เปลี่ยนผู้ทำบัญชีของบริษัทต้องทำอย่างไร

เปลี่ยนผู้ทำบัญชีของบริษัทต้องทำอย่างไร


1. ขอเอกสารที่ใช้ในการบันทึกบัญชีคืน

การทำบัญชีนั้น ต้องใช้เอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ได้แก่ บิลซื้อ และบิลขาย ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะให้เอกสารตัวจริงทั้งหมดกับกับผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชี ทั้งหมดนี้เราต้องขอคืนจากผู้ทำบัญชีทั้งหมดกลับมา

กฎหมายได้กำหนดไว้ว่าต้องเก็บเอกสารที่ใช้ในการประกอบการบันทึกบัญชีไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี
– บิลซื้อ บิลขาย
– ใบเสร็จและเอกสารนำส่งภาษี (ภ.ง.ด. 1, 3, 53 ภ.พ. 30, ภ.ง.ด. 50,51)
– เอกสารที่ใช้นำส่งประกันสังคมและใบเสร็จรับเงิน

ผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชีส่วนใหญ่จะทำใบสำคัญการลงบัญชีพร้อมแนบเอกสารส่งคืนลูกค้าทุกปี

2. ขอข้อมูลการบันทึกบัญชี
  • งบทดลอง (Trial Balance)
  • สมุดรายวันแยกประเภท (General Ledger)
  • สมุดรายวันซื้อ, ขาย, จ่ายเงิน, รับเงิน
  • ทะเบียนทรัพย์สิน
  • ทะเบียนเจ้าหนี้ ทะเบียนลูกหนี้
  • รายละเอียดประกอบยอดคงเหลือสินทรัพย์และหนี้สิน

ผู้ประกอบการที่ต้องการเปลี่ยนผู้ทำบัญชีหรือสำนักงานบัญชีจะต้องให้เวลากับผู้ทำบัญชีเก่าในการปิดบัญชี เพื่อส่งข้อมูลให้ผู้ทำบัญชีรายใหม่ การปิดบัญชีส่วนใหญ่จะต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน แต่ผู้ทำบัญชีรายใหม่สามารถทำบัญชีได้เลย ไม่ต้องรอผู้ทำบัญชีรายเก่าปิดงบเสร็จ

3. ขอรหัสผ่านต่างๆ ที่เกี่ยวกับบัญชี
  • รหัสผ่าน DBD E-Filing
  • รหัสผ่านยื่นภาษีกับกรมสรรพากร
  • รหัสผ่านที่ใช้ทำธุรกรรมบนเว็บประกันสังคม

วันเริ่มต้นรอบบัญชีใหม่เหมาะกับการเปลี่ยนผู้ทำบัญชี หรือ สำนักงานบัญชีใหม่

ขั้นตอนการเปลี่ยนผู้ทำบัญชีใหม่

  1. ผู้ทำบัญชีต้องทำเรื่องแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายใน 30 วันนับตั้งแต่วันที่มีการเปลี่ยนแปลง
  2. ผู้ทำบัญชีต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ E-Accountant ที่เว็บ DBD

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

ขอบคุณบทความจาก :: https://www.accprotax.com   หรือ Click  

 514
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์