คำศัพท์ต้องรู้เรื่องเงินสด

คำศัพท์ต้องรู้เรื่องเงินสด


เคยสงสัยมั้ยคะ ว่าเช็คทุกใบใช่เงินสดหรือเปล่า หรือเงินฝากทุกบัญชีเนี่ยถือเป็นเงินสดมั้ย ในชีวิตประจำวันเรามักมีรายการที่ต้องตัดสินใจอยู่เสมอค่ะ ว่าจะให้รายการเหล่านี้เป็น “เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด” ดีมั้ยในงบการเงิน ฉะนั้น ในวันนี้เราจึงรวบรวมคำศัพท์ 4 คำที่ทำให้นักบัญชีเข้าใจผิดอยู่บ่อยๆ และวิธีการตัดสินใจว่ามันคืออะไรในงบการเงินมาให้ทุกคนเรียนรู้กัน

1. เช็ค

เช็ค เป็นตัวแทนเงินสด ที่เจ้าของเช็คต้องมีบัญชีกระแสรายวันกับธนาคาร และคนได้รับเช็คใบนั้นสามารถนำไปยื่นกับธนาคารเพื่อเบิกเป็นเงินสด หรือนำเงินเข้าบัญชีธนาคารได้

สิ่งที่ต้องสังเกตเกี่ยวกับเช็ค คือ วันที่สั่งจ่าย

เช็คถึงกำหนดชำระแล้ว = วันที่ในเช็คจะเป็นวันที่อดีตหรือปัจจุบัน แปลว่า ผู้รับเช็คเอาไปขึ้นเงินได้ทันที รายการนี้ ถือเป็น “เงินสด” ของกิจการ
เช็คยังไม่ถึงกำหนดชำระ = วันที่ในเช็คเป็นวันที่ในอนาคต ที่เรามักได้ยินบ่อยๆว่า “เช็คลงวันที่ล่วงหน้า” รายการนี้ห้ามทึกทักเอาเองว่าเป็นเงินสด เพราะผู้รับเช็คยังขึ้นเงินไม่ได้ ปัจจุบันยังถือเป็น “ลูกหนี้” ของกิจการอยู่

และสุดท้ายคำว่า “เช็คเด้ง” ชื่อนี้ไม่เป็นมงคลเอามากๆ มันหมายถึง เช็คที่ถึงกำหนดชำระแล้วแต่พอเอาไปขึ้นเงินดันไม่มีเงินในบัญชีเพียงพอให้จ่าย แทนที่จะรับรู้เป็น “เงินสด” ก็เลยต้องเด้งกลับไปเป็น “ลูกหนี้” เหมือนเดิม เพิ่มเติมคือ คนรับเช็คอย่างเราต้องไปตามทวงเงินจากเจ้าของเช็คใหม่ หรือฟ้องร้องดำเนินคดีกันไปตามระเบียบ


2. เงิน OD
เงิน OD ย่อมาจาก Over Draft เป็นสินเชื่อที่ธุรกิจได้รับจากธนาคาร แบบให้เบิกเงินเกินบัญชีออกมาใช้หมุนเวียนในธุรกิจก่อน ส่วนมากจะเกิดจากการสั่งจ่ายเช็คออกไป เช่น มีเงินในบัญชีกระแสเงินสดอยู่ 1 ล้าน และสั่งจ่ายเช็คออกไป 3 ล้าน แปลว่ายอดเงินสดในบัญชีนี้จะติดเครดิตอยู่ 2 ล้าน เงินจำนวนนี้เราจะเรียกว่า “เงิน OD”

ข้อสังเกต เรื่องเงิน OD เราต้องดูว่าลูกค้ามีสัญญาหักกลบกันแบบอัตโนมัติไหม

โดยทั่วไป ถ้าไม่ได้ทำสัญญาหักกลบเงินเบิกเกินบัญชีกับบัญชีออมทรัพย์อื่นๆ ไว้ยอดเงิน OD เราต้องแสดงแยกต่างหากในงบการเงิน เป็น “หนี้สินระยะสั้น” แต่ถ้ามีสัญญาหักกลบระหว่างกันแบบอัตโนมัติจากบัญชีอื่นที่เป็นบวก โดยเจ้าของกิจการไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยส่วนที่ติดเครดิตตรงนี้ รายการนี้อาจนำมารวมกับเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดได้ ซึ่งเราจะพบไม่บ่อยนัก

3. เงินฝากประจำ
เงินฝากประจำ เป็นเงินฝากที่เราสัญญากับธนาคารไว้ว่าไม่ถอนออกไปจนกว่าจะครบกำหนด เช่น 3 เดือน 6 เดือน 12 เดือน และสิ่งที่เราจะได้จากธนาคารเป็นผลตอบแทนคือ ดอกเบี้ย (อันน้อยนิด) หลังจากครบอายุเงินฝากแล้ว

เมื่อเงินฝากประจำมีระยะเวลาการฝากมาเกี่ยวข้อง มันจึงไม่จัดเป็น “เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด” ทุกๆ บัญชีไป

เราต้องดูระยะเวลาการฝากเงิน ประกอบกับเจตนาของเจ้าของเงินด้วย ยกตัวอย่างเช่น
ฝากประจำ ไม่เกิน 3 เดือน = รายการเทียบเท่าเงินสด ถ้าคิดว่าจะฝากไว้เพื่อรอจ่ายในเวลาอันใกล้
ฝากประจำ ไม่เกิน 3 เดือน แต่อยากต่ออายุไปเรื่อยๆ = เงินลงทุน เพราะเจ้าของเงินไม่ได้คิดจะเอาไว้ใช้จ่าย แต่เป็นเพื่อลงทุน
ฝากประจำ 3 เดือน – 12 เดือน = เงินลงทุนชั่วคราว
ฝากประจำนานกว่า 12 เดือน = เงินลงทุนระยะยาว

4. เงินฝากติดภาระ
แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นเงินฝากเหมือนกัน แต่ข้อแตกต่างของมัน คือ มันมีภาระค้ำประกัน ทำให้เราไม่สามารถถอนออกมาใช้ได้ง่ายๆ เหมือนเงินฝากทั่วไป เพราะถ้าถอนออกมาใช้แล้วจะผิดเงื่อนไขกับธนาคารหรือบุคคลที่ 3 ไปโดยปริยาย

ตัวอย่างเช่น เงินฝากค้ำประกันสัญญาเงินกู้ เงินฝากค้ำประกันการออก LG

เงินฝากจำพวกนี้จะแสดงเป็นสินทรัพย์อื่นในงบการเงิน แบ่งตามช่วงเวลาของข้อจำกัด เช่น
เงินฝากติดภาระไม่เกิน 12 เดือน = สินทรัพย์หมุนเวียนอื่น
เงินฝากติดภาระนานกว่า 12 เดือน = สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนอื่น

โดยสรุปแล้ว ทั้ง 4 คำนี้ แม้เป็นคำสั้นๆ แต่ไม่ใช่ทุกคำที่จัดเป็นเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดตามหลักการบัญชี ฉะนั้น อย่าลืมวิเคราะห์กันดีๆ ก่อนตัดสินใจนะคะ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!


ขอบคุณที่มา : https://www.thaicpdathome.com/article/4-vocabs-about-cash
 990
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์