คนเดียวแต่หลายอาชีพ "เสียภาษีอย่างไร"

คนเดียวแต่หลายอาชีพ "เสียภาษีอย่างไร"


ก่อนที่จะนำรายได้ต่างๆ มาคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อนอื่นต้องดูก่อนว่ารายได้เป็นรายได้ประเภทไหน สามารถหักค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีได้เท่าไหร่ มีค่าลดหย่อนอะไรบ้าง

อันดับแรกมาดูที่ ประเภทเงินได้ก่อน

  • 1.เงินเดือน มาตรา 40 (1) การหักค่าใช้จ่าย หักเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • 2.รับจ้างทั่วไป รับงานอิสระ มาตรา 40 (2) การหักค่าใช้จ่าย หักเหมา  50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท
  • 3.ขายสินค้า มาตรา 40 (8) การหักค่าใช้จ่าย หักเหมา 60% หรือหักตามจริง (ต้องมีเอกสารหลักฐาน)
นอกจากนี้ในส่วนของรายได้ที่เข้าร่วมโครงการรัฐ เช่น เราชนะ คนละครึ่ง ม.33 เรารักกัน เป็นรายได้ที่ต้องนำมายื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ
  • 1.เงินที่ได้จากลูกค้าผ่านโครงการรัฐ
  • 2.เงินสนับสนุนที่ได้จากรัฐ
  • 3.เงินที่ได้มาจากยอดขายอื่นๆ

ต่อมาเป็น เกณฑ์การเสียภาษี

  • คนโสด รายได้เกิน 60,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษี
  • มีคู่สมรสรายได้รวมกัน 120,000 บาทต่อปี ต้องเสียภาษี

วิธีการคำนวณ

  • วิธีปกติ = รายได้สุทธิ (รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน) x อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • หากมีรายได้มากกว่า 120,000 บาทต่อปี  (ไม่รวมเงินเดือน) ใช้สูตรคำนวณ = รายได้สุทธิ x 0.5% แล้วเปรียบเทียบกับวิธีคำนวณตามปกติ หากวิธีนี้มีภาษีเกิน 5,000 บาทให้เสียภาษีตามวิธีที่สูงกว่า (หากไม่เกิน 5,000 บาทให้เสียภาษีตามวิธีการคำนวณปกติ)
กำหนดเวลายื่นแบบ
  • ภาษีครึ่งปี ภ.ง.ด.94 กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ก.ค.-3. ก.ย. ของปีนั้นๆ โดยนำเงินได้ที่ไม่ใช้เงินได้
  • มาตรา 40 (1) (2) ตั้งแต่เดือน ม.ค.-มิ.ย. ของปีนั้นมารวมคำนวณภาษี
  • ภาษีประจำปี ภ.ง.ด.90 กำหนดยื่นตั้งแต่ 1 ม.ค.-31 มี.ค. ของปีถัดไปโดยนำเงินได้ทุกประเภท ตั้งแต่เดือน ม.ค.-ธ.ค. ของปีนั้น มารวมคำนวณภาษีและนำภาษีที่ชำระตาม ภ.ง.ด.94 มาเครดิตภาษีได้
อย่างไรก็ตาม ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการต่างๆ หรือผู้ที่มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการเกินปีละ 1.8 ล้านบาทต้องยื่นขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้ถึงเกณฑ์กับทางกรมสรรพากร โดยผู้ที่ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) เมื่อขายสินค้า/บริการ จะต้องออกใบกำกับภาษีและเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% จากลูกค้าเพื่อนำส่งสรรพากร และต้องจัดทำรายงานภาษีขาย รายงานภาษีซื้อ และยื่นแบบ ภ.พ.30 ทุกเดือน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!



CR. : https://www.pptvhd36.com/
 6442
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์