5 สูตรบัญชีสำคัญ ที่คุณควรรู้

5 สูตรบัญชีสำคัญ ที่คุณควรรู้

หากพิจารณาข้อมูลในงบการเงิน ไม่ว่าจะเป็นรายงานงบดุล (Balance Sheet) หรือ งบกำไรขาดทุน (Income statement) จะพบว่าทั้งสองรายงานประกอบด้วยข้อมูลทางบัญชีจำนวนมาก ซึ่งในความเป็นจริงแล้วผู้ใช้ประโยชน์จากงบการเงิน เช่น ผู้ประกอบการ / เจ้าของกิจการ นักลงทุน หรือคู่ค้าทางธุรกิจ ไม่จำเป็นต้องใช้ทุกข้อมูลที่ปรากฏในรายงานทางบัญชี เนื่องจากมีวิธีการอ่านงบการเงินที่ง่าย โดยการเข้าใจสูตรบัญชีที่สำคัญ

ซึ่งในบทความนี้ ได้รวบรวม 5 สูตรการบัญชีที่ใช้บ่อยที่สุด เพื่อเป็นประโยชน์ในการนำข้อมูลทางบัญชีไปวิเคราะห์ได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนี้

1. สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนทุนของเจ้ากิจการ

สูตรดังกล่าวนี้เป็นสูตรพื้นฐานที่สำคัญในการอ่านหรือสร้างงบดุล(Balance Sheet) ที่ถูกต้อง โดยใช้เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างทางการเงินของกิจการว่า สินทรัพย์ทั้งหมดของกิจการ เกิดจากเงินทุนของเจ้าของกิจการรวมจากการสร้างหนี้ เช่น การกู้ยืมธนาคาร เป็นจำนวนเท่าใด

ซึ่งหากส่วนทุนของเจ้าของกิจการมีค่าน้อยกว่าหนี้สิน ก็เป็นการบ่งบอกว่ากิจการดังกล่าวมีสภาพคล่องต่ำ โดยเราสามารถหามูลค่าของหนี้สินได้ด้วยการย้ายข้างสมการ เช่น หนี้สิน = สินทรัพย์ – ส่วนทุนของเจ้าของกิจการ เป็นต้น

2. กำไรสุทธิ = รายได้รวม – ค่าใช้จ่ายรวม

สูตรการคำนวณกำไรสุทธิ เป็นสูตรที่ใช้สำหรับงบกำไร/ขาดทุน(Income statement) ซึ่งกำไรสุทธิ สามารถคำนวณได้จากการนำรายได้รวมทั้งทางตรงและทางอ้อมของกิจการ นำมาหักลบด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมด อันประกอบด้วยต้นทุนของสินค้า ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของกิจการทุกประเภท รวมทั้งภาษีจ่าย ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นกำไรสุทธิ

ซึ่งกำไรสุทธ เป็นตัวเลขบ่งบอกความสามารถในการดำเนินกิจการและการควบคุมค่าใช้จ่าย จนก่อให้เกิดเป็นดอกผลของกิจการที่เกิดขึ้นในรอบปีหรือรอบไตรมาสนั้นๆ ซึ่งบางครั้งก็อาจจะเป็น “ขาดทุนสุทธิ” ได้เช่นกัน

3. กำไรสะสมปลายปี = กำไรสะสมต้นปี + กำไรสุทธิ – เงินปันผลจ่าย

สูตรคำนวณกำไรสะสมปลายปี เป็นสูตรทางบัญชีเพื่อใช้จัดทำงบกำไรสะสม ซึ่งเป็นงบที่แสดงผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มกิจการจนถึงงวดบัญชีปัจจุบัน ว่ากิจการมีกำไรสะสมเพิ่มขึ้นเท่าใด หรือหากขาดทุนสุทธิหรือมีการจ่ายเงินปันผลก็จะทำให้กำไรสะสมปลายปีลดลง

ซึ่งสูตรคำนวณกำไรสะสมปลายปี เกิดจากการนำกำไรสะสมจากปีก่อนหน้ามาบวกกับกำไรสุทธิในรอบบัญชีปัจจุบัน และนำไปหักออกจากเงินปันผลที่จ่ายให้กับนักลงทุน (หากมี) ก็จะได้เป็นกำไรสะสมที่แสดงอยู่ในบรรทัดหนึ่งของส่วนทุนของเจ้ากิจการในบัญชีงบดุล(Balance Sheet)

4. ส่วนทุนของเจ้ากิจการ = ทุนที่ชำระแล้ว + กำไรสะสมปลายปี

ส่วนทุนของเจ้ากิจการ เป็นรายงานข้อมูลทางบัญชีส่วนสุดท้ายของงบดุล(Balance Sheet) ซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงของส่วนทุนที่ชำระแล้วของกิจการ(ทั้งเงินทุนของเจ้าของกิจการและมูลค่าหุ้นในรูปแบบต่างๆกรณีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) และนำมารวมกับกำไรสะสมปลายปีที่ได้จากการคำนวณในข้อ 3 ก็จะได้เป็นส่วนทุนของเจ้าของกิจการ

ซึ่งหากนำไปเปรียบเทียบกับหนี้สินตามหลักสมการบัญชี : สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนทุนของเจ้ากิจการ ก็สามารถพิจารณาได้ว่าสินทรัพย์ของกิจการที่เกิดขึ้นมาจากส่วนของหนี้สินหรือส่วนทุน ซึ่งส่งผลต่อสภาพคล่องของกิจการ

5. ค่าเสื่อมราคาแบบตรง = (มูลค่าสินทรัพย์ – ค่าซาก) / จำนวนปีที่ใช้งาน

เมื่อกิจการนำเงินทุนมาลงทุนในรูปของสินทรัพย์ระยะยาว เช่น เครื่องจักร สินทรัพย์ดังกล่าวจะต้องถูกคิดค่าเสื่อมตามหลักการทางบัญชีด้วยสมมติฐานที่ว่า สินทรัพย์จะเสื่อมสภาพไปตามระยะเวลามากกว่าการใช้งาน และการเสื่อมสภาพนั้นจะเป็นไปในอัตราที่เท่ากันทุกปี

ดังนั้นวิธีการคิดค่าเสื่อมที่ง่ายที่สุดคือการคิดแบบตรง โดยใช้มูลสินทรัพย์หักออกจากราคาขายเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน (ราคาซาก) หารด้วยอายุที่คาดว่าจะใช้งาน ก็จะได้ค่าเสื่อมราคา / ปี นำไปคำนวณเป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายที่แสดงในงบกำไร/ขาดทุน(Income statement) 

               จากสูตรบัญชีทั้งหมดนี้ จะเห็นได้ว่าข้อมูลทางบัญชีที่ปรากฏในงบการเงินสามารถอ่านและนำไปวิเคราะห์ได้ง่ายหากเราทราบถึงลำดับที่มาของตัวเลข ดังนั้นการมีพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับสูตรบัญชี จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับบุคคลทุกกลุ่มที่ต้องการใช้ประโยชน์จากงบการเงิน

 

รวมสูตรทางบัญชีอื่น ๆ

สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

หนี้สิน = สินทรัพย์ - ส่วนของเจ้าของ

วัสดุสำนักงานใช้ไป = วัสดุสำนักงานในบัญชีก่อนปรับปรุง - วัสดุสำนักงานคงเหลือปลายงวด

ขายสุทธิ = ขาย - รับคืนสินค้า - ส่วนลดจ่าย

ซื้อสุทธิ = ซื้อ + ค่าขนส่งเข้า - ส่งคืนสินค้า - ส่วนลดรับ

ต้นทุนขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อสุทธิ - สินค้าคงเหลือปลายงวด

กำไรขั้นต้น = ขายสุทธิ - ต้นทุนขาย

กำไรสะสมปลายงวด = กำไรสะสมต้นงวด + กำไรสุทธิ - เงินปันผลจ่าย

ส่วนของผู้ถือหุ้น = ทุนหุ้นสามัญ + กำไรสะสมปลายงวด

ค่าใช้จ่ายรวม = รายได้รวม - กำไรสุทธิ

กำไรสุทธิ = รายได้รวม - ค่าใช้จ่ายรวม

สินค้าที่มีเพื่อขาย = สินค้าคงเหลือต้นงวด + ซื้อสุทธิ

กำไรสะสมปลายปี = กำไรสะสมต้นปี + กำไรสุทธิ - เงินปันผลจ่าย

ส่วนของผู้ถือหุ้น = ทุนหุ้นสามัญ + กำไรสะสมปลายปี

ทุนต้นปี = สินทรัพย์ต้นปี - หนี้สินต้นปี

ทุนปลายปี = สินทรัพย์ปลายปี - หนี้สินปลายปี

กำไรสุทธิ = ทุนปลายปี - ทุนต้นปี - ลงทุนเพิ่ม

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

บทความโดย : http://www.pangpond.co.th

 5385
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์