มาทำความรู้จักกับ e-Withholding TAX

มาทำความรู้จักกับ e-Withholding TAX


สำหรับบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการวิชาชีพบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากร เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าจะต้องมีความเกี่ยวข้องกับกรมสรรพากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่กรมสรรพากรได้มีการพัฒนาระบบภาษีเปลี่ยนแปลงการทำงานสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) โดยให้ผู้เสียภาษีเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้การจัดการภาษีเป็นเรื่องง่าย โดยมีการนำระบบ e-Services มาใช้กับภาษีหลาย ๆ ประเภท เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการสามารถยื่นแบบและชำระภาษีออนไลน์ ดังนี้

ภาษีเงินได้เงินได้บุคคลธรรมดา อำนวยความสะดวกให้ผู้เสียภาษีด้วยระบบต่าง ๆ เช่น

  • ระบบ My Tax Account ในการคิดค้นข้อมูลค่าลดหย่อนและสิทธิประโยชน์
  • ระบบ e-Donation อำนวยความสะดวกให้ผู้บริจาคให้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้โดยไม่ต้องนำหลักฐานการบริจาคมาแสดงต่อกรมสรรพากร

ภาษีเงินได้เงินได้นิติบุคคล อำนวยความสะดวกให้ผู้เสียภาษีด้วยระบบต่าง ๆ เช่น

  • ระบบขออนุมัติใช้เงินตราสกุลอื่นนอกจากเงินตราไทยเป็นสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงาน (Functional Currency : FC)
  • ระบบการแจ้งสิทธิการใช้งานผู้สูงอายุ

ภาษีมูลค่าเพิ่ม อำนวยความสะดวกให้ผู้เสียภาษีด้วยระบบต่าง ๆ เช่น

  • ระบบบริการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มทางอินเทอร์เน็ต
  • ระบบ e-Tax Invoice & Receipt
  • e-Tax Invoice by email

ภาษีธุรกิจเฉพาะ อำนวยความสะดวกให้ผู้เสียภาษีด้วยระบบต่าง ๆ เช่น

  • ระบบบริการจดทะเบียน
  • ระบบยื่นคำขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีรวมกัน (ภ.พ.02)

การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยว อำนวยความสะดวกให้ผู้เสียภาษีด้วยระบบต่าง ๆ เช่น

  • ระบบการลงทะเบียนเป็นผู้ประกอบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนักท่องเที่ยว
  • ระบบค้นหาข้อมูลผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยว
  • ระบบนำทางร้านค้า


กรมสรรพากรได้เปิดตัว “นวัตกรรมระบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายอิเล็กทรอนิกส์ (e-Withholding Tax)” ผมจึงถือโอกาสนี้ แนะนำให้ท่านสมาชิกได้รู้จักกับ e-Withholding Tax กันเลยนะครับ e-Withholding Tax (e-WHT) หรือภาษีหัก ณ ที่จ่ายเป็นวิธีการใหม่ที่กรมสรรพากรพัฒนาขึ้นเพื่อเพิ่มความสะดวกลดขั้นตอนให้แก่ผู้ที่มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่ายทำการนำส่งเงินภาษีต่อกรมสรรพากร โดยมีธนาคารเป็นตัวกลางในการนำส่งข้อมูลและส่งเงินภาษีให้กับกรมสรรพากร โดยที่ผู้ประกอบการไม่ต้องจัดทำหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนั้น ประโยชน์ที่เราจะเห็นได้ชัดเจนเลยก็คือ




แล้วใครบ้างที่จะได้ประโยชน์?

            กลุ่มผู้ใช้งานระบบ หมายถึงบุคคลภายนอก โดยประกอบด้วยบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

  • กรณีภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เมื่อมีการจ่ายเงินได้ให้แก่ผู้รับเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ
    (ตามมาตรา 52 มาตรา 70 และมาตรา 70 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร)
  • กรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีการชำระค่าสินค้าหรือบริการให้แก่ผู้ประกอบการในต่างประเทศ
    (ตามมาตรา 83/5 และมาตรา 83/6 แห่งประมวลรัษฎากร)
วิธีการสมัครก็ไม่ยุ่งยากครับ เราสามารถสมัครใช้บริการได้ที่ธนาคารได้เลย แล้วเราจะสามารถสมัครใช้บริการกับธนาคารใดได้บ้าง?? มาดูกันนะครับ


ที่มา : กรมสรรพากร ข้อมูล ณ 1 พ.ย. 63

            ทั้งนี้ อาจมีค่าธรรมเนียมในการทำรายการดังกล่าว เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนในการจัดทำเอกสารและการส่งเอกสารแล้วผมคิดว่ายังเป็นประเด็นให้เราต้องศึกษาถึงความคุ้มค่านะครับ แต่ในอนาคตภายใต้การแข่งขันของธุรกิจ ธนาคาร ผมก็คิดว่าค่าธรรมเนียมนี้อาจจะลดลง หรือไม่มีเลยก็ได้ สำหรับรายละเอียดและวิธีการในการสมัคร กรมสรรพากรได้อำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการโดยได้จัดทำคู่มือและเอกสาร (คู่มือสำหรับผู้ใช้งานภายนอก) เผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th ในหัวข้อ e-Services (ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย) ลองไปศึกษาวิธีการกันดูนะครับ
            สุดท้ายนี้ ผมขอฝากข้อคิดเล็ก ๆ ให้กับท่านสมาชิก เพื่อประกอบการตัดสินใจในการใช้ระบบ e-Withholding Tax ว่าครั้งหนึ่ง เราก็เคยไม่มั่นใจในการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านมือถือ แต่ในปัจจุบันเราไม่ต้องไปธนาคาร อยากจะเช็คยอด ดูความเคลื่อนไหวของบัญชี โอนเงิน รู้ยอดเงินที่โอนเข้ามา เติมเงินมือถือ จ่ายค่าบริการต่าง ๆ หรือแม้แต่ช้อปปิ้งออนไลน์ รวมไปถึงขอ Statement ย้อนหลัง เราก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เรายังสามารถถอนเงินผ่านตู้ ATM โดยไม่ต้องใช้บัตร เราโทรหากันผ่านไลน์ โดยไม่ต้องเข้าแถวเพื่อรอตู้โทรศัพท์สาธารณะเหมือนแต่ก่อน เป็นเพราะเราต่างยอมรับในเทคโนโลยีและปรับตัวไปกับมัน ดังนั้น ผมถือว่าเป็นโอกาสอันดีที่หน่วยงานภาครัฐ อย่างเช่นกรมสรรพากร ที่ได้ Design Thinking โดยเน้น Customer หรือ ผู้ประกอบการเป็นหลัก เพียงแค่เราเปิดใจ e-Withholding Tax ก็จะช่วยให้นักบัญชีอย่างเรา ๆ มีเวลาไปทำอย่างอื่นมากขึ้นนะครับ


สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!



บทความ  โดย นายอนันต์ สิริแสงทักษิณ ประธานคณะกรรมการวิชาชีพบัญชี ด้านการบัญชีภาษีอากรและอุปนายกคนที่สอง

 769
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์