เทคนิคแก้ปัญหา Stock Diff

เทคนิคแก้ปัญหา Stock Diff



การที่สินค้าคงคลังจริง กับสินค้าคงคลังที่บันทึกในระบบมีจำนวนไม่ตรงกัน หรือที่เรียกว่า “สต็อกดิฟ” (Stock Diff) นั้น เป็นปัญหาอันดับต้นๆ สำหรับคนทำธุรกิจ ซึ่งนอกจากของที่มีจะไม่ตรงกับความเป็นจริงแล้ว เงินยังจมจากการต้องสั่งเพิ่มเพราะไม่รู้จำนวนที่แท้จริง หรือต้องเสียโอกาสในการขายเพราะคิดว่าสต็อกน้อยเกินไป เรื่องนี้ถือเป็นภัยร้ายที่แฝงตัวคอยทำลายธุรกิจ ซึ่งต้องรีบจัดการให้อยู่หมัด ด้วย 7 สุดยอดเทคนิค ต่อไปนี้  

1.กำหนดขั้นตอนการทำงานให้ชัดเจน

เพื่อให้พนักงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีมาตรฐานเดียวกัน และนับสต็อกไม่ตกหล่น ควรกำหนดกระบวนการทำงานให้ชัดเจนว่า มีขั้นตอนอะไร อย่างไรบ้าง และใช้คำศัพท์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ ไม่ซับซ้อน ใครมาอ่านก็สามารถทำตามได้

2.สร้างความเข้าใจให้พนักงาน

สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ การอบรมพนักงานให้เข้าใจถึงขั้นตอนการทำงาน รู้จักประเภทของสต็อก อะไรควรวางไว้ตรงไหน อะไรควรทำก่อน-หลัง ไปจนถึงผลกระทบที่จะตามมาหากเกิดการนับผิดพลาด 

3.นับสต็อกเป็นประจำ

การนับสต็อกเป็นประจำสม่ำเสมอ จะช่วยให้ของที่มีอยู่จริงและในระบบตรงกันตลอดเวลา ซึ่งอาจจะทำการนับทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรืออาจจะแบ่งนับตามประเภทของสินค้า ยี่ห้อ หรือชั้นวาง แต่ใจความสำคัญนั้นอยู่ที่ การนับให้บ่อยขึ้นนั่นเอง

4.ระบุผู้รับผิดชอบ

ไม่ว่าจะในกระบวนการไหน หากมีการเคลื่อนไหวหรือนับสต็อกต้องมีเอกสารและชื่อคนรับผิดชอบเสมอ เพราะหากเกิดปัญหาสต็อกไม่ตรง จะได้รู้ว่าเกิดจากขั้นตอนหรือกระบวนการไหน และมีใครเป็นผู้รับผิดชอบ จะได้แก้ไขได้อย่างตรงจุด

5.ใช้ระบบไอทีเพิ่มความแม่นยำ

การใช้ระบบซอฟต์แวร์หรือไอทีที่ดูแลจัดการเรื่องสินค้าคงคลัง จะช่วยให้ธุรกิจได้รับการแจ้งเตือนเมื่อสต็อกไม่ตรง ทำการตัดสต็อกอัตโนมัติ และดูข้อมูลสต็อกได้ตลอดเวลา ทำให้เห็นภาพรวม นับและตรวจเช็กสินค้าได้ง่ายขึ้น 

6.เพิ่มความละเอียด x 2

แม้ว่าจะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วย แต่อย่าลืมที่จะเช็กสต็อกให้ละเอียดด้วยตัวเองอีกที รวมถึงควรตรวจสอบด้วยว่า ไม่มีสินค้าชิ้นไหนไม่ติดบาร์โค้ดหรือบาร์โค้ดพัง เพื่อให้มั่นใจว่าจำนวนสินค้าที่มีกับในระบบตรงกันจริงๆ และป้องกันการลงข้อมูลที่ผิดพลาด หรือหากสต็อกไม่ตรงเกิดจากของหาย โดยขโมย ควรทำการติดตั้งกล้องวงจรปิดไว้คอยสอดส่องดูแล

7.จัดพื้นที่ให้เอื้อต่อการ Stock

สุดท้าย นอกจากเรื่องคนแล้ว การจัดพื้นที่หรือคลังสินค้าให้เพียงพอต่อการสต็อก ไม่ต้องแยกไว้คนละที่ หรือเข้าไปนับได้สะดวกก็สำคัญเช่นกัน เพื่อป้องกันความสับสนและการตกหล่นของข้อมูล


ขอบคุณบทความจาก : https://www.toyota.co.th

 949
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์