อัตราส่วนทางการเงิน Financial Ratio

อัตราส่วนทางการเงิน Financial Ratio

อัตราส่วนทางการเงิน

  ( Financial ratio) เป็นการนำตัวเลขที่อยู่ในงบการเงิน มาหาอัตราส่วนเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบกับกิจการอื่นหรือ เปรียบเทียบกับผลการดำเนินงานในอดีต ช่วยให้ผู้วิเคราะห์ประเมินผลการดำเนินงาน แนวโน้ม และความเสี่ยง ของกิจการได้ดียิ่งขึ้น


อัตราส่วนสภาพคล่อง (Liquidity Ratio)

      • อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current ratio)
      • อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick ratio)
      • อัตราส่วนเงินสด (Cash ratio)
      • อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Receivable turnover)
      • ระยะเวลาเก็บหนี้ (Collection period)
      • อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory turnover)
      • ระยะเวลาขายสินค้า (Holding period)

อัตราส่วนประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ (Efficiency Ratio)

      • อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total asset turnover)
      • อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Net fixed asset turnover)

อัตราส่วนความสามารถในการทำกำไร (Profitability Ratio)

      • อัตรากำไรขั้นต้น (Gross profit margin)
      • อัตรากำไรจากการดำเนินงาน (Operating profit margin)
      • อัตรากำไรสุทธิ (Net profit margin)
      • อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด (Return On Assets : ROA)
      • อัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return On Equity : ROE)

อัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ (Leverage Ratio)

      • อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity ratio)
      • อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest coverage ratio)
      • อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout)

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน หรืออัตราส่วนสภาพคล่อง (Current ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างสินทรัพย์หมุนเวียนและ หนี้สินหมุนเวียน ซึ่งบ่งบอกถึงสภาพคล่อง ของกิจการในการที่จะชำระหนี้ระยะสั้นหากอัตราส่วนนี้มีค่าน้อยกว่า 1 หมายความว่ากิจการมีหนี้สินหมุนเวียนมากกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนทำให้อาจมีปัญหาในการชำระหนี้ระยะสั้นได้ หากอัตราส่วนนี้มากกว่า 1 แสดงว่ากิจการมีสินทรัพย์หมุนเวียนมากพอที่จะชำระหนี้ระยะสั้น แต่หากมีค่าสูงกว่า1มาก ๆ อาจหมายถึงประสิทธิภาพในการใช้ สินทรัพย์์ของกิจการไม่ดีพอ อย่างไรก็ตามสินทรัพย์หมุนเวียนบางประเภท เช่น สินค้าคงเหลือ  อาจมีมูลค่าลดลงหากต้องรีบขายเพื่อนำไปชำระหนี้ ทำให้บางทีเราอาจใช้อัตราส่วนที่ไม่นำสินค้าคงเหลือมาคิดด้วยหรือเรียกว่า อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว  (Quick ratio) 

สูตรการคำนวณ

อัตราส่วนทุนหมุนเวียน (Current Ratio) = สินทรัพย์หมุนเวียน (CA) /หนี้สินหมุนเวียน  (CL)

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว ( Quick ratio หรือ Acid test ratio) คือ อัตราส่วนที่ปรับปรุงมาจากอัตราส่วนทุนหมุนเวียน ซึ่งในการคำนวณจะไม่นำ สินค้าคงเหลือ มาคิดรวมกับ สินทรัพย์หมุนเวียน อื่น ๆ เช่น เงินสด ลูกหนี้การค้า และ สินทรัพย์ในความต้องการของตลาด เนื่องจากสินค้าคงเหลือสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ช้ากว่า และอาจมีมูลค่าต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี ทำให้อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็วบอกถึง สภาพคล่อง ของกิจการได้ดีกว่าอัตราส่วนทุนหมุนเวียน

 สูตรการคำนวณ

อัตราส่วนทุนหมุนเวียนเร็ว (Quick Ratio)
= (สินทรัพย์หมุนเวียน – สินค้าคงเหลือ ) /หนี้สินหมุนเวียน 
หรือ   Quick Ratio = (CA – Inventory) /CL

อัตราส่วนเงินสด

อัตราส่วนเงินสด (Cash ratio) คือ อัตราส่วนที่ใช้วิเคราะห์ สภาพคล่อง ของกิจการที่ตั้งอยู่บนหลักความระมัดระวังที่สุด โดยจะนำ สินทรัพย์หมุนเวียน ที่เป็น เงินสด และ หลักทรพย์ในความต้องการของตลาด หารด้วย หนี้สินหมุนเวียน หากอัตราส่วนนี้สูงหมายถึงกิจการมีสภาพคล่องสูง แต่หากสูงมากอาจหมายถึงกิจการถือเงินสดไว้มากเกินไปทำให้ประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ลดลง จึงควรดูอัตรา ส่วนประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ควบคู่กันด้วย

สูตรการคำนวณ

อัตราส่วนเงินสด = (เงินสด + หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด) / หนี้สินหมุนเวียน

อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้

อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ (Account Receivable Turnover) คือ จำนวนครั้งที่กิจการสามารถเก็บเงินจากการขายเชื่อได้ คำนวณโดยยอดขายเชื่อสุทธิหารด้วย ลูกหนี้การค้าเฉลี่ย โดยที่ลูกหนี้การค้าเฉลี่ยคือลูกหนี้การค้าต้นงวดบวกลูกหนี้การค้าปลายงวดหารด้วย 2 หากอัตราหมุนเวียนของลูกหนี้สูงหมายความว่ากิจการสามารถเก็บเงินจากการขายเชื่อได้เร็ว แต่หากอัตรานี้สูงเกินไปอาจหมายถึงกิจการเข้มงวดในการให้เครดิตกับลูกค้ามากเกินไปทำให้เสียเปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นการนำอัตราส่วนนี้ไปเปรียบเทียบกับกิจการอื่นจึงควรดูนโยบายการให้เครดิตแก่ลูกหนี้ของกิจการด้วย

สูตรการคำนวณ


อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ = ยอดขายเชื่อสุทธิ / ลูกหนี้เฉลี่ย


โดยที่ ลูกหนี้เฉลี่ยคำนวณได้จาก :


ลูกหนี้เฉลี่ย = (ลูกหนี้ต้นงวด + ลูกหนี้ปลายงวด) / 2


อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปกิจการจะไม่เปิดเผยยอดขายเชื่อสุทธิใน งบการเงิน  ในทางปฏิบัติเราจึงใช้ยอดขายสุทธิเป็นตัวตั้งแทน ดังนั้น


อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้ = ยอดขายสุทธิ / ลูกหนี้เฉลี่ย

ระยะเวลาเก็บหนี้

ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Average Collection Period) คือ การคำนวนให้เห็นถึงระยะเวลาในการเรียกเก็บหนี้ว่าสั้นหรือยาว เพื่อให้ทราบถึงคุณภาพของลูกหนี้ ประสิทธิภาพในการเรียกเก็บหนี้และนโยบายในการให้สินเชื่อทางธุรกิจ ผลการคำนวนต่ำจะแสดงถึงคุณภาพของลูกหนี้ที่สามารถชำระได้เร็ว 

สูตรการคำนวณ

ระยะเวลาถัวเฉลี่ยในการเรียกเก็บหนี้ (Avg. Collection Period) วัน 
= 
365 วัน /อัตราหมุนเวียนของลูกหนี้

อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ

อัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover) คือ จำนวนครั้งที่กิจการสามารถขายสินค้าคงเหลือ ออกไปได้ คำนวณโดยใช้ต้นทุนขายหารด้วยสินค้าคงเหลือเฉลี่ย โดยที่สินค้าคงเหลือเฉลี่ยคือสินค้าคงเหลือต้นงวดบวกสินค้าคงเหลือปลายงวดหารด้วย 2 หากอัตราหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือสูงมายความว่ากิจการสามารถขายสินค้าได้เร็ว แต่หากอัตรานี้สูงเนื่องจากสินค้าคงเหลือน้อยเกินไปจนทำให้สินค้าไม่พอขายและต้องสูญเสียลูกค้าไปในที่สุด ดังนั้นจึงต้องมี การบริหารสินค้าคงเหลือ ไม่ให้มากหรือน้อยเกินไป           

สูตรการคำนวณ

 

อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (Inventory Turnover)

= ต้นทุนสินค้าขาย (COGS) /สินค้าคงเหลือเฉลี่ย (Avg. Inventory) 

โดยที่ สินค้าคงเหลือเฉลี่ยคำนวณได้จาก :


สินค้าคงเหลือเฉลี่ย = สินค้าต้นงวด  +    สินค้าปลายงวด / 2

ระยะเวลาขายสินค้า

ยิ่งขายได้เร็ว ระยะเวลาสั้นยิ่งดี

สูตรการคำนวณ

ระยะเวลาในการจำหน่าย (ขาย) สินค้า(วัน)

= 365 (วัน ) /อัตราหมุนเวียนของสินค้า (Inventory Turnover)

 

อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม

เป็นอัตราส่วนที่แสดงถึงประสิทธิภาพในการใช้สินทรัพย์ทั้งหมด (TA) เมื่อเทียบกับยอดขาย (SALES)ถ้าอัตราส่วนนี้ต่ำ แสดงว่า บริษัทมีสินทรัพย์มากเกินความต้องการ

สูตรการคำนวณ


อัตราส่วนการหมุนเวียนของสินทรัพย์รวม (Total Assets Turnover) (ครั้งหรือเท่า )

= ขายสุทธิ (SALES) /สินทรัพย์รวม (Total Assets)

 

อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร

สูตรการคำนวณ


อัตราหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset Turnover)(ครั้ง )

= ขายสุทธิ (SALES) /สินทรัพย์ถาวร (Fixed Asset)

อัตรากำไรขั้นต้น

แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการขายของบริษัท ในการทำกำไร หลังจากหักต้นทุนสินค้าก่อนหักค่าใช้จ่ายรวม ผลลัพธ์ยิ่งสูงยิ่งดี

สูตรการคำนวณ

 


อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin)(%)

= ขายสุทธิ - ต้นทุนขาย หรือ SALES - COGS / ขายสุทธิ SALES


= กำไรขั้นต้น หรือ Gross Profit /ขายสุทธิ SALES

อัตรากำไรจากการดำเนินงาน

แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการขายของบริษัท ในการทำกำไร หลังจากหักต้นทุนสินค้าและหักค่าใช้จ่ายรวม ผลลัพธ์ยิ่งสูงยิ่งดี

สูตรการคำนวณ

          อัตรากำไรจากผลการดำเนินงาน(Operating Profit Margin)(%)

= กำไรจากการดำเนินงาน(Operating Profit Margin) /ขายสุทธิ (SALES)

อัตรากำไรสุทธิ

แสดงให้เห็นประสิทธิภาพในการดำเนินงานของบริษัทในการทำกำไร หลังจากหักต้นทุนค่าใช้จ่ายรวมทั้งภาษีเงินได้หมดแล้ว ผลลัพธ์ยิ่งสูงยิ่งดี

สูตรการคำนวณ

 

อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin)(%)

= กำไรสุทธิ (Net Profit) /ขายสุทธิ (SALES)

อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ทั้งหมด

เป็นการวัดความสามารถในการทำกำไรของสินทรัพย์ทั้งหมดที่ธุรกิจใช้ในการ ดำเนินงาน ว่าให้ผลตอบแทนจากการดำเนินงานได้มากน้อยเพียงใด หากมีค่าสูง แสดงถึงการใช้สินทรัพย์อย่างมีประสิทธิภาพ ผลลัพธ์ยิ่งสูงยิ่งดี

สูตรการคำนวณ

อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์รวม  (ROA)(%)

= กำไรสุทธิ  (Net Profit) /สินทรัพย์รวม (Total Assets)

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (Debt to Equity ratio : D/E) คือ อัตราส่วนที่นำ หนี้สินรวม หารด้วย ส่วนของผู้ถือหุ้น อัตราส่วนนี้จะแสดง โครงสร้างเงินทุน ของกิจการว่า สินทรัพย์  ของกิจการมาจากการกู้ยืม หรือมาจากทุนของกิจการ ถ้าอัตราส่วนนี้สูงมีโอกาสที่กิจการจะไม่สามารถชำระ ดอกเบี้ย ได้สูงตามไปด้วย เนื่องจากหนี้สินที่มากทำให้กิจการมีภาระผูกพันที่ต้องชำระดอกเบี้ยทุกงวดไม่ว่ากิจการนั้นจะกำไรหรือขาดทุน ซึ่งต่างจากส่วนของผู้ถือหุ้นที่หากกิจการขาดทุนอาจจะพิจารณาไม่จ่าย เงินปันผลก็ได้

สูตรการคำนวณ

อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สิน /ส่วนของผู้ถือหุ้น


หรือ


อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น

= (หนี้สินหมุนเวียน + หนี้สินไม่หมุนเวียน) / ส่วนของผู้ถือหุ้น


อัตราส่วนความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ย

เป็นการวัดความสามารถของธุรกิจในการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ ผลคำนวณออกมามีค่าสูง แสดงว่าธุรกิจมีความสามารถในการจ่ายดอกเบี้ยสูง

สูตรการคำนวณ

ความ สามารถในการจ่ายดอกเบี้ย (Interest Coverage) (เท่า)

= {กำไรสุทธิ (NP) + ภาษีเงินได้ (Tax) - ดอกเบี้ยจ่าย(Interest)} /ดอกเบี้ยจ่าย (Interest)


อัตราการจ่ายเงินปันผล

แสดงถึงนโยบายการจ่ายเงินปันผลของธุรกิจ เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์หลักทรัพย์ด้วยปัจจัยพื้นฐาน เพื่อจะได้พิจารณางบการเงินของกิจการที่ลงทุนได้
สูตรการคำนวณ

 

อัตราการจ่ายเงินปันผล (Dividend Payout)

= เงินปันผลต่อหุ้น (Dividend /share) /กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS)



สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!


บทความโดย : http://www.op.mahidol.ac.th

 97021
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์