วิธีการ “ประมาณการกำไรสุทธิ”

วิธีการ “ประมาณการกำไรสุทธิ”


ขั้นตอนที่ 1

การประมาณการโดยนําผลการประกอบกิจการจริง 6 เดือนแรก บวกกับผลประกอบการที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในช่วง 6 เดือนหลัง โดยพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่คาดวาจะเกิดขึ้น 2 ด้าน ดังนี้

1. ด้านรายได้ ประกอบด้วย รายได้โดยตรง รายได้อื่น เช่น กำไรจากการจําหน่ายทรัพย์สิน และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

2. ด้านรายจ่าย ประกอบด้วย ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายขายและ บริหาร รายจ่ายอื่น เช่น ขาดทุนจากการจําหน่ายทรัพย์สิน และขาดทุน จากอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น

*สำหรับรายจ่ายให้พิจารณาเรื่องรายจ่าย ต้องห้ามด้วย เพราะไม่สามารถนํามารวม

ขั้นตอนที่ 2

นําประมาณการกำไรสุทธิ มาคํานวณ เพื่อยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 และพิจารณาว่าภาษีที่คํานวณได้ ตามแบบ ภ.ง.ด.51 มีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของภาษีที่คํานวณได้ ตามแบบ ภ.ง.ด.50 ของรอบระยะเวลาบัญชีที่แล้วหรือไม่ เพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.50/2537ฯ ลว. 31 ส.ค.2537 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.152/2558ฯ

ทั้งนี้ กรณี มีการลดอัตราภาษีในปีที่ประมาณการ ให้พิจารณาตามข้อ 1 (2) ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.51/2537ฯ ลงวันที่ 31 ส.ค.2537 ด้วย..

หากประมาณการกําไรสุทธิคลาดเคลื่อน มีความผิดหรือไม่ ⁉️

▪️มาตรา 67 ตรีในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67ทวิ (1) หรือยื่น รายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (1) โดยแสดงประมาณการกำไรสุทธิขาดไปเกินร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิซึ่งได้จากกิจการ หรือเนื่องจากกิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยไม่มีเหตุอันสมควร บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสีย เงินเพิ่มอีก 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม.67ทวิ (1) หรือของกึ่งหนึ่งของจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียในรอบ ระยะเวลาบัญชีนั้น หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี

▪️ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) หรือยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) ไว้ไม่ถูกต้อง โดยไม่มีเหตุอันสมควร ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องชําระขาดไป บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องเสียเงินเพิ่มอีก 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม. 67 ทวิ (2) หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี ***เงินเพิ่มดังกล่าวให้ถือเป็นค่าภาษีและอาจลดลงได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542ฯ

▪️กรณีที่ 2 บริษัทหรือหจก. ไม่ยื่นรายการและชําระภาษีตามม.67 ทวิ (2) หรือยื่น ไว้ไม่ถูกต้อง โดยไม่มีเหตุผลที่ควร ทำให้จำนวนภาษีที่ต้องชําระขาดไป ต้องเสียเงินเพิ่มอีก 20% ของจำนวนเงินภาษีที่ต้องชําระตามม. 67 ทวิ (2) หรือของภาษีที่ชําระขาด แล้วแต่กรณี

***เงินเพิ่มดังกล่าวให้ถือเป็นค่าภาษีและอาจลดลงได้ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.81/2542ฯ

บทสรุปการประมาณการกำไรสุทธิ

ผู้เสียภาษีอากรต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด.51 ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด และยื่นประมาณการกําไรสุทธิให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงของการประกอบกิจการ

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!

ขอบคุณบทความจาก :: www.rd.go.th  

 455
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์