การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง

การบัญชีเกี่ยวกับค่าแรง



 
  ค่าแรงงาน หมายถึง ค่าจ้าง (Wages) และเงินเดือน (Salaries) ที่กิจการจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ในการจ่ายค่าจ้างอาจจ่ายเป็นรายชั่วโมง (Hourly) รายวัน (Daily) หรือตามหน่วยที่ผลิตได้ (Piecework) ส่วนเงินเดือนมักจะจ่ายเดือนละครั้ง

ลักษณะของค่าแรงงาน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. ค่าแรงงานทางตรง
  2. ค่าแรงงานทางอ้อม

สำหรับขั้นตอนเกี่ยวกับค่าแรงงานนั้น จะแยกอธิบายเป็น 2 แผนก คือ

แผนกบุคคล (Personal Department) มีหน้าที่เก็บเวลาการทำงาน กำหนดอัตราค่าจ้างของพนักงาน นอกจากนี้แผนกบุคคลยังมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของพนักงาน รวบรวมเวลาทำงานของพนักงานในแต่ละวัน เช่น

- ใช้เครื่องบันทึกเวลา หรือนาฬิกาบันทึกเวลา โดยจัดวางไว้ตรงทางเข้าของพนักงาน และให้พนักงานนำบัตรลงเวลาประจำตัวสอดเข้าไปในเครื่องเพื่อบันทึกเวลาการทำงานก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติงาน

- ใช้สมุดลงเวลา เหมาะสำหรับกิจการที่จ่ายค่าจ้างเป็นเงินเดือนประจำ

- ใช้ทั้งเครื่องบันทึกเวลา และสมุดลงเวลา เช่น เมื่อพนักงานเข้ามาถึงทางเข้าของบริษัท ก็จะสอดบัตรลงเวลาประจำตัวที่เรียงไว้ตามชั้นใกล้ๆเครื่องบันทึกเวลาโดยมีชื่อพนักงานและรหัสประจำตัวติดอยู่ตามชั้นวางเข้าไปในเครื่องเพื่อบันทึกเวลาการทำงาน เมื่อพนักงานเข้าไปในแผนกทำงานของตน จะลงเวลาที่สมุดลงเวลาอีกครั้งหนึ่ง

เมื่อแผนกบุคคลรวบรวมเวลาการทำงานของพนักงานแต่ละคนเรียบร้อยแล้ว ก็จะนำส่งรายงานการปฏิบัติงานให้แก่แผนกบัญชีต่อไป

แผนกบัญชี (Accounting Department) มีหน้าที่ในการคำนวณ จำแนก และบันทึก

บัญชีค่าแรงงาน โดยนำข้อมูลจากแผนกบุคคลมาบันทึกรายการบัญชี และจัดทำรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ฝ่าย ดังนี้

ฝ่ายบัญชีเงินเดือนและค่าแรง

เมื่อได้รับรายงานการปฏิบัติงานจากแผนกบุคคลแล้วจะคำนวณค่าจ้าง ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เงินประกันสังคม รายการอื่นๆ รวมทั้งบันทึกรายการและจำนวนเงินต่างๆ ลงในสมุดเงินเดือนและค่าแรงแล้วผ่านรายการจากสมุดเงินเดือนและค่าแรงไปยังบัญชีเงินได้ของพนักงานแต่ละคน นอกจากนี้ยังส่งสมุดเงินเดือนและค่าแรงให้แก่ฝ่ายบัญชีเจ้าหนี้ด้วย

ฝ่ายบัญชีเจ้าหนี้

เมื่อได้รับสมุดเงินเดือนและค่าแรงจากฝ่ายบัญชีเงินเดือนและค่าแรงแล้ว จะทำใบสำคัญจ่ายขึ้น 2 ฉบับ คือ

ใบที่ 1 นำส่งให้ฝ่ายการเงินพร้อมสมุดเงินเดือนและค่าแรงเพื่อรอจ่ายเงิน

ใบที่ 2 สำหรับเก็บเข้าแฟ้มไว้ที่แผนกของตน

ฝ่ายบัญชีต้นทุน

เมื่อได้รับรายงานจากแผนกบุคคลก็จะทำการแยกค่าแรงแต่ละประเภทของกระบวนการผลิตเพื่อคำนวณต้นทุนการผลิต

สำหรับการคำนวณค่าแรง จะแยกการคำนวณเป็น 2 ขั้นตอน คือ

- ค่าแรงงานขั้นต้น (Gross payrolls)

เมื่อพนักงานบัญชีรวบรวมค่าแรงงานของพนักงานจากบัตรลงเวลาทำงานก็จะทำการคำนวณ

ค่าแรงงานต่างๆ ซึ่งพิจารณาจากชั่วโมงการทำงาน หรือตามชิ้นงาน การคำนวณค่าแรงงานดังกล่าวจะประกอบด้วยค่าแรงงานปกติ และค่าแรงงานล่วงเวลา

ค่าแรงงานปกติ มีสูตรในการคำนวณ ดังนี้

- คำนวณค่าแรงตามชั่วโมงการทำงาน

ค่าแรงงานปกติ = จำนวนชั่วโมงการทำงาน X อัตราค่าแรงงานรายชั่วโมง

- คำนวณค่าแรงตามชิ้นงาน

ค่าแรงงานปกติ = จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ X อัตราค่าแรงงานตามชิ้นงาน


ที่มา : www.onlinesoft.co.th

 10110
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์