ความผิดพลาดด้านการเงินที่ SME ต้องเรียนรู้

ความผิดพลาดด้านการเงินที่ SME ต้องเรียนรู้



สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ


ความผิดพลาดที่ 1 ใช้จ่ายมากเกินไป
มันอาจไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมื่อเรามีเงินมากขึ้นแล้วจะซื้อกาแฟเพิ่มจากวันละ 1 แก้วเป็น 2 แก้ว ไปร้านอาหารบ่อยขึ้น ซื้อของใช้ส่วนตัวให้ตัวเองมากขึ้น แต่อย่าลืมว่าทุกค่าใช้จ่ายที่เราเสียไป เท่ากับเงินที่เหลืออยู่ค่อยๆ ลดลง แค่เราใช้จ่ายมากขึ้นสัปดาห์ละ 500 บาท ก็เท่ากับเงินเก็บที่หายไปปีละประมาณ 26,000 บาทแล้ว ยิ่งเป็นการทำธุรกิจที่เงินทุกบาทมีความสำคัญต่อความอยู่รอดมากๆ ยิ่งต้องคิดให้รอบคอบก่อนจะจ่ายเงินออกไป

     
ความผิดพลาดที่ 2 รายจ่ายที่ไม่มีวันสิ้นสุด
ลองดูว่าในธุรกิจของคุณมีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและต้องจ่ายตลอดทุกเดือนหรือไม่ เช่น ค่าเคเบิล ค่าสมาชิกต่างๆ ซึ่งจ่ายไปแล้วเหมือนเราจะได้เป็นเจ้าของ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย หรือค่าโทรศัพท์รายเดือนที่ใช้จ่ายไม่เคยถึงยอดขั้นต่ำ เพราะค่าใช้จ่ายเหล่านี้เราต้องจ่ายไปเรื่อยๆ ทุกเดือน หากจ่ายไปแล้วธุรกิจไม่ได้รับประโยชน์อะไร ก็ควรพิจารณาตัดรายจ่ายเหล่านั้นออกไป หรืออย่างค่าโทรศัพท์ก็เปลี่ยนเป็นระบบเติมเงินแทน

     
ความผิดพลาดที่ 3 นำเงินในอนาคตมาใช้
ในปัจจุบันการใช้เงินผ่านบัตรเครดิตนั้นเป็นเรื่องปกติมากๆ แต่ถ้าหากว่าเรายังไม่มีความพร้อมในการชำระเงิน และไม่พร้อมที่จะใช้ระบบหักเงินผ่านบัญชีธนาคาร ก็ไม่ควรใช้บัตรเครดิตเลย เพราะว่าหากชำระไม่ทันหรือค้างชำระ จะพบว่า ดอกเบี้ยของบัตรเครดิตนั้นโหดร้ายมาก ยิ่งติดไว้หลายๆ เดือน ยิ่งแย่และส่งผลกระทบเชิงลบต่อสภาพการเงินของธุรกิจอย่างแน่นอน

     
ความผิดพลาดที่ 4 สร้างออฟฟิศหรูเกินไป
การมีออฟฟิศขนาดใหญ่และตกแต่งอย่างหรูหรา ย่อมเป็นภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร แต่ถ้าออฟฟิศมีขนาดใหญ่เกินไป ค่าตกแต่งย่อมสูงตามไปด้วย ไหนจะค่าเช่ารายเดือน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าบำรุงรักษาสิ่งของต่างๆ อีก ดังนั้น คิดให้ดีว่าธุรกิจของเราเหมาะหรือจำเป็นที่จะต้องลงทุนขนาดนั้นหรือเปล่า


ความผิดพลาดที่ 5 ไม่เคยปรึกษาผู้รู้หรือนักบัญชี
เรื่องการทำบัญชีเป็นเรื่องน่าเวียนหัวสำหรับผู้ประกอบการที่ไม่มีความถนัดด้านนี้ ทั้งๆ ที่ถ้ามีการจัดการด้านบัญชีที่ดี ผลการวิเคราะห์ทางบัญชีอาจช่วยให้เห็นข้อบกพร่องและทำให้สามารถแก้ไขสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที ดังนั้นแล้ว ถ้าธุรกิจของเราเจอปัญหาด้านบัญชีที่ค่อนข้างหนัก หรือไม่มั่นใจในการทำบัญชีของตัวเอง ลองเอางานเหล่านั้นออกไปด้วยการปรึกษามืออาชีพ อย่าคิดว่านี่คือต้นทุนมันเป็นการสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ  
นอกจากผู้ประกอบการยังสามารถจัดการปัญหาเหล่านี้ ด้วยการใช้ซอฟต์แวร์บัญชีอย่าง โปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป ที่จะเข้ามาช่วยผู้ประกอบการ SMEs ในการจัดการงานบัญชีให้เป็นเรื่องง่าย เพราะในปัจจุบันได้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ให้สามารถจัดการงานบัญชีครบทุกด้าน ตอบโจทย์นักบัญชีและเจ้าของธุรกิจยุคใหม่ ให้สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ตรงตาม อีกทั้งยังรองรับธุรกิจหลายประเภท ทั้ง ธุรกิจเหล็ก ธุรกิจการผลิต ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจก่อสร้าง ธุรกิจฝากขาย ตอบโจทย์ทุกธุรกิจ ด้วยโซลูชั่นทางบัญชีที่มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมและลดขั้นตอนการทำงานที่ยุ่งยาก ตอบโจทย์ทุกการใช้งาน


ความผิดพลาดที่ 6 ไม่มีแผนและไม่รู้จักอดออม
ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ขาดการวางแผนที่ดี เช่น ไม่ได้วางแผนว่า จะขยายธุรกิจไปอย่างไร ไม่มีแผนระยะสั้นและระยะยาว เมื่อได้เงินมาก็นำไปซื้อวัตถุดิบมาผลิต และนำไปขาย วนเวียนไปแบบนี้เรื่อยๆ เพราะบางคนเชื่อว่า การนำเงินไปฝากนั้นได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำไม่คุ้มเท่ากับการลงทุนในสินค้าเพื่อนำไปขายต่อ


อย่างไรก็ตาม แม้ว่าดอกเบี้ยธนาคารในเมืองไทยจะไม่สูง แต่ผู้ประกอบการต้องรู้จักอดออมเพื่อนำเงินไปลงทุน หรือนำเงินไปวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อต่อยอดให้กับธุรกิจ ดังนั้น การมีวิสัยทัศน์ วางแผนให้กับธุรกิจ และเก็บรักษาเงิน จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำไปพร้อมๆ กัน และอีกเหตุผลหลักคือ หากเราไม่มีเงินสะสมเอาไว้ในกรณีฉุกเฉิน ก็จะไม่สามารถรับมือกับเรื่องต่างๆ ได้ เช่น ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว หรือการปรับอัตราเงินเดือนลูกจ้างแบบกะทันหันของรัฐบาล เป็นต้น 


ขอบคุณที่มา : www.smethailandclub.com

 1530
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
เจ้าของธุรกิจที่ซื้อโฆษณาผ่านช่องทางออนไลน์ อาจจะต้องเสียค่าซื้อโฆษณาอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น ก็จะเริ่มหันมาสนใจว่า รายจ่ายเหล่านี้สามารถนำมาหักเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้หรือไม่ หรือภาษีซื้อที่จ่ายไปนำมาใช้ประโยชน์ทางภาษีได้บ้างหรือไม่ ซึ่งสามารถตามไปหาคำตอบพร้อมกันจากบรรทัดต่อจากนี้
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์