เกณฑ์คงค้างและเกณฑ์เงินสดทางบัญชี

เกณฑ์คงค้างและเกณฑ์เงินสดทางบัญชี


ในการทำงบการเงินนั้น  นิยมใช้เกณฑ์ในการกำหนดและในแม่บทการบัญชีระบุไว้  2 แบบคือ

1.เกณฑ์คงค้าง (Accrual Basic)
เป็นการบันทึกรายการค้าต่างๆ ให้อยู่ในระยะเวลาที่เกิดขึ้นในงวดของบัญชีนั้นๆ  โดยค่าใช้จ่ายหรือรายได้จะรับเป็นเงินสดหรือไม่ต้องการ  โดยหลักที่ว่ามีความเป็นไปได้อย่างแน่นอนแล้วว่าจะได้รับผลประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจในอนาคต  สามารถวัดมูลค่านั้นได้ เอาง่ายๆ  คือหลักเกณฑ์ที่ว่านี้ให้หลักของเวลาเป็นหลัก  โดยไม่คำนึงถึงเงินสดว่าจะได้รับหรือไม่ก็ได้  ไม่ว่าจะเป็นรายได้หรือค่าใช้จ่ายจะต้องอยู่ในงวดบัญชีนั้น  เกณฑ์ดังกล่าวจึงสามารถที่จะค้างได้เพราะไม่ได้จ่ายเป็นเงินสดนั้นเอง

ตัวอย่าง จ่ายค่าเช่าอาคารในวันที่ 1 ตุลาคม  12,000 บาทซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 1 ปี รายการค้าตามตัวอย่างหมายถึงเราได้จ่ายเงินให้กับเจ้าของไปแล้ว 12,000 บาท  แต่พอถึงเวลาสิ้นงวดหรือสินปี  ซึ่งในเกณฑ์คงค้าง  ในเดือนธนวาคม  แสดงว่าเราจ่ายไปเป็นค่าเช่า 3 เดือน  ตุลาคม – ธันวาคม เท่านั้น  ส่วนที่เหลือยังไม่ได้จ่ายจึงเป็นค่าใช้จ่ายล่วงหน้านั้น

ข้อดีของเกณฑ์นั้นมีข้อดีคือ  ให้ข้อมูลที่เกิดขึ้นหรือเหตุการณ์โดยใช้เวลาเป็นหลักทำให้ได้ข้อมูลเทียบกับระยะเวลาที่แท้จริงกับเงินสดของกิจการทั้งที่จะได้จ่ายและได้รับในอนาคต

2.เกณฑ์เงินสด (Cash Basic)
เป็นการบรรทุกรายการค้าโดยไม่คำนึงถึงเวลา  แต่จะบันทึกทั้งหมดเมื่อได้จ่ายหรือได้รับเงินสดเท่านั้น

ตัวอย่าง รับค่าบริการทำความสะอาดมา 30,000 บาทเป็นค่าใช้บริการในระยะ 1 ปี  โดยได้รับในวันที่ 1 กันยายนเกณฑ์เงินสดก็จะรับรู้ว่าเป็นรายได้ทันที 30,000 ในปีนั้นทั้งหมดเลย  โดยไม่ค้างไว้ในปีต่อไป

ดังนั้นแล้วการใช้เกณฑ์เงินสดหากคำนวณรายได้ค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้กำไร- ขาดทุนนั้นจะไม่สามารถได้ยอดที่ตรงในระยะเวลาที่เป็นจริง  จึงทำให้บางงวดมีกำไรน้อย  บางงวดมีกำไรมากจึงไม่ค่อยนิยมใช้กัน  เกณฑ์คงค้างจะอยู่ในระยะเวลาที่ถูกต้องกว่าโดยจะต้องทำการปรับปรุงหลังจากที่ได้งบทดลองแล้ว

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!

ที่มา : http://www.accountclub.net/

 1042
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์