ค่ารับรองลงเป็นรายจ่ายกิจการได้อย่างไร

ค่ารับรองลงเป็นรายจ่ายกิจการได้อย่างไร


ค่ารับรองที่เกิดขึ้นในกิจการไม่สามารถนำมาเป็นรายจ่ายในบริษัทได้ หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นมาดูกันว่าทำอย่างไรให้นำค่ารับรองมาบันทึกเป็นรายจ่ายได้

ค่ารับรองแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้

1. ค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรองหรือการบริการ เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ เป็นต้น

2. ค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือการบริการ

ค่ารับรองสามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายได้เมื่อเข้าเงื่อนไขทุกข้อต่อไปนี้

กรณีค่าใช้จ่าย

1. ต้องเป็นค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรองหรือการบริการ เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ

2. ต้องเป็นการรับรองตามธรรมเนียม ประเพณีธุรกิจทั่วไป

3. ผู้ที่ได้รับการรับรองหรือรับบริการต้องไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เว้นแต่ลูกจ้างมีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองหรือการบริการนั้นด้วย

4. ต้องมีกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการหรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติหรือสั่งจ่ายค่ารับรองหรือค่าบริการนั้น

5. ต้องมีใบรับหรือหลักฐานของผู้รับเงิน

กรณีค่าสิ่งของ

1. มูลค่าของสิ่งของที่ให้ต้องไม่เกิน 2,000 บาทต่อคน

2. ต้องเป็นการรับรองตามธรรมเนียม ประเพณีธุรกิจทั่วไป

3. ผู้ที่ได้รับของขวัญต้องไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

4. ต้องมีกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการหรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติหรือสั่งจ่ายค่าสิ่งของ

5. ต้องมีใบรับหรือหลักฐานของผู้รับเงิน

เมื่อพิจารณาตามเกณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว จำนวนเงินรวมที่สามารถนำมาเป็นรายจ่ายได้รวมกันต้อง

  • ไม่เกิน 0.3% ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมหรือคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชี หรือ

  • ไม่เกิน 0.3% ของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า และสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท

ค่าเลี้ยงรับรองลูกค้าเป็นส่วนที่สำคัญในการประกอบธุรกิจเช่นกัน ดังนั้นผู้ประกอบการควรเข้าใจในเงื่อนไขของค่ารับรองหรือค่าบริการ เพื่อช่วยให้สามารถนำมารวมเป็นรายจ่ายและไม่เสียประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี

อ้างอิง: กรมสรรพากร

 718
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์