เงินสดย่อย VS เงินกู้ยืมกรรมการ

เงินสดย่อย VS เงินกู้ยืมกรรมการ


เงินสดย่อย VS เงินกู้ยืมกรรมการ

เงินสดย่อยกับเงินกู้ยืมกรรมการมีความคล้ายกันตรงที่เป็นเงินของกิจการที่คนในกิจการต้องการนำเงินไปใช้จ่ายต่างๆ เหมือนกันทั้งคู่ แต่หากกิจการเกิดมีบัญชีเงินกู้ยืมกรรมการขึ้นมาจะไม่เป็นผลดีต่อกิจการ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น แล้วคนที่เพิ่งเริ่มต้นกิจการใหม่ๆ จะหลีกเลี่ยงอย่างไรได้บ้าง ในบทความนี้จะขอเปรียบเทียบหน้าที่ของเงินทางบัญชีทั้งสองแบบนี้ว่าต่างกันอย่างไร

เงินสดย่อย คืออะไร

เงินสดย่อย คือเงินของกิจการส่วนหนึ่งที่กำหนดไว้ให้พนักงานขอเบิกไปเป็นค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่างๆ ในกิจกรรมประจำวันได้ เช่น ค่าเมสเซนเจอร์ส่งของ ค่าถ่ายเอกสาร พิมพ์งาน ค่าซื้ออุปกรณ์สำนักงาน ค่าเดินทางไปบริษัทลูกค้า ค่าพิซซ่าเลี้ยงน้องๆ ในออฟฟิศ หรือค่าใช้จ่ายเล็กน้อยที่ไม่จำเป็นต้องรอให้เจ้านายมาเช็นเช็คอนุมัติจ่าย พนักงานสามารถใช้เงินสดย่อยแทนได้เลย โดยมาขอทำเรื่องเบิกกับผู้ถือเงินสดย่อยของกิจการ

ทำบัญชีเงินสดย่อยอย่างไร

เจ้าของกิจการลองประเมินดูว่ามีค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด หรือทำกิจกรรมต่อเดือนเยอะมากน้อยแค่ไหน หรือประเมินตามขนาดของกิจการก็ได้ หากเป็น SMEs หรือกิจการขนาดเล็กก็อาจจะกำหนดวงเงินสดย่อยไว้ที่ 5,000, 10,000, 15,000 บาท ต่อสัปดาห์หรือต่อเดือน เป็นต้น

เงินสดย่อยมีผลต่อกิจการอย่างไร

  • ช่วยลดภาระหน้าที่เล็กๆ น้อยๆ ของเจ้าของกิจการออกไป ไม่ต้องมาเซ็นเช็คหรืออนุมัติเอกสารทุกเรื่อง แต่แบ่งงานไปให้พนักงานบัญชีช่วยรับผิดชอบเงินของกิจการ และทำให้การทำงานสะดวกขึ้น แต่ถ้าเจ้าของธุรกิจยังไม่มีพนักงานบัญชีก็ต้องถือเงินสดย่อยไว้เอง
  • ช่วยให้กิจการไม่ต้องพกเงินสดไว้จำนวนมากๆ
  • ป้องกันปัญหาเจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนเอาเงินกิจการไปใช้ส่วนตัว
  • ช่วยแยกหน้าที่ของเงินอย่างชัดเจน

เงินกู้ยืมกรรมการคืออะไร

เงินกู้ยืมกรรมการ สามารถเกิดได้ 2 วิธีหลักๆ คือ เป็นเงินของกิจการที่ให้เจ้าของกิจการยืม หรือเป็นเงินของเจ้าของกิจการเอามาให้กิจการกู้ แต่ส่วนใหญ่แล้วพบว่า เจ้าของกิจการมีการเบิก ยืม หรือนำเงินไปใช้ โดยไม่รู้ว่าเอาไปทำอะไร เพราะไม่ได้นำเอกสารหลักฐานการใช้เงินกลับมาด้วย ต่างจากเงินสดย่อยที่มีวัตถุประสงค์ชัดเจนว่ามีไว้ทำอะไร และมีหลักฐานการขอเบิกไปใช้จริง

ทำไมถึงเกิดบัญชีเงินกู้ยืมกรรมการ

มีหลายกรณีเช่น

  • ตอนจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ไม่ได้จดทะเบียนด้วยเงินทุนที่มีอยู่จริง เช่น มีเงินทุนเพียง 250,000 บาท แต่ขอจดทะเบียนด้วยทุน 1,000,000 บาท ตามที่นิยมจดกัน ทำให้เจ้าของกิจการมีสถานะติดหนี้กิจการ 750,000 บาท ในบัญชีของกิจการ (มูลค่าต่อหุ้นขั้นต่ำที่จดทะเบียนตามกฎหมายเท่ากับ 5 บาท)
  • เจ้าของกิจการต้องการนำเงินมาใช้ส่วนตัว จึงนำเงินของกิจการออกมาใช้โดยไม่มีเอกสารและหลักฐานว่าเอาไปใช้ทำอะไร
  • กิจการขาดเงินทุนหมุนเวียน จึงกู้ยืมเงินของเจ้าของกิจการมาใช้
  • มีรายได้มากแต่เลี่ยงการลงบัญชีรายได้ของกิจการ เพื่อให้เสียภาษีน้อยลง
  • เป็นรายการปรับปรุงทางบัญชีให้สมดุล

เงินกิจการที่หายไปโดยไม่มีเอกสารยืนยันว่าเอาไปทำอะไร ทางกฎหมายจะถือว่าเป็นการกู้ยืมเงิน โดยที่เจ้าของกิจการเป็นคนบริหารงานกิจการ ก็ต้องมีหน้าที่นำเงินมาคืนกิจการ และต้องจ่ายดอกเบี้ยด้วย โดยอัตราดอกเบี้ยให้ดูจากแหล่งที่มาของเงินกิจการนั้น หากเงินกิจการไม่ได้มาจากเงินกู้ ให้คิดตามดอกเบี้ยเงินฝากประจำ หากเงินนั้นมาจากการกู้ ให้คิดตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ เมื่อเจ้าของกิจการทำการจ่ายดอกเบี้ยแล้ว จะทำให้กิจการมีรายได้จากดอกเบี้ย ก็จะต้องนำเงินส่วนนี้ไปยื่นเสียภาษีธุรกิจเฉพาะอีก โดยมีอัตราอยู่ที่ 3.3% ของยอดดอกเบี้ย ดังนั้นเงินกู้ยืมกรรมการจึงไม่ได้ส่งผลดีต่อกิจการ เพราะไม่ได้จัดการระเบียบทางการเงินให้เรียบร้อยตั้งแต่แรก

เอาเงินกิจการไปใช้อย่างไรให้ถูกต้อง

  • จดทะเบียนบริษัท ด้วยเงินทุนตามจริงที่มี ไม่ใช่ทุนยอดนิยม 1,000,000 บาท
  • ต้องแยกเงินส่วนตัวกับเงินกิจการออกจากกันอย่างชัดเจน เงินสำหรับกิจการให้เปิดบัญชีธนาคารในนามกิจการ ไม่ใช่ในนามของเจ้าของกิจการ
  • เมื่อมีค่าใช้จ่ายของกิจการ ก็ควรจะจ่ายจากบัญชีธนาคารของกิจการ หรือเงินสดย่อย แทนที่จะจ่ายจากเงินส่วนตัวของเจ้าของกิจการ
  • ไม่แนะนำให้เจ้าของกิจการถอนเงินตามอัธยาศัยโดยไม่มีที่มาที่ไป หากกิจการมีรายได้มากและอยากนำเงินไปใช้ กระบวนการที่ถูกต้องคือ ทำให้เป็นรายได้ของตัวเอง โดยการจ่ายเป็นเงินเดือน เงินปันผล หรือค่าตอบแทน ที่มีเอกสารรับรอง
  • หากเจ้าของกิจการหรือหุ้นส่วนมีการนำเงินส่วนตัวมาให้ยืมเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในกิจการควรทำหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้จริงขึ้น เช่น หนังสือสัญญาระบุยอดเงินในการกู้ยืม ระบุรายการดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต้องชำระให้ครบถ้วน

ที่มา : เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ

 4166
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์