ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง
ลักษณะของค่าแรงงาน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
สำหรับขั้นตอนเกี่ยวกับค่าแรงงานนั้น จะแยกอธิบายเป็น 2 แผนก คือ
แผนกบุคคล (Personal Department) มีหน้าที่เก็บเวลาการทำงาน กำหนดอัตราค่าจ้างของพนักงาน นอกจากนี้แผนกบุคคลยังมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของพนักงาน รวบรวมเวลาทำงานของพนักงานในแต่ละวัน เช่น
- ใช้เครื่องบันทึกเวลา หรือนาฬิกาบันทึกเวลา โดยจัดวางไว้ตรงทางเข้าของพนักงาน และให้พนักงานนำบัตรลงเวลาประจำตัวสอดเข้าไปในเครื่องเพื่อบันทึกเวลาการทำงานก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติงาน
- ใช้สมุดลงเวลา เหมาะสำหรับกิจการที่จ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือนประจำ
- ใช้ทั้งเครื่องบันทึกเวลา และสมุดลงเวลา เช่น เมื่อพนักงานเข้ามาถึงทางเข้าของบริษัท ก็จะสอดบัตรลงเวลาประจำตัวที่เรียงไว้ตามชั้นใกล้ๆเครื่องบันทึกเวลาโดยมีชื่อพนักงานและรหัสประจำตัวติดอยู่ตามชั้นวางเข้าไปในเครื่องเพื่อบันทึกเวลาการทำงาน เมื่อพนักงานเข้าไปในแผนกทำงานของตน จะลงเวลาที่สมุดลงเวลาอีกครั้งหนึ่ง
เมื่อแผนกบุคคลรวบรวมเวลาการทำงานของพนักงานแต่ละคนเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำส่งรายงานการปฏิบัติงานให้แก่แผนกบัญชีต่อไป
แผนกบัญชี (Accounting Department) มีหน้าที่ในการคำนวณ จำแนก และบันทึก
บัญชีค่าแรงงาน โดยนำข้อมูลจากแผนกบุคคลมาบันทึกรายการบัญชี และจัดทำรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้
ฝ่ายบัญชีเงินเดือนและค่าแรง
เมื่อได้รับรายงานการปฏิบัติงานจากแผนกบุคคลแล้วจะคำนวณค่าจ้าง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เงินประกันสังคม รายการอื่นๆ รวมทั้งบันทึกรายการและจำนวนเงินต่างๆ ลงในสมุดเงินเดือนและค่าแรงแล้วผ่านรายการจากสมุดเงินเดือนและค่าแรงไปยังบัญชีเงินได้ของพนักงานแต่ละคน นอกจากนี้ยังส่งสมุดเงินเดือนและค่าแรงให้แก่ฝ่ายบัญชีเจ้าหนี้ด้วย
ฝ่ายบัญชีเจ้าหนี้
เมื่อได้รับสมุดเงินเดือนและค่าแรงจากฝ่ายบัญชีเงินเดือนและค่าแรงแล้ว จะทำใบสำคัญจ่ายขึ้น 2 ฉบับ คือ
ใบที่ 1 นำส่งให้ฝ่ายการเงินพร้อมสมุดเงินเดือนและค่าแรงเพื่อรอจ่ายเงิน
ใบที่ 2 สำหรับเก็บเข้าแฟ้มไว้ที่แผนกของตน
ฝ่ายบัญชีต้นทุน
เมื่อได้รับรายงานจากแผนกบุคคลก็จะทำการแยกค่าแรงแต่ละประเภทของกระบวนการผลิตเพื่อคำนวณต้นทุนการผลิต
สำหรับการคำนวณค่าแรง จะแยกการคำนวณเป็น 2 ขั้นตอน คือ
- ค่าแรงงานขั้นต้น (Gross payrolls)
เมื่อพนักงานบัญชีรวบรวมค่าแรงงานของพนักงานจากบัตรลงเวลาทำงานก็จะทำการคำนวณ
ค่าแรงงานต่างๆ ซึ่งพิจารณาจากชั่วโมงการทำงาน หรือตามชิ้นงาน การคำนวณค่าแรงงานดังกล่าวจะประกอบด้วยค่าแรงงานปกติ และค่าแรงงานล่วงเวลา
ค่าแรงงานปกติ มีสูตรในการคำนวณ ดังนี้
- คำนวณค่าแรงตามชั่วโมงการทำงาน
ค่าแรงงานปกติ = จำนวนชั่วโมงการทำงาน X อัตราค่าแรงงานรายชั่วโมง
- คำนวณค่าแรงตามชิ้นงาน
ค่าแรงงานปกติ = จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ X อัตราค่าแรงงานตามชิ้นงาน
ที่มา : www.onlinesoft.co.th