e Invoice และ e Tax invoice คืออะไรต่างกันอย่างไร

e Invoice และ e Tax invoice คืออะไรต่างกันอย่างไร



e Invoice และ e Tax invoice ถือว่าเป็นสองคำที่หลาย ๆ คนคุ้นหู วันนี้เราจะมาเจาะข้อสงสัยว่าสองคำนี้คืออะไร มีความหมายว่าอย่างไร และใช้ในสถานการณ์ใดบ้าง 

E Invoice

E Invoice หรือใบแจ้งหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ เป็นใบที่ออกโดยเจ้าของเอกสารกับแก่ผู้ซื้อ เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้รับสินค้าและบริการ โดยเอกสารจะสมบรูณ์เมื่อมีลายเซ็นของผู้ขายและผู้ซื้อ

โดยข้อมูลหลัก ๆ จะประกอบไปด้วยสองส่วนได้แก่

ข้อมูลของผู้ออกใบแจ้งหนี้

ประกอบไปด้วย วันที่ออกเอกสาร/เลขที่ใบแจ้งหนี้/ชื่อ-นามสกุล /ที่อยู่บริษัทหรือห้างร้าน/เลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ออกใบแจ้งหนี้ รวมไปถึงลายเซ็นของผู้ออกใบแจ้งหนี้

ข้อมูลของลูกค้า

ประกอบไปด้วย ชื่อ-นามสกุล /ที่อยู่ของบริษัทหรือห้างร้าน/ รายละเอียดของสินค้าและบริการ/สรุปยอดของค่าใช้จ่ายทั้งหมด/ วันที่กำหนดสำหรับการชำระเงินสำหรับสินค้าและบริการ

e Tax invoice

e Tax invoice หรือใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ อ้างอิงจากกรมสรรพากรหมายถึง  เอกสารหลักฐานสำคัญ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องจัดทำ และออกใบกำกับภาษีให้กับผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการทุกครั้งที่มีการขายสินค้า หรือให้บริการ เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน เรียกเก็บหรือพึงเรียกเก็บจากผู้ซื้อ (Vat)

ใบกำกับภาษีมีทั้งหมดกี่แบบ

ใบกำกับภาษีแบบเต็มคือ ใบภาษีที่มีการแยกราคาสินค้าและบริการให้ชัดเจน 

ใบกำกับภาษีแบบย่อคือ ใบภาษีที่มีการรวมภาษีมูลค่าเพิ่มเข้าไปแล้ว 

ธุรกิจหรือบริการไหนบ้างที่ต้องมีการออกใบกำกับภาษี

  • ผู้ประกอบการธุรกิจหรือสินค้าที่มีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี
  • ผู้ค้าขายสินค้าหรือบริการที่มีอยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

ข้อมูลที่ต้องมีอยู่ในใบกำกับภาษี

สำหรับใบกำกับภาษีแบบเต็มนั้นจะประกอบไปด้วยข้อความดังต่อไป

  • เห็นคำว่า “ใบกำกับภาษี”.อย่างชัดเจน
  • ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ประกอบการที่ออกใบกำกับภาษี
  • ชื่อ ที่อยู่ ของผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ
  • รายละเอียดของสินค้า ได้แก่ ชนิด ประเภท ปริมาณและราคา 
  • จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากราคาสินค้าและบริการ ให้แยกออกจากสินค้าหรือบริการให้ชัดเจน
  • วัน เดือน ปีที่ออกใบกำกับภาษี

 

อ้างอิงจาก itax.in.th

 681
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์