยบริษัทมีสิทธินำภาษีซื้อดังกล่าว มาหักออกจากภาษีขายในเดือนที่มีการนำส่งภาษี
คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 104/2544เรื่อง การเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการให้บริการที่กระทำในต่างประเทศ และได้มีการใช้บริการนั้นในราชอาณาจักรตามมาตรา 77/2 แห่งประมวลรัษฎากร และกรณี การให้บริการที่กระทำในราชอาณาจักรและได้มีการใช้บริการนั้นในต่างประเทศ ตามมาตรา 80/1(2) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 5 กรณีผู้รับบริการในราชอาณาจักรตามข้อ 3 เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนผู้รับบริการในราชอาณาจักรมีสิทธินำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ได้นำส่งตามมาตรา 83/6 (2) แห่งประมวลรัษฎากรไปถือเป็นภาษีซื้อในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 82/3 แห่งประมวลรัษฎากรได้ โดยมีสิทธินำไปถือเป็นภาษีซื้อในเดือนภาษีที่มีการยื่นแบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.36) และได้รับใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากร — ส่งเดือนภาษีไหน ต้องนำมาใช้ในเดือนนั้น ไม่สามารถใช้สิทธินำไปเป็นภาษีซื้อภายใน 6 เดือน ถัดจากเดือนที่ออกใบกำกับภาษี ตัวอย่างจ่ายเดือน 05/63 ยื่น 06/63 ใบเสร็จนำมาหักภาษีขายเดือน 06/63 เพื่อยื่นภพ 30 ภายใน 15/07/63
แบบ ภ.พ.36 - นำส่งภาษีซื้อ ค่าโฆษณา ที่จ่ายเงินให้ Facebook Google IG Youtube