Discloser Form คืออะไร
Discloser Form หรือแบบรายงานประจำปี สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่่วนนิติบุุคคลที่มีความสัมพันธ์กันตาม มาตรา 71 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร เป็นแบบรายงานที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุุคคลที่มีความสัมพันธ์กัน ต้องจัดทำตามแบบที่อธิบดีกำหนดและยื่นพร้อมกับการยื่่นแบบแสดงรายการเพื่่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.) ตามมาตรา 69 แห่่งประมวลรัษฎากร คือ ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งได้กำหนดให้ผู้เสียภาษีกรอกรายการที่่มีระหว่างกัน มูลค่าธุรกรรม ของนิติบุุคคลที่มีความสัมพันธ์กันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่กรมสรรพากรใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินความเสี่่ยง กรณี การกำหนดราคา(Transfer Price) ระหว่างนิติบุคคลที่่มีีความสัมพันธ์กันที่ไม่เป็นไปตาม Arm’s length Price ซึ่งจะมีผลให้นิติบุคคลไม่เสียภาษีหรือเสียภาษีในประเทศไทย น้อยกว่่าที่ควรจะเป็น
ใครมีหน้าที่ยื่น Discloser Form
1. มีรายได้ทั้งหมดตามบัญชี ตั้งแต่200 ล้านบาทขึ้นไป
2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์กันทั้งในประเทศ และต่่างประเทศ ที่เข้ามาหรือไม่เข้ามาประกอบกิจการในประเทศไทย ตามมาตรา 71 ทวิ วรรค 2 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งหมายถึง นิติบุุคคลตั้งแต่ 2 นิติบุคคล ขึ้นไป ที่่มีความสัมพันธ์กันในลักษณะดังต่อไปนี้
1.1 นิติบุุคคลถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรงหรือ โดยอ้อมไม่น้่อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด
1.2 ผู้ถือหุ้นหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในนิติบุคคลหนึ่ง ไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด ถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วนในอีกนิติบุคคลหนึ่งไม่ว่าโดยตรง หรือโดยอ้อม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนทั้งหมด หรือ
1.3 นิติบุคคลที่มีความสัมพันธ์ระหว่่างกันในด้านทุน การจัดการ หรือการควบคุุมในลักษณะที่นิติบุคคลหนึ่งไม่อาจดำเนินการโดยอิสระจากอีกนิติบุคคลหนึ่งตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งในขณะนี้กฎกระทรวงดั่งกล่าว ยังไม่ได้ประกาศออกมา
ช่องทางการยื่น Disclosure Form1.การยื่น Disclosure Form ให้ยื่นผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทางเว็บไซต์ (Website) ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ได้โดยตรงหรือผ่านทางระบบบริการ Single Sign On ทางเว็บไซต์ (Website)
ของกระทรวงการคลัง เนื่องจากเป็นการยื่นออนไลน์ (E-Filing) กรมสรรพากรได้ขยายเวลาการยื่นเพิ่มอีก 8 วัน เป็นภายใน 158 วันนับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี
2.หากมีเหตุจําเป็นที่ทําให้ไม่สามารถยื่น e-Filing ได้ผู้ประกอบการสามารถพิมพ์ Disclosure Form จากระบบเพื่อนําแบบรายงานที่เป็นกระดาษไปยื่น พร้อมกับทําหนังสือแจ้งต่ออธิบดีกรมสรรพากร ถึงเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยื่น e-Filing ได้ โดยยื่น ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
หากไม่ยื่น Disclosure Form จะมีโทษอย่างไรมาตรา 35 ตรีตามประมวลรัษฎากร กําหนดโทษสําหรับนิติบุคคลที่ไม่ยื่นรายงานหรือเอกสาร หรือหลักฐานตามแบบที่อธิบดีกําหนด หรือแสดงข้อมูลไม่ถูกต้องครบถ้วน โดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือไม่ยื่นภายในกําหนดเวลา ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท”
อย่างไรก็ตาม กรมสรรพากร ได้กําหนดอัตราที่ควรเปรียบเทียบปรับไว้สําหรับการยื่นรายงานเกินกําหนดเวลา สําหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลัง วันที่ 1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป ดังนี้
- ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกําหนดเวลา ปรับ 50,000 บาท
- เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกําหนดเวลา ปรับ 100,000 บาท
- เจ้าหน้าที่ตรวจพบ ปรับ 200,000 บาท
ที่มา :
Link