ทำความรู้จักประเด็นการถือหุ้นของชาวต่างชาติ

ทำความรู้จักประเด็นการถือหุ้นของชาวต่างชาติ



การจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติ มี 2 กรณี

กรณีที่ 1 การจดทะเบียนบริษัท สัญชาติไทย คือ คนไทย ถือหุ้นอย่างน้อย 51% และคนต่างชาติ ถือหุ้นไม่เกิน 49% โดยสามารถประกอบธุรกิจได้ทุกอย่างตามที่กฏหมายกำหนด
กรณีที่ 2 การจดทะเบียนบริษัท สัญชาติอื่น คือ คนต่างชาติ ถือหุ้น 50-100% จะต้องขอเป็นใบประกอบธุรกิจต่างด้าวแทน

หมายเหตุ : หากคนต่างชาติถือหุ้นในบริษัทจำกัด ตั้งแต่ 40-49% หรือต่ำกว่า 40% ของทุนจดทะเบียน แล้วเป็นผู้มีอำนาจลงนามหรือทำการแทนบริษัทจำกัดด้วยทางผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยทุกคนจะต้องนำส่งหลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุนและต้องสอดคล้องกับเงินทุนที่ชำระแล้วของผู้ถือหุ้นแต่ละรายด้วย

หลักฐานแสดงที่มาของเงินลงทุน มีดังนี้

  1. หนังสือรับรองฐานะการเงินของผู้ถือหุ้นจากธนาคารในประเทศไทย
  2. สำเนา สมุดเงินฝากธนาคาร
  3. สำเนา ใบแจ้งยอดบัญชีธนาคาร ย้อนหลัง 6 เดือน
  4. สำเนา หลักฐานแสดงแหล่งที่มาของเงินทุนที่นำมาชำระค่าหุ้น

ทั้งนี้ ให้แนบสำเนาหนังสือเดินทางของกรรมการต่างชาติที่มีอำนาจลงนามในคำขอจดทะเบียนมาด้วย เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการจดทะเบียน

ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยสำหรับชาวต่างชาติ มีดังนี้

  1. ตรวจสอบและจองชื่อบริษัทชื่อบริษัทที่จะจัดตั้งต้องไม่ซ้ำหรือใกล้เคียงกับบริษัทที่เคยจดทะเบียนไปก่อนหน้า เมื่อได้ชื่อ แล้วให้จองชื่อบริษัท ซึ่งจองได้ 2 วิธี
    1.1 จองผ่านกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในเขตหรือสำนักงานพาณิชย์ประจำจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่
    1.2 จองผ่านอินเตอร์เน็ต โดยเข้าไปสมัครสมาชิกที่เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
    ทั้งนี้ ท่านสามารถทำการจองชื่อสำหรับใช้จดทะเบียนบริษัทได้ทั้งหมด 3 ชื่อ รู้ผลภายใน 30นาที เมื่อจองชื่อได้แล้วจะต้องยื่นจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ ภายใน 30 วัน หากล่าช้ากว่านั้นต้องทำการจองใหม่
  2. ผู้ก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป เข้าชื่อกันจัดทำคำขอจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ์*และ เอกสารประกอบคำขอแล้วนำไปจดทะเบียน
  3. ผู้ก่อการจัดให้หุ้นของบริษัทที่คิดจะจัดตั้งขึ้นนั้น มีผู้เข้าชื่อจองซื้อหุ้นจนครบ
  4. ดำเนินการประชุมจัดตั้งบริษัท โดยต้องส่งคำบอกกล่าวนัดประชุมให้ผู้จองหุ้นทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ก่อนวันประชุม
  5. เมื่อได้ประชุมตั้งบริษัทและแต่งตั้งกรรมการบริษัทแล้ว ผู้เริ่มก่อการต้องมอบหมายกิจการให้กรรมการบริษัทรับไปดำเนินการต่อไป
  6. กรรมการบริษัทจัดการเรียกให้ผู้เริ่มก่อการและผู้จองหุ้น ชำระค่าหุ้นอย่างน้อยร้อยละ 25 ของมูลค่าหุ้น
  7. เมื่อได้รับเงินค่าหุ้นแล้ว กรรมการบริษัทจะต้องจัดทำคำขอจดทะเบียนตั้งบริษัทและเอกสารประกอบ โดยนำไปจดทะเบียนเป็นบริษัทภายใน 3 เดือนนับจากการประชุมตั้งบริษัท

*ข้อควรรู้ : หนังสือบริคณห์สนธิ คือ หนังสือที่แสดงวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท ระบุขอบเขตต่างๆ ของธุรกิจ โดยสามารถจดทะเบียนบริษัทและหนังสือบริคณห์สนธิได้พร้อมกัน ผู้ดำเนินการจึงควรเตรียมตัวให้พร้อมเพื่อความถูกต้องและรวดเร็ว

ข้อมูลที่ต้องเตรียมมีดังนี้

  • ชื่อของบริษัท (ตามใบจองชื่อไว้)
  • ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ / สาขา
  • วัตถุประสงค์การจัดตั้งบริษัท โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
  • ทุนจดทะเบียน อย่างน้อย 1 ล้านบาท
  • ข้อมูลผู้ก่อการ โดยการจดทะเบียนบริษัทนั้นจะต้องมีผู้ก่อการตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป
  • ข้อมูลผู้ถือหุ้น เช่น ชื่อ-สกุล สัญชาติ ที่อยู่ และจำนวนผู้ถือหุ้น โดยผู้ถือหุ้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ก่อตั้ง บุคคลอื่นก็สามารถเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทได้
  • ข้อมูลพยาน การจดทะเบียนบริษัทจะต้องมีพยาน 2 คน
  • รายละเอียดการประชุมจัดตั้งจดทะเบียนบริษัท เช่น ข้อบังคับของบริษัท กรรมการบริษัท ผู้สอบบัญชี เป็นต้น

รายการหลักฐานและเอกสารประกอบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ มี 3 กรณี

กรณี 1 บริษัทเป็นบุคคลธรรมดา

  1. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต.2 (3 หน้า)
  2. สำเนา หนังสือเดินทาง
  3. สำเนา ทะเบียนบ้าน ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
  4. คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าตนมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ พ.ศ. 2542
  5. หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
  6. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  7. หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำแทน
  8. หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

กรณี 2 บริษัทเป็นนิติบุคคลที่ไม่ได้จดทะเบียนในประเทศไทย

  1. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต.2 (3 หน้า)
  2. สำเนา หนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อ ทุน วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน รายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
  3. หนังสือแต่งตั้งผู้แทนโดยผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลที่ขอรับใบอนุญาตเป็นผู้แต่งตั้งให้มีหน้าที่รับผิดชอบ ดำเนินกิจการในประเทศไทยแทนนิติบุคคล
  4. สำเนา หนังสือเดินทาง ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือบัตรประจำตัวประชาชนของผู้แทนที่ได้รับแต่งตั้ง
  5. สำเนา ทะเบียนบ้าน ใบสำคัญถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร หรือหลักฐานการได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง
  6. คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาต กรรมการ หรือผู้จัดการ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ พ.ศ. 2542
  7. หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
  8. แผนที่แสดงที่ตั้งของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  9. หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำแทน
  10. หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

กรณี 3 บริษัทเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย

  1. แบบคำขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ ต.2 (3 หน้า)
  2. สำเนาหนังสือรับรองหรือหลักฐานการเป็นนิติบุคคลซึ่งแสดงรายการเกี่ยวกับชื่อ ทุน วัตถุประสงค์ ที่ตั้งสำนักงาน รายชื่อกรรมการและผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล
  3. คำรับรองของผู้ขอรับใบอนุญาตแสดงว่าผู้ขอรับใบอนุญาต กรรมการ หรือผู้จัดการ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 16 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างชาติ พ.ศ. 2542
  4. หนังสือแจ้งรายละเอียดของประเภทธุรกิจที่ขอรับใบอนุญาต
  5. หนังสือแจ้งสัดส่วนการถือหุ้นระหว่างคนไทยกับคนต่างชาติ จำนวนหุ้น ประเภทหรือชนิดของหุ้นที่คนต่างชาติถือ
  6. แผนที่แสดงที่ตั้งโดยสังเขปของสถานที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย
  7. หนังสือมอบอำนาจในกรณีที่มีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นเป็นผู้กระทำการแทน
  8. หลักฐานหรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี)

ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนบริษัท มีดังนี้

  1. จดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิ คิดจากเงินทุนแสนละ 50 บาท โดยเกณฑ์การชำระขั้นต่ำอยู่ที่ 500 บาท และขั้นสูงได้ไม่เกิน 25,000 บาท
  2. จดทะเบียนบริษัท ตามทุนจดทะเบียนแสนละ 500 บาท ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 5,000 บาท และขั้นสูงไม่เกิน 250,000 บาท
  3. ออกหนังสือรับรอง ฉบับละ 200 บาท
  4. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียน ฉบับละ 100 บาท
  5. ค่ารับรองสำเนาเอกสาร หน้าละ 50 บาท

สามารถอ่านบทความน่าสนใจอื่นๆได้ ที่นี่ คลิก!!

 3099
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์