กรมสรรพากรมีอำนาจ ยึดทรัพย์ อายัดบัญชีธนาคาร ได้หรือไม่

กรมสรรพากรมีอำนาจ ยึดทรัพย์ อายัดบัญชีธนาคาร ได้หรือไม่


ตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร หากบุคคลใดมีภาษีอากรค้าง 
กรมสรรพากรสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลยโดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี
 
เมื่อกรมสรรพากรทําการยึดหรืออายัดทรัพย์ จะมีผลทําให้ทรัพย์นั้นไม่สามารถนํามาใช้ได้  และไม่สามารถโอนขายหรือโอนทางทะเบียนต่อไปได้จนกว่าจะชําระภาษีอากรครบถ้วน เช่น

 - กรณีกรมสรรพากรยึดที่ดินแล้ว ที่ดินนั้นก็ไม่สามารถโอนขายต่อไปได้

 - กรณีกรมสรรพากรอายัดบัญชีเงินฝากของธนาคารไว้แล้ว ทําให้บัญชีเลขที่นั้นไม่สามารถเบิกถอนนําไปใช้ได้อีก

หากผู้ค้างภาษีอากรถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตามก็ยังไม่หลุดพ้นหนี้ภาษีอากรที่จะต้องเสียให้แก่กรมสรรพากร ทายาทที่รับมรดกก็จะต้องนํามรดกที่ได้รับมาเสียภาษีอากรให้ครบถ้วนด้วย

ไม่ชำระภาษีอากรมีผลเสียมากกว่าที่คิดนะจ๊ะ

ประมวลรัษฎากรเป็นกฎหมายพิเศษที่ใช้สําหรับจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล  ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์และอีกทั้งมีมาตรการบังคับให้ชําระภาษีได้ในตัวเอง ซึ่งเป็นขั้นตอนพิเศษก่อนจะดําเนินการฟ้องคดีต่อศาล

ความเสียหายจากการไม่เสียภาษีอากรให้แก่กรมสรรพากรนั้น แยกพิจารณาเป็น 3 กรณี

 1. ก่อนถูกกรมสรรพากรฟ้องต่อศาล

เมื่อมีภาษีอากรที่จะต้องเสียให้แก่กรมสรรพากรแล้ว แต่ไม่ยอมเสีย ต่อมาเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรตรวจพบและแจ้งการประเมินให้ทราบแล้ว นอกจากจะต้องเสียดอกเบี้ยให้กับกรมสรรพากรในอัตราสูงร้อยละ 1.5 ต่อเดือนและอาจโดนเบี้ยปรับอีกด้วย โปรดระวังตัวไว้เลยว่า กรมสรรพากรมีอํานาจพิเศษที่จะทําการเร่งรัดตรวจสอบทรัพย์สินต่าง ๆ ทุกชนิดได้ทันที  เพื่อให้ได้ภาษีอากร  โดยยังไม่ต้องนําหนี้ภาษีอากรที่ค้างนั้นฟ้องต่อศาลก็ได้

กรมสรรพากรก็ยังสามารถยึดหรืออายัดทรัพย์และขายทอดตลาดได้เลย  โดยยังไม่ต้องฟ้องต่อศาลก่อนก็ได้  และระยะเวลาที่มีอํานาจทําได้ก็เป็นเวลานานถึง 10 ปี  และหากในระหว่างนี้ทําการยักย้ายทรัพย์สินก็อาจจะมีความผิดอาญาเพิ่มขึ้นไปอีกฐานมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอาจติดคุกได้

เมื่อกรมสรรพากรทําการยึดหรืออายัดทรัพย์ จะมีผลทําให้ทรัพย์นั้นไม่สามารถนํามาใช้ได้  และไม่สามารถโอนขายหรือโอนทางทะเบียนต่อไปได้จนกว่าจะชําระภาษีอากรครบถ้วน เช่น

  • กรณีกรมสรรพากรยึดที่ดินแล้ว ที่ดินนั้นก็ไม่สามารถโอนขายต่อไปได้
  • กรณีกรมสรรพากรอายัดเงินฝากของธนาคารไว้แล้ว ทําให้บัญชีเลขที่นั้นไม่สามารถเบิกถอนนําไปใช้ได้อีก

2. กรมสรรพากรนําคดีมาฟ้องต่อศาล

เป็นกรณีที่ผู้ค้างภาษีอากรยังดื้อดึงที่ไม่ยอมชําระหนี้ภาษีอากรค้างต่อกรมสรรพากร กรมสรรพากรก็ชอบที่จะดําเนินคดีทางศาลทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อไปได้ เช่น

 - ฟ้องที่ศาลภาษีอากรกลาง

  • เป็นกรณีกรมสรรพากรเลือกฟ้องเพราะไม่สามารถเร่งรัดเรียกหนี้ภาษีอากรค้างได้แล้ว
  • ศาลนี้มีที่เดียวคือที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น ต่างจังหวัดไม่มีทําให้ลูกหนี้ที่ค้างภาษีอากรอยู่ที่ต่างจังหวัดต้องเดินทางเข้ามาสู้คดีในกรุงเทพมหานคร ทําให้เกิดความเสียหายคือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไปอีกนอกจากจะเสียค่าจ้างทนายความแล้ว

 - ฟ้องที่ศาลล้มละลายกลาง

  • เป็นกรณีหนี้เข้าหลักเกณฑ์ฟ้องได้ทําให้ลูกหนี้อาจเสียสิทธิและเสรีภาพเพิ่มขึ้น
  • ศาลนี้มีที่เดียวคือที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น ต่างจังหวัดไม่มีทําให้ลูกหนี้ที่ค้างภาษีอากรอยู่ที่ต่างจังหวัดต้องเดินทางเข้ามาสู้คดีในกรุงเทพมหานคร ทําให้เกิดความเสียหายคือมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นไปอีกนอกจากจะเสียค่าจ้างทนายความแล้ว
  • หากต่อมาศาลล้มละลายกลางมีคําสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว แม้จะยังไม่พิพากษาให้ล้มละลายก็ตาม ก็มีผลเสียต่อสิทธิและเสรีภาพของลูกหนี้คือไม่สามารถออกนอกราชอาณาจักรได้ตามปกติจะต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เสียก่อน

 - ฟ้องที่ศาลเดียวกับลูกหนี้ถูกฟ้องเกี่ยวกับทรัพย์ที่ขายทอดตลาด

  • กรมสรรพากรสามารถที่จะเข้าไปของเฉลี่ยหนี้ได้ไม่ว่าจะเป็นศาลแพ่ง ศาลแพ่งพระนครเหนือ ศาลแพ่งธน ศาลจังหวัด ศาลแรงงานกลาง ก็ได้

 - ฟ้องที่ศาลอาญา

  • เป็นกรณีที่กระทําความผิดทางอาญาฐานปลอมใบกํากับภาษีเช็คเด้ง หรือมีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีอากร

3. หลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้ว

เมื่อศาลภาษีอากรกลางมีคําพิพากษาให้กรมสรรพากรชนะคดีแล้ว กรมสรรพากรก็สามารถดําเนินการบังคับคดีได้ตามกฎหมายได้อีกเป็นระยะเวลา 10 ปี และหากในระหว่างนั้นยังไม่ได้รับชําระภาษีอากรครบถ้วนและยังเข้าหลักเกณฑ์ที่จะฟ้องล้มละลายได้กรมสรรพากรก็ยังสามารถนําหนี้ภาษีอากรนั้นมาฟ้องยังศาลล้มละลายกลางได้อีกครั้งหนึ่ง หากผู้ค้างภาษีอากรถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตามก็ยังไม่หลุดพ้นหนี้ภาษีอากรที่จะต้องเสียให้แก่กรมสรรพากร ทายาทที่รับมรดกก็จะต้องนํามรดกที่ได้รับมาเสียภาษีอากรให้ครบถ้วนด้วย ท้ายที่สุดก็ไม่สามารถที่จะหลบหนีจากการไม่เสียภาษีอากรให้แก่กรมสรรพากรไปได้  จึงขอให้ทุกท่าน เสียภาษีอากรให้ครบถ้วนเสียแต่เนิ่นๆ 



ที่มา : Link

 906
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์