ภ.ง.ด.2 คืออะไร ใครต้องยื่นบ้าง

ภ.ง.ด.2 คืออะไร ใครต้องยื่นบ้าง




ภ.ง.ด.2
คือ แบบภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร หากบริษัทมีรายจ่ายที่เป็นเงินได้ประเภท 40(3) และ 40(4)  และชำระภาษีภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป

เงินได้ประเภท 40(3) และ 40(4) คืออะไร

เงินได้ประเภท 40(3)
คือ เงินได้พึงประเมินในรูปของ ค่าลิขสิทธิ์ ค่าตอบแทนทรัพย์สินทางปัญญา หรือค่า Goodwill

เงินได้ประเภท 40(4) คือ ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเงินได้ในรูปของดอกเบี้ย เงินปันผล และอื่นๆดังนี้

  1. ดอกเบี้ยพันธบัตร
  2. ดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์สำหรับเงินฝากธนาคาร ในราชอาณาจักรซึ่งผู้มีเงินได้ได้รับรวมกันทั้งสิ้น เกิน 20,000 บาท ตลอดปีภาษีนั้น (ต้องหัก ณ ที่จ่ายจากดอกเบี้ยรับทั้งสิ้น)
  3. ดอกเบี้ยเงินฝาก ประเภทประจำสำหรับเงินฝากธนาคารในราชอาณาจักร และสหกรณ์
  4. ดอกเบี้ยหุ้นกู้ ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ได้จาก บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น ดอกเบี้ยที่ได้จาก สถาบันการเงินที่มีกฎหมายโดยเฉพาะของประเทศไทยจัดตั้งขึ้นสำหรับ ให้กู้ยืมเงินเพื่อส่งเสริมเกษตรกรรม พาณิชยกรรม หรืออุตสาหกรรม เช่น บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตร และสหกรณ์การเกษตร เป็นต้น
  5. ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนการเป็นหุ้นส่วน หรือโอนหุ้น หุ้นกู้ พันธบัตร หรือตั๋วเงิน หรือตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่นเป็นผู้ออก ทั้งนี้ เฉพาะที่ตีราคา เป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
  6. ผลต่างระหว่างราคาไถ่ถอนกับราคาจำหน่ายตั๋วเงินหรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น เป็นผู้ออกโดยให้ถือว่าผู้ออกตั๋วเงิน ผู้ออกตราสารแสดงสิทธิในหนี้หรือ นิติบุคคลผู้โอนตั๋วเงินหรือตราสารดังกล่าว เป็นผู้จ่ายเงินได้พึงประเมิน
  7. เงินได้ที่เป็นเงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร หรือประโยชน์อื่นใดฯ

สำหรับอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายนั้นอยู่ที่ 15% ยกเว้นเงินปันผลอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายอยู่ที่ 10%

วิธีการกรอกแบบ ภงด 2

ใบหน้า

ใบหน้า ภงด 2

ส่วนที่ 1 : ให้กรอกเลขผู้เสียภาษี รายละเอียดชื่อ ที่อยู่ของบริษัท เดือน ปีภาษีที่ยื่นแบบ และให้ติ๊กว่าเป็นการยื่นแบบปกติ หรือยื่นแบบเพิ่มเติม

ส่วนที่ 2 : ให้ติ๊กว่าใบแนบของ ภงด 2 ที่ยื่นนั้นมีจำนวนกี่แผ่น

ส่วนที่ 3 : ให้เขียนรายละเอียด จำนวนราย จำนวนเงินได้ที่จ่ายทั้งสิ้น และจำนวนเงินภาษีที่นำส่งทั้งสิ้น

ส่วนที่ 4 : ให้เซ็นโดยผู้นำรับผิดชอบนำส่งหัก ณ ที่จ่าย

 ใบแนบ

ใบแนบ ภงด 2

ส่วนที่ 1 : ให้กรอกรายละเอียดเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และให้ติ๊กว่าเงินได้ที่จ่ายเป็นเงินได้ประเภทใด ดังนี้

  • เงินได้ตามมาตรา 40(3) ค่าแห่งลิขสิทธิ์ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ และอื่นๆ
  • เงินได้ตามมาตรา 40(4)ก ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยตั๋วเงิน และอื่นๆ
  • เงินได้ตามมาตรา 40(4)ข เงินปันผล และอื่นๆ
  • เงินได้ตามมาตรา 40(4)ช เงินผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น และอื่นๆ

ส่วนที่ 2 : ให้กรอกรายละเอียดผู้ที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย โดยให้กรอกเลขผู้เสียภาษี ชื่อ-นามสกุล ผู้ถูกหัก ณ ที่จ่าย วันเดือนปีที่จ่าย จำนวนเงินที่จ่าย จำนวนเงินหักภาษี ณ ที่จ่าย

ส่วนที่ 3 : ให้เซ็นโดยผู้นำรับผิดชอบนำส่งหัก ณ ที่จ่าย

ดูคำอธิบายเพิ่มเติมได้ที่ : กรมสรรพากร

 18205
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์