การเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท มีขั้นตอนอย่างไร

การเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท มีขั้นตอนอย่างไร


เมื่อกิจการเติบโตขึ้น จำเป็นต้องใช้เงินเพื่อมาขยายกิจการ เพิ่มสภาพคล่องให้แก่กิจการ ผู้ประกอบการจึงระดมเงินจากผู้ถือหุ้น หรือต้องการกลุ่มผู้ถือหุ้นรายใหม่ โดยการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท ทั้งนี้ กิจการจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุนอย่างไร

ขั้นตอนการจดทะเบียนเพิ่มทุนบริษัทจำกัด

การเพิ่มทุนของบริษัททำโดยออกหุ้นใหม่โดยมติพิเศษที่ประชุมผู้ถือหุ้นและต้องแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิข้อ 5. มีขั้นตอนดังนี้

  1. บริษัทออกหนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและ
  2. ลงหนังสือพิมพ์อย่างน้อย 1 ครั้งและส่งทางไปรษณีย์ตอบรับหรือส่งมอบถึงตัวผู้ถือหุ้นก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน
  3. จัดประชุมผู้ถือหุ้นโดยที่ประชุมมีมติพิเศษด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่า 3 ใน 4 ของเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
  4. จัดทำคำขอและยื่นต่อนายทะเบียนที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้า

หมายเหตุ:

  • การเพิ่มทุนต้องออกหุ้นใหม่ในมูลค่าหุ้นที่จดทะเบียนไว้เดิม และหุ้นที่ออกใหม่ต้องเสนอให้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นเดิมถือหุ้นอยู่ก่อน
  • หากผู้ถือหุ้นเดิมไม่ซื้อหุ้นที่เพิ่มทุนให้ขายหุ้นนั้นแก่ผู้ถือหุ้นคนอื่น หรือกรรมการรับซื้อไว้เอง
  • กรณีต้องการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นจะต้องจัดประชุมแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ ข้อ 5. (มูลค่าหุ้น) โดยแก้ไขมูลค่าหุ้น (แปลงมูลค่าหุ้น) ก่อน

เอกสารประกอบการจดทะเบียนเพิ่มทุน

  1. แบบ บอจ.1 คำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  2. คำรับรองการจดทะเบียนบริษัทจำกัด
  3. แบบ บอจ.4 รายการจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติม และ/หรือมติพิเศษ
  4. หนังสือบริคณห์สนธิ (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม)
  5. ใบสำคัญรับชำระเงินค่าหุ้น
  6. สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการที่ลงชื่อในคำขอจดทะเบียน
  7. สำเนาหลักฐานการเป็นผู้รับรองลายมือชื่อ (ถ้ามี)
  8. กรณีมีการจดทะเบียนเพิ่มทุนซึ่งทำให้ทุนจดทะเบียนเกินกว่า 5 ล้านบาท จะต้องจัดส่งเอกสารเพิ่มเติม


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!


ที่มา : www.twentyfouraa.com
 665
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์