081-359-6920
,
02-402-6117
sale@prosoftwinspeed.com
ลงทะเบียน Demo
Menu
Home
Products
Overview
Key Feature
Screenshots
Reports
Sales Order
Purchase Order
Accounts Receivable
Accounts Payable
Inventory Control
Warehouse Management
Job Cost
General Ledger
Budget Control
Cheque and Bank
Petty Cash
Advance System
Multi Currency
Letter of Credit
Commission Management
Consignment
Audit and Internal Control
Value Added Tax
Customer Relationship Management
Fixed Assets
Solutions
ธุรกิจเหล็ก
ธุรกิจการผลิต
ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ธุรกิจก่อสร้าง
ธุรกิจฝากขาย
Services
จองอบรม Online
FAQ Online
E-learning
คู่มือการใช้งาน (Help)
System Requirements
New Feature
E-Newsletter
บริการ Maintenance
บริการเสริม
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
Customers
ลูกค้าของเรา
Success Stories
บรรยากาศการอบรม
More
News & Events
Accounting Articles
About Us
Company Profile
Organization
Management Team
Our Business
Awards & Standards
Prosoft Group
Our Family
Social Enterprise
Job Opportunity
Gallery
Office Location
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
หน้าแรก
Accounting Articles
ปิดงบปีนี้ต้องระวังจัดเสี่ยงอะไรบ้าง?
ปิดงบปีนี้ต้องระวังจัดเสี่ยงอะไรบ้าง?
ย้อนกลับ
หน้าแรก
Accounting Articles
ปิดงบปีนี้ต้องระวังจัดเสี่ยงอะไรบ้าง?
ปิดงบปีนี้ต้องระวังจัดเสี่ยงอะไรบ้าง?
ย้อนกลับ
การปิดงบการเงินแบบ normal อาจจะเป็นเรื่องไม่ normal อีกต่อไป ตั้งแต่มี Covid-19 เข้ามา แทบจะทุกธุรกิจได้รับผลกระทบจากโควิด เริ่มตั้งแต่ธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ และแน่นอนว่าผลกระทบเหล่านี้ย่อมต้องสะท้อนออกมาในงบการเงินอย่างถูกต้องและเหมาะสมเช่นกัน ก่อนจะปิดบัญชีปีนี้มีจุดเสี่ยงสำคัญอะไรในงบการเงินบ้างที่นักบัญชีต้องเรียนรู้ เราขออาสาพาทุกท่านมาทำความเข้าใจไปพร้อมๆ กันเลย ในบทความนี้ค่ะ
1. การรับรู้รายได้
เมื่อโควิดทำให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ธุรกิจก็ย่อมต้องปรับตัว การรับรู้รายได้เองอาจจะเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปอย่างสิ้นเชิง
ยกตัวอย่างเช่น
ธุรกิจฟิตเนส ที่รับค่าสมาชิกล่วงหน้าไว้ แล้วปิดฟิตเนส ขยายอายุการใช้งานให้สมาชิก
ธุรกิจโรงเรียน ต้องคืนเงินให้นักเรียน เพราะเปิดสอนไม่ได้ หรือพ่อแม่ไม่มั่นใจที่จะให้ลูกๆ ไปโรงเรียน
การจัด Promotion ลด แลก แจก แถม เพื่อดึงดูดลูกค้า
การเปลี่ยนสัญญาบริการหรือเงื่อนไขการชำระเงิน เพื่อช่วยเหลือลูกค้า
จากตัวอย่างข้างต้นนักบัญชีเองก็ต้องปรับการรับรู้รายได้ให้เข้ากับเงื่อนไขธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีเช่นกัน
2. ตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ
นอกจากจะขายของไม่ออก เคราะห์ซ้ำกรรมซัดอาจทำให้ธุรกิจมีลูกหนี้ค้างนานเก็บเงินไม่ได้เสียทีอีกด้วย ซึ่งผลกระทบตรงนี้นักบัญชีต้องพิจารณาเรื่องการตั้งค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ เพื่อให้ลูกหนี้แสดงมูลค่าที่คาดว่าจะได้รับหลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้ว พูดง่ายๆ ก็คือ ถ้าเช็คแล้วว่าลูกหนี้ที่มีอยู่ค้างนาน มีโอกาสได้รับชำระเงินริบหรี่ นักบัญชีต้องตั้งบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญไว้ ตามหลักการที่มาตรฐานการบัญชียอมรับ สำหรับมาตรฐานรายงานทางการเงิน TFRS for NPAEs กล่าวไว้ว่า
วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญสามารถทําได้ 3 วิธี ได้แก่
1.วิธีอัตราร้อยละของยอดขายเชื่อสุทธิ
2.วิธีอัตราร้อยละของลูกหนี้ที่ค้างชำระจำแนกตามอายุลูกหนี้
3.วิธีพิจารณาลูกหนี้แต่ละราย
กิจการต้องรับรู้หนี้สงสัยจะสูญเป็นค่าใช้จ่ายในงบกําไรขาดทุน ควบคู่กับการรับรู้ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ ซึ่งเป็นบัญชีปรับมูลค่าบัญชีลูกหนี้ ในงบแสดงฐานะการเงิน
3. ตั้งค่าเผื่อสินค้าลดมูลค่า
สินค้าที่ขายไม่ออก ไม่ว่าจะเกิดจากการขนส่งที่ถูกปิด หน้าร้านที่ถูกปิด หรือพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่องบการเงิน เพราะตามมาตรฐานการบัญชีแล้ว ธุรกิจจะต้องแสดงมูลค่าสินค้าคงเหลือในงบการเงิน ณ ราคาทุนหรือราคาสุทธิที่คาดว่าจะได้รับแล้วแต่อะไรจะต่ำกว่า สินค้าที่ขายไม่ได้ อาจทำให้ราคาขายตก หรือชำรุด เสื่อมสภาพ ฉะนั้นนักบัญชีเองก็จะต้องเปรียบเทียบระหว่าง ราคาทุนของสินค้า ราคาสุทธิที่คาดว่าจะได้รับ มูลค่าที่ลดลงของสินค้าคงเหลือเนื่องจากการปรับมูลค่าให้เท่ากับมูลค่าสุทธิที่จะได้รับต้องบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายโดยแสดงเป็นส่วนหนึ่งของต้นทุนขายในงวดทันที
4. ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
เมื่อธุรกิจต้องปรับตัว อาจจะทำให้แพลนการใช้ประโยชน์สินทรัพย์อย่างพวก เครื่องจักร อุปกรณ์เปลี่ยนไป บางทีอาจหยุดการใช้งาน หรือต้องพิจารณาอายุการให้ประโยชน์ของสินทรัพย์ใหม่อีกครั้ง ซึ่งมีผลต่อการคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยตรง และที่สำคัญเครื่องมือเครื่องไม้ที่มีอยู่อาจด้อยมูลค่า ถ้าไม่สามารถสร้างประโยชน์หรือสร้างกระแสเงินสดในอนาคต นี่เป็นเรื่องสำคัญที่นักบัญชีจะต้องวิเคราะห์และปรับปรุงรายการตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
5. สัญญากู้ยืมเงิน
บางบริษัทอาจมีปัญหาเรื่องของสภาพคล่อง จนไม่สามารถรักษาอัตราส่วนทางการเงินตามที่ธนาคารต้องการได้ เช่น debt to equity ratio มีมากกว่าที่กำหนดไว้ ซึ่งนักบัญชีจะต้องแจ้งเจ้าของกิจการให้ทราบถึงเรื่องนี้ และเจรจากับธนาคารเพื่อขอความช่วยเหลือ ในบางครั้งอาจจะมีการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งก็มีผลต่อการรับรู้รายการหนี้สินและจัดประเภทหนี้สินเช่นกัน
6. สมมติฐานการดำเนินงานต่อเนื่อง
โดยปกติแล้วนักบัญชีจะปิดงบการเงินตามหลักการที่ว่ากิจการจะอยู่ไปอีกหนึ่งปีข้างหน้า กรณีที่เจ้าของธุรกิจขาดทุนหนักๆ และมีขาดทุนสะสม หรือมีหนี้สินล้นพ้นตัว อาจเกิดปัญหาที่ว่างบการเงินตามสมมติฐานว่ากิจการจะมีการดำเนินงานต่อเนื่อง (going concern) อาจใช้ไม่ได้แล้ว เพราะมีความไม่แน่นอนจาก covid-19 ฉะนั้นการประเมินมูลค่าในงบการเงิน ณ วันสิ้นปีอาจจะใช้วิธีการที่เปลี่ยนไป ซึ่งเรื่องนี้ก็เป็นเรื่องที่สำคัญและมีผลกระทบต่องบการเงินทั้งงบเลยล่ะค่ะ
สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!
Source (ต้นฉบับจาก):
https://www.thaicpdathome.com/article/closing-book-what-to-avoid
Copyright by ThaiCpdatHome.com
590
ผู้เข้าชม
บทความที่เกี่ยวข้อง
ทำความรู้จักกับ Landed Cost
ทำความรู้จักกับ Landed Cost
Landed Cost
คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
ความผิดพลาดด้านการเงินที่ SME ต้องเรียนรู้
ความผิดพลาดด้านการเงินที่ SME ต้องเรียนรู้
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องทำยังไง
เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ต้องทำยังไง
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เกี่ยวข้องกับงานบัญชีอย่างไร
โปรแกรม ERP เกี่ยวข้องกับงานบัญชีอย่างไร
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี กับการลงทุนที่คุ้มค่า พร้อมระบบงานบัญชีครบวงจร
โปรแกรมบัญชี กับการลงทุนที่คุ้มค่า พร้อมระบบงานบัญชีครบวงจร
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" ลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง
"ยื่นภาษี 2566" ลดหย่อนภาษี อะไรได้บ้าง
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com