• หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • อยากรู้ไหม...? ภาษีรับให้ (Gift Tax) คืออะไร และต้องเสียภาษีอย่างไรกันนะ

อยากรู้ไหม...? ภาษีรับให้ (Gift Tax) คืออะไร และต้องเสียภาษีอย่างไรกันนะ

  • หน้าแรก

  • Accounting Articles

  • อยากรู้ไหม...? ภาษีรับให้ (Gift Tax) คืออะไร และต้องเสียภาษีอย่างไรกันนะ

อยากรู้ไหม...? ภาษีรับให้ (Gift Tax) คืออะไร และต้องเสียภาษีอย่างไรกันนะ

หลายคนคงเคยสงสัยว่า เงินที่ได้รับจากพ่อแม่ ญาติพี่น้อง คนรัก เพื่อน หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การให้โดยเสน่หา" โดยเงินที่ได้รับมานั้นต้องเสียภาษีด้วย ซึ่งจัดเป็น “ภาษีการรับให้” 

“ภาษีการรับให้” คืออะไร?

ภาษีการรับให้ หรือเรียกทั่วไปว่า ภาษีการให้ (Gift Tax) คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่จัดเก็บจากทรัพย์สินที่ให้หรือรับแก่บุตร คู่สมรส ญาติ หรือบุคคลอื่น ก่อนผู้ให้เสียชีวิต ทั้งนี้ ภาษีการรับให้มีขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดก ป้องกันไม่ให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษีการรับมรดก

ใครคือผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับให้ และต้องเสียภาษีในอัตราเท่าใด

1. กรณีการให้อสังหาริมทรัพย์ทุกประเภท เช่น บ้าน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง ที่ดิน

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ ผู้ที่โอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ได้แก่ บิดาและมารดาผู้โอนกรรมสิทธิ์ให้บุตรชอบด้วยกฎหมาย แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม (มาตรา 42(26))

อัตราภาษี ผู้โอนเสียภาษีเสียภาษีอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับในส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท หรือนำไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินอื่นก็ได้

2. กรณีการให้สังหาริมทรัพย์ทุกประเภทที่คำนวณเป็นเงินได้ เช่น เงินสด รถยนต์ ทองคำ เครื่องประดับ

ผู้มีหน้าที่เสียภาษี คือ ผู้ที่ได้รับเงิน

  • กรณีผู้รับเงินเป็น บุพการี ผู้สืบสันดาน หรือคู่สมรส จะคำนวณภาษีเฉพาะเงินได้ในส่วนที่เกินกว่า 20 ล้านบาทในแต่ละปีภาษี (มาตรา 42(27))
  • กรณีผู้รับเงินเป็นบุคคลอื่น คำนวณภาษีเฉพาะเงินได้ส่วนที่เกินกว่า 10 ล้านบาท ในแต่ละปีภาษี (มาตรา 42(28)) โดยเป็นเงินที่ได้จากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณีจากบุคคลอื่น

อัตราภาษี ผู้รับเสียภาษีอัตราร้อยละ 5 ของมูลค่าทรัพย์สินที่ได้รับในส่วนที่เกิน 20 ล้านบาท หรือ 10 ล้านบาท หรือนำไปรวมคำนวณกับเงินได้พึงประเมินอื่นก็ได้

ใครคือผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับให้ และต้องเสียภาษีในอัตราเท่าใด

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับให้ ต้องยื่นแบบฯ ภายในเมื่อใด

ภาษีการรับให้ถือเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับให้ ต้องนำเงินได้ที่เกิดในระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนมิถุนายน ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ภายในเดือนกันยายนของปีภาษี และนำรายได้ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนธันวาคม ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ภายในเดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม ของปีถัดจากปีภาษี และหากยื่นแบบฯ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้รับขยายเวลาออกไปอีก 8 วัน

ตารางสรุปภาษีการรับให้ (Gift Tax)

ใครคือผู้มีหน้าที่เสียภาษีการรับให้ และต้องเสียภาษีในอัตราเท่าใด

ที่มา : www.rd.go.th

ข้อมูลที่มา : www.rd.go.th


ติดตามเกร็ดความรู้ดีๆ ที่เกี่ยวกับงานบัญชี ได้ที่
บทความ: www.prosoftwinspeed.com
 58
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์