ดอกเบี้ยจากการฝากเงิน ต้องเสียภาษีอย่างไร?

ดอกเบี้ยจากการฝากเงิน ต้องเสียภาษีอย่างไร?


เอาแบบนี้ก่อนดีกว่า ถ้าเริ่มจากคำถามว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารแบบไหนแบบไม่เสียภาษี พรี่หนอมอยากให้จำง่ายๆ ก่อนเลย 3 ตัว คือ ดอกเบี้ยที่เป็นเผื่อเรียกของธนาคารออมสิน กับ  ดอกเบี้ยออมทรัพย์ของธ.ก.ส. และอีกตัวคือดอกเบี้ยออมทรัพย์ของสหกรณ์

       ส่วนฝากประจำปลอดภาษีที่เมื่อกี้เล่นมุกไป ดอกเบี้ยก็ไม่เสียภาษีเหมือนกันแต่เราต้องทำตามเงื่อนไขการฝากที่ธนาคารกำหนดไว้ด้วย 

       ส่วนดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ธนาคารพาณิชย์ทั่วไปที่มีดราม่าในช่วงก่อนหน้านี้ อยากให้เข้าใจชัดๆว่า ดอกเบี้ยที่ต้องเสียภาษีคือต้องได้ดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาท ถึงจะเสียภาษี แต่ถ้าได้ไม่ถึงก็ยกเว้นภาษีเหมือนกับทั้งหมดที่ว่ามานั่นแหละจ้า

       แต่ตรงนี้รู้ไว้หน่อยนะ สมมติว่าถ้าได้ดอกเบี้ยเกินจริงๆ เช่นได้ดอกเบี้ยออมทรัพย์มาทั้งหมด 25,000 บาท ตรงนี้เราจะเสียภาษีจากยอด 25,000 บาทเลยนะ ไม่ใช่แค่ส่วนที่เกินมา 5,000 บาท อันนี้ฝากไว้ให้เป็นความรู้กันครับผม

       ทีนี้.. กรณีดอกเบี้ยออมทรัพย์ไม่เกิน 20,000 บาทที่กรมสรรพากรออกมาบอกว่า ต้องมีการแจ้งความยินยอมกับธนาคารว่าให้ส่งข้อมูลให้สรรพากรถึงจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีนั้น มันเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่แยกย่อยออกมาเป็นดราม่าต่อแบบนี้ คือ 

       1. ถ้าหากยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร กรณีนี้ถ้าดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาท เราอยู่เฉยๆไม่ไปทำอะไร นั่นคือยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร และธนาคารจะไม่หักภาษีเราไว้สักบาท ดังนั้นถ้าไม่ลำบากใจในการส่งข้อมูลและดอกเบี้ยเราไม่เกิน 20,000 บาทแน่ๆ ก็อยู่เฉยๆ ชิวๆ ไป

       2. ถ้าหากไม่ยินยอมให้ธนาคารส่งข้อมูลให้สรรพากร เราต้องถูกธนาคารหักภาษีไว้ 15% ของดอกเบี้ยที่ได้ทันที ไม่ว่าจะได้ดอกเบี้ยเท่าไรก็ตาม ต่อให้ได้ไม่เกิน 20,000 บาทก็ต้องโดนหักภาษีไว้ด้วยนะจ๊ะ

       โอเค ทีนี้มากันต่อในส่วนของเงินฝากประจำกันบ้าง กรณีของเงินฝากประจำเราจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15 % จากยอดดอกเบี้ยที่ได้ นั่นคือ ถ้าเราได้เงิน 100 บาท เราจะถูกหักภาษีไว้ 15 บาทแล้วได้เงินแค่ 85 บาทเท่านั้น โดยเรามีสิทธิ์เลือกเอารายได้ดอกเบี้ยจำนวน 100 บาทตรงนี้มายื่นภาษีเพื่อขอคืนภาษีได้ ถ้าหากเราเสียภาษีไม่ถึงฐาน 15% ก็มีสิทธิได้คืนภาษีไป หรือจะเลือกให้หักไปแล้วจบไม่ต้องเอามายื่นภาษีเลยก็ได้เหมือนกัน (ตรงนี้ก็เป็นทางเลือกว่าจะเลือกแบบไหนที่คุ้มค่ากับเรามากกว่านั่นเอง)

       ส่วนวิธีเช็คว่าเงินฝากไหนจะโดนหักไม่หักภาษี แนะนำง่ายๆ คือ ตอนเปิดบัญชีถามพนักงานเลยว่าฝากแบบนี้เสียภาษีไหมเสีย 15% หรือเปล่า ถ้าหากว่าอยากขอคืนภาษี ก็อย่าลืมขอใบหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ด้วยเพื่อเป็นหลักฐานในการยื่นภาษีครับผม  

       ดังนั้นทางเลือกชีวิตสำหรับเรื่องดอกเบี้ยนั้นมีหลายทางมากครับ เราสามารถเลือกจะฝากเงินแบบที่ไม่ต้องเสียภาษีก็ได้ หรือจะเลือกฝากแล้วเสียภาษีก็ได้ เอาแบบที่เราได้ผลตอบแทนโดยรวมมากกว่า แค่นี้ก็น่าจะมีความสุขกับชีวิตมากขึ้นแล้วครับผม

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!


ขอขอบคุณบทความจากเว็บไซต์ : https://aommoney.com/

 446
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์