081-359-6920
,
02-402-6117
sale@prosoftwinspeed.com
ลงทะเบียน Demo
Menu
Home
Products
Overview
Key Feature
Screenshots
Reports
Sales Order
Purchase Order
Accounts Receivable
Accounts Payable
Inventory Control
Warehouse Management
Job Cost
General Ledger
Budget Control
Cheque and Bank
Petty Cash
Advance System
Multi Currency
Letter of Credit
Commission Management
Consignment
Audit and Internal Control
Value Added Tax
Customer Relationship Management
Fixed Assets
Solutions
ธุรกิจเหล็ก
ธุรกิจการผลิต
ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ธุรกิจก่อสร้าง
ธุรกิจฝากขาย
Services
จองอบรม Online
FAQ Online
E-learning
คู่มือการใช้งาน (Help)
System Requirements
New Feature
E-Newsletter
บริการ Maintenance
บริการเสริม
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
Customers
ลูกค้าของเรา
Success Stories
บรรยากาศการอบรม
More
News & Events
Accounting Articles
About Us
Company Profile
Organization
Management Team
Our Business
Awards & Standards
Prosoft Group
Our Family
Social Enterprise
Job Opportunity
Gallery
Office Location
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
หน้าแรก
Accounting Articles
คำศัพท์ต้องรู้เรื่องเงินสด
คำศัพท์ต้องรู้เรื่องเงินสด
ย้อนกลับ
หน้าแรก
Accounting Articles
คำศัพท์ต้องรู้เรื่องเงินสด
คำศัพท์ต้องรู้เรื่องเงินสด
ย้อนกลับ
เคยสงสัยมั้ยคะ ว่าเช็คทุกใบใช่เงินสดหรือเปล่า หรือเงินฝากทุกบัญชีเนี่ยถือเป็นเงินสดมั้ย ในชีวิตประจำวันเรามักมีรายการที่ต้องตัดสินใจอยู่เสมอค่ะ ว่าจะให้รายการเหล่านี้เป็น “เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด” ดีมั้ยในงบการเงิน ฉะนั้น ในวันนี้เราจึงรวบรวมคำศัพท์ 4 คำที่ทำให้นักบัญชีเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ และวิธีการตัดสินใจว่ามันคืออะไรในงบการเงินมาให้ทุกคนเรียนรู้กัน
1. เช็ค
เช็ค เป็นตัวแทนเงินสด ที่เจ้าของเช็คต้องมีบัญชีกระแสรายวันกับธนาคาร และคนได้รับเช็คใบนั้นสามารถนำไปยื่นกับธนาคารเพื่อเบิกเป็นเงินสด หรือนำเงินเข้าบัญชีธนาคารได้
สิ่งที่ต้องสังเกตเกี่ยวกับเช็ค คือ วันที่สั่งจ่าย
เช็คถึงกำหนดชำระแล้ว =
วันที่ในเช็คจะเป็นวันที่อดีตหรือปัจจุบัน แปลว่า ผู้รับเช็คเอาไปขึ้นเงินได้ทันที รายการนี้ ถือเป็น “เงินสด” ของกิจการ
เช็คยังไม่ถึงกำหนดชำระ =
วันที่ในเช็คเป็นวันที่ในอนาคต ที่เรามักได้ยินบ่อยๆว่า “เช็คลงวันที่ล่วงหน้า” รายการนี้ห้ามทึกทักเอาเองว่าเป็นเงินสด เพราะผู้รับเช็คยังขึ้นเงินไม่ได้ ปัจจุบันยังถือเป็น “ลูกหนี้” ของกิจการอยู่
และสุดท้ายคำว่า “เช็คเด้ง” ชื่อนี้ไม่เป็นมงคลเอามากๆ มันหมายถึง เช็คที่ถึงกำหนดชำระแล้วแต่พอเอาไปขึ้นเงินดันไม่มีเงินในบัญชีเพียงพอให้จ่าย แทนที่จะรับรู้เป็น “เงินสด” ก็เลยต้องเด้งกลับไปเป็น “ลูกหนี้” เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ คนรับเช็คอย่างเราต้องไปตามทวงเงินจากเจ้าของเช็คใหม่ หรือฟ้องร้องดำเนินคดีกันไปตามระเบียบ
2. เงิน OD
เงิน OD ย่อมาจาก Over Draft เป็นสินเชื่อที่ธุรกิจได้รับจากธนาคาร แบบให้เบิกเงินเกินบัญชีออกมาใช้หมุนเวียนในธุรกิจก่อน ส่วนมากจะเกิดจากการสั่งจ่ายเช็คออกไป เช่น มีเงินในบัญชีกระแสเงินสดอยู่ 1 ล้าน และสั่งจ่ายเช็คออกไป 3 ล้าน แปลว่ายอดเงินสดในบัญชีนี้จะติดเครดิตอยู่ 2 ล้าน เงินจำนวนนี้เราจะเรียกว่า “เงิน OD”
ข้อสังเกต เรื่องเงิน OD เราต้องดูว่าลูกค้ามีสัญญาหักกลบกันแบบอัตโนมัติไหม
โดยทั่วไป ถ้าไม่ได้ทำสัญญาหักกลบเงินเบิกเกินบัญชีกับบัญชีออมทรัพย์อื่นๆ ไว้ยอดเงิน OD เราต้องแสดงแยกต่างหากในงบการเงิน เป็น “หนี้สินระยะสั้น” แต่ถ้ามีสัญญาหักกลบระหว่างกันแบบอัตโนมัติจากบัญชีอื่นที่เป็นบวก โดยเจ้าของกิจการไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยส่วนที่ติดเครดิตตรงนี้ รายการนี้อาจนำมารวมกับเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดได้ ซึ่งเราจะพบไม่บ่อยนัก
3. เงินฝากประจำ
เงินฝากประจำ เป็นเงินฝากที่เราสัญญากับธนาคารไว้ว่าไม่ถอนออกไปจนกว่าจะครบกำหนด เช่น 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน และสิ่งที่เราจะได้จากธนาคารเป็นผลตอบแทนคือ ดอกเบี้ย (อันน้อยนิด) หลังจากครบอายุเงินฝากแล้ว
เมื่อเงินฝากประจำมีระยะเวลาการฝากมาเกี่ยวข้อง มันจึงไม่จัดเป็น “เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด” ทุกๆ บัญชีไป
เราต้องดูระยะเวลาการฝากเงิน ประกอบกับเจตนาของเจ้าของเงินด้วย ยกตัวอย่างเช่น
ฝากประจำ ไม่เกิน 3 เดือน
= รายการเทียบเท่าเงินสด ถ้าคิดว่าจะฝากไว้เพื่อรอจ่ายในเวลาอันใกล้
ฝากประจำ ไม่เกิน 3 เดือน แต่อยากต่ออายุไปเรื่อยๆ
= เงินลงทุน เพราะเจ้าของเงินไม่ได้คิดจะเอาไว้ใช้จ่าย แต่เป็นเพื่อลงทุน
ฝากประจำ 3 เดือน – 12 เดือน
= เงินลงทุนชั่วคราว
ฝากประจำนานกว่า 12 เดือน
= เงินลงทุนระยะยาว
4. เงินฝากติดภาระ
แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นเงินฝากเหมือนกัน แต่ข้อแตกต่างของมัน คือ มันมีภาระค้ำประกัน ทำให้เราไม่สามารถถอนออกมาใช้ได้ง่ายๆ เหมือนเงินฝากทั่วไป เพราะถ้าถอนออกมาใช้แล้วจะผิดเงื่อนไขกับธนาคารหรือบุคคลที่ 3 ไปโดยปริยาย
ตัวอย่างเช่น เงินฝากค้ำประกันสัญญาเงินกู้ เงินฝากค้ำประกันการออก LG
เงินฝากจำพวกนี้จะแสดงเป็นสินทรัพย์อื่นในงบการเงิน แบ่งตามช่วงเวลาของข้อจำกัด เช่น
เงินฝากติดภาระไม่เกิน 12 เดือน
= สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
เงินฝากติดภาระนานกว่า 12 เดือน
= สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น
โดยสรุปแล้ว ทั้ง 4 คำนี้ แม้เป็นคำสั้นๆ แต่ไม่ใช่ทุกคำที่จัดเป็นเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดตามหลักการบัญชี ฉะนั้น อย่าลืมวิเคราะห์กันดีๆ ก่อนตัดสินใจนะคะ
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!
ขอบคุณที่มา :
https://www.thaicpdathome.com/article/4-vocabs-about-cash
992
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำความรู้จักกับ Landed Cost
ทำความรู้จักกับ Landed Cost
Landed Cost
คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
ความผิดพลาดด้านการเงินที่ SME ต้องเรียนรู้
ความผิดพลาดด้านการเงินที่ SME ต้องเรียนรู้
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องทำยังไง
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องทำยังไง
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เกี่ยวข้องกับงานบัญชีอย่างไร
โปรแกรม ERP เกี่ยวข้องกับงานบัญชีอย่างไร
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี กับการลงทุนที่คุ้มค่า พร้อมระบบงานบัญชีครบวงจร
โปรแกรมบัญชี กับการลงทุนที่คุ้มค่า พร้อมระบบงานบัญชีครบวงจร
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" ลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง
"ยื่นภาษี 2566" ลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com