• หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้ เรื่องที่มักเข้าใจผิด

ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้ เรื่องที่มักเข้าใจผิด

  • หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้ เรื่องที่มักเข้าใจผิด

ภาษีซื้อต้องห้ามที่ถือเป็นรายจ่ายได้ เรื่องที่มักเข้าใจผิด


ภาษีซื้อต้องห้าม กฎหมายห้ามไม่ให้นำมาหักออกจากภาษีขายหรือขอคืนภาษีซื้อสำหรับการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รู้หรือไม่ว่า ภาษีซื้อต้องห้ามบางประเภทนั้น สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีของภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ก่อนอื่นต้องขอทบทวนความรู้กันนิดนึงก่อนว่า ภาษีธุรกิจที่เราจะคุยกันนั้นแยกเป็นสองเรื่อง ได้แก่


- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax หรือ VAT) เป็นภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นผลิต การจำหน่ายหรือการให้บริการ โดยทุกเดือนจะต้องยื่นแบบภาษี โดยคำนวณจาก ภาษีขาย – ภาษีซื้อ
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล (Corporate Income Tax หรือ CIT) คือ ภาษีที่มีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเป็นผู้เสียภาษี จากกำไรสุทธิทางภาษี คุณด้วย อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล สูงสุดอยู่ที่ 20%

และสำหรับภาษีซื้อต้องห้าม ที่สามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิทางภาษีที่เรามักจะเจอบ่อยในชีวิตประจำวัน ได้แก่

1. ภาษีซื้อสำหรับค่ารับรอง เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหารค่าเครื่องดื่ม ค่ามหรสพ ค่าใช้จ่ายเพื่อการกีฬา และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ทํานองเดียวกัน รวมทั้งค่าสิ่งของ หรือประโยชน์อื่นใดที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการหรือที่ให้บุคคลอื่น

2. ภาษีซื้อที่เกี่ยวกับรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน เช่น ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อ เช่าซื้อ เช่า หรือรับโอนรถยนต์นั่งและรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน และภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือการรับบริการที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่ง และรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตร - บังคับเฉพาะรถยนต์นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง

3. ภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีอย่างย่อ เช่น ซื้ออาหารสำหรับพนักงานจาก 7-11 และได้ใบกำกับภาษีอย่างย่อมา

4. ภาษีซื้อที่เกิดจากรายจ่ายของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น กิจการยังไม่ได้จด Vat เพราะยังไม่เข้าเงื่อนไข แต่ได้ไปซื้อคอมพิวเตอร์มาจากร้านค้าที่จด Vat

5. ภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์อื่นเพื่อนํามาใช้ในกิจการของตนเอง ซึ่งเป็นกิจการประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มต่อมาผู้ประกอบการได้ขายหรือให้เช่าอาคาร หรืออสังหาริมทรัพย์นั้น หรือนําไปใช้ในกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 3 ปีนับแต่เดือนภาษีที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์

6. ภาษีซื้อตามใบกํากับภาษีแบบเต็มรูปที่มีข้อบกพร่อง ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร เช่น
- มีรายการในใบกํากับภาษีไม่ได้พิมพ์ หรือไม่ได้จัดทําขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ในกรณีจัดทําใบกําากับภาษีด้วยคอมพิวเตอร์ทั้งฉบับ
- มีข้อความอื่นที่อธิบดีกําหนดในใบกํากับภาษีที่ไม่ได้จัดทําขึ้นด้วยวิธีการตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร
- มีรายการในใบกํากับภาษีเป็นสําเนา (Copy) แต่ไม่รวมถึงใบกําากับภาษีที่จัดทํารวมกับเอกสารทางการค้าอื่นซึ่งมีจํานวนหลายฉบับ และใบกํากับภาษีมีรายการในใบกํากับภาษีเป็นสําเนามีข้อความว่า “เอกสารออกเป็นชุด” ปรากฏอยู่ด้วย     

7. ภาษีซื้อส่วนที่เฉลี่ยเป็นของกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งได้คํานวณตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากร– การเฉลี่ยภาษีซื้อ ใน กิจการ ที่มีรายการขาย / บริการ ทั้งที่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม และ ที่ไม่มีภาษีมูลค่าเพิ่ม

8. ภาษีซื้อที่เกิดจากการซื้อสินค้าหรือรับบริการ ซึ่งผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มนําไปใช้หรือจะใช้ในการประกอบกิจการทั้งประเภทที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษี มูลค่าเพิ่มใช้สิทธิเลือก  ไม่นําภาษีซื้อ ทั้งหมดไปหักในการคํานวณภาษีมูลค่าเพิ่ม  เนื่องจากกิจการประเภทที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ90 ของรายได้ของกิจการทั้งหมด 

หากมีภาษีซื้อเกิดขึ้น อย่าลืมพิจารณาก่อนว่าเป็นภาษีซื้อต้องห้ามสำหรับภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) หรือไม่ หากใช่ ให้พิจารณาต่อว่า ภาษีซื้อนั้น สามารถนำมารวมเป็นค่าใช้จ่ายในการกำไรสุทธิสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคลตามที่เราอธิบายในบทความนี้หรือไม่ ภาษีซื้อต้องห้ามบางอย่างสามารถนำมาเป็นค่าใช้จ่ายทางภาษีสำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคล ถ้าไม่ทำความเข้าใจดีๆ อาจจะเสียสิทธิประโยชน์ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล


ที่มา : thaicpdathome.com
 594
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์