• หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • การคิดภาษีขายของออนไลน์อย่างง่าย ที่พ่อค้าแม่ค้าทุกคนต้องรู้

การคิดภาษีขายของออนไลน์อย่างง่าย ที่พ่อค้าแม่ค้าทุกคนต้องรู้

  • หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • การคิดภาษีขายของออนไลน์อย่างง่าย ที่พ่อค้าแม่ค้าทุกคนต้องรู้

การคิดภาษีขายของออนไลน์อย่างง่าย ที่พ่อค้าแม่ค้าทุกคนต้องรู้



การจ่ายภาษีเป็นหน้าที่ของประชาชนทุกคนไม่ว่าจะอยู่ในอาชีพใดก็ตาม โดยเฉพาะในปัจจุบันอาชีพค้าขายออนไลน์เป็นหนึ่งในธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากสามารถค้าขายได้ทุกที่ทุกเวลา และยังสามารถทำเป็นอาชีพเสริมได้อีกด้วย แต่จากการสำรวจของกรมสรรพากร พบว่ายังมีผู้ประกอบการบางส่วนไม่มีความเข้าใจเรื่องภาษีอากร เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาเรียนรู้วิธีการคิด และชำระภาษีออนไลน์อย่างถูกต้อง

ภาษีของการขายของออนไลน์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา : กรณีเป็นพ่อค้าแม่ค้าที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนบริษัท
2. ภาษีเงินได้นิติบุคคล : กรณีเป็นพ่อค้าแม่ค้าที่ได้มีการจดทะเบียนบริษัท เช่น ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด

โดยการคิดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะคิดตามอัตราขั้นบันไดตามกฏหมายกำหนด และมีค่าใช้จ่ายที่สามารถนำมาหักภาษีได้ดังนี้

1. หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% ของเงินได้ สำหรับร้านที่ดำเนินการแบบซื้อมาขายไป ไม่มีการผลิตภายในร้าน
2. หักตามค่าใช้จ่ายจริง สำหรับกรณีที่มีการผลิตภายในร้าน
3. หักแบบเหมา กรณีที่มีรายได้จากช่องทางออนไลน์เกิน 1,000,000 บาท โดยคิดภาษีเป็น 0.5% ของเงินได้

ส่วนการคิดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จะมีวิธีการคิดที่ใกล้เคียงกันกับการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย แต่ความแตกต่างระหว่างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเงินได้นิติบุคคลจะอยู่ที่อัตราภาษี

ยกตัวอย่างเช่น

นาย A ขายสินค้าออนไลน์ และไม่ได้จดทะเบียนบริษัท นาย A มีรายได้ทั้งปี 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 600,000 บาท และไม่มีค่าลดหย่อน นาย A จะคำนวณได้ดังนี้ 1,000,000 – 600,000 – 0 = 400,000 บาท นาย A จึงนำรายได้ 400,000 บาท คูณอัตราภาษี โดย 150,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้นนาย A จะต้องนำรายได้ 250,000 บาท คูณอัตราภาษีขั้นแรกคือ 5% เท่ากับนาย A จะต้องจ่ายภาษี 12,500 บาท

แต่กรณีนาย B ขายสินค้าออนไลน์ และจดทะเบียนบริษัท นาย B มีรายได้ทั้งปี 1,000,000 บาท มีค่าใช้จ่าย 600,000 บาท และไม่มีค่าลดหย่อน นาย B จะคำนวณได้ดังนี้ 1,000,000 – 600,000 – 0 = 400,000 บาท นาย B จึงนำ 400,000 บาท คูณอัตราภาษี โดย 300,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี ดังนั้นนาย B จะต้องนำรายได้ 100,000 บาท คูณอัตราภาษีขั้นแรกคือ 15% เท่ากับนาย B จะต้องจ่ายภาษี 15,000 บาท

ทั้งนี้จากตัวอย่างข้างต้นทุกท่านอาจจะตกใจว่าทำไมภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงกว่า เนื่องจากภาษีเงินได้นิติบุคคลเริ่มต้นที่ 15% แต่ภาษีเงินได้บุคคลเริ่มต้นที่ 5%
แต่ในการประกอบธุรกิจนั้นการที่ผู้ประกอบการไม่จดทะเบียนบริษัท จะมีอัตราภาษีที่สูงกว่า ถ้าผู้ประกอบการขายสินค้าในปริมาณมาก เพราะอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2563 สูงสุดอยู่ที่ 35% ขณะที่อัตราภาษีสูงสุดของภาษีเงินได้นิติบุคคลอยู่ที่ 20% (กรณี SME ที่ทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท และรายได้ต่อปีไม่เกิน 30 ล้านบาท) เพราะฉะนั้นการเลือกจ่ายภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้เหมาะสม ผู้ประกอบการจะต้องประเมินจากรายได้ รายจ่าย และค่าลดหย่อน ที่เกิดขึ้นจริง เพื่อการเสียภาษีที่ถูกต้อง


ที่มา: คุณพัชรสิตา สกุลวงศ์สิริโชค www.dip.go.th
 10560
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์