โดยทั่วไปผู้มีเงินได้ต้องนำเงินได้พึงประเมินทุกประเภทของตน ตลอดปีภาษี (ไม่รวมเงินได้ที่กฎหมายยกเว้นภาษี หรือที่ไม่ต้องเสียภาษี) ไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสิ้นปี เพื่อยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่มีเงินได้ การคำนวณภาษีให้ทำเป็น 3 ขั้น คือ
ขั้นที่หนึ่ง คำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีที่ 1 เสียก่อน
การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 1
เงินได้พึงประเมินทุกประเภทรวมกันตลอดปีภาษี | xxxx | (1) |
หัก ค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายกำหนด | xxxx | (2) |
(1)-(2) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย | xxxx | (3) |
หัก ค่าลดหย่อนต่าง ๆ (ไม่รวมค่าลดหย่อนเงินบริจาค) ตามที่กฎหมายกำหนด | xxxx | (4) |
(3)-(4) เหลือเงินได้หลังจากหักค่าลดหย่อนต่าง ๆ | xxxx | (5) |
หัก ค่าลดหย่อนเงินบริจาค ไม่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนด | xxxx | (6) |
(5-6) เหลือเงินได้สุทธิ | xxxx | (7) |
นำเงินได้สุทธิตาม (7) ไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา | ||
จำนวนภาษีตามการคำนวณภาษีวิธีที่ 1 | xxxx | (8) |
ขั้นที่สอง ให้พิจารณาว่าจะต้องคำนวณภาษีตาม วิธีที่ 2หรือไม่ ถ้าเข้าเงื่อนไขที่จะต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 จึงคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 อีกวิธีหนึ่ง กรณีที่ต้องคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 ได้แก่ กรณีที่เงินได้พึงประเมินทุกประเภทในปีภาษี แต่ไม่รวม เงินได้พึงประเมินตามประเภทที่ 1 มีจำนวนรวมกันตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป การคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 นี้ ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน (= เงินได้พึงประเมินทุกประเภทลบเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 คูณด้วย 0.005) ดังกล่าวนั้น
ขั้นที่สาม สรุป จำนวนภาษีที่ต้องเสียภาษี กำหนดให้ (10) คือ จำนวนภาษีที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 2
การคำนวณภาษี
จำนวนภาษีเงินได้สิ้นปีที่ต้องเสีย เทียบ (8) และ (10) จำนวนที่สูงกว่า | xxxx | (11) | |
หัก ภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายแล้ว | xx | ||
ภาษีเงินได้ครึ่งปีที่ชำระไว้แล้ว | xx | ||
ภาษีเงินได้ชำระล่วงหน้า | xx | ||
เครดิตภาษีเงินปันผล | xx | xx | (12) |
(11-12) เหลือ ภาษีเงินได้ที่ต้องเสีย (หรือที่เสียไว้เกินขอคืนได้) | xx |
หมายเหตุ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 เป็นต้นไป หากคำนวณตามวิธีที่ 2 แล้วมีภาษีเงินได้ที่ต้องเสียจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 5,000 บาท ผู้มีเงินได้ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ตามวิธีที่ 2 ( 10 ) แต่ยังคงมีหน้าที่เสียภาษีตามจำนวนที่คำนวณได้ตามวิธีที่ 1 ( 8 ) โดยนำมาสรุปจำนวนภาษีที่ต้องเสียขั้นที่สาม
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!
ที่มา : Link