081-359-6920
,
02-402-6117
sale@prosoftwinspeed.com
ลงทะเบียน Demo
Menu
Home
Products
Overview
Key Feature
Screenshots
Reports
Sales Order
Purchase Order
Accounts Receivable
Accounts Payable
Inventory Control
Warehouse Management
Job Cost
General Ledger
Budget Control
Cheque and Bank
Petty Cash
Advance System
Multi Currency
Letter of Credit
Commission Management
Consignment
Audit and Internal Control
Value Added Tax
Customer Relationship Management
Fixed Assets
Solutions
ธุรกิจเหล็ก
ธุรกิจการผลิต
ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก
ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ธุรกิจก่อสร้าง
ธุรกิจฝากขาย
Services
จองอบรม Online
FAQ Online
E-learning
คู่มือการใช้งาน (Help)
System Requirements
New Feature
E-Newsletter
บริการ Maintenance
บริการเสริม
วิธีการชำระเงิน
Download Brochure
Customers
ลูกค้าของเรา
Success Stories
บรรยากาศการอบรม
More
News & Events
Accounting Articles
About Us
Company Profile
Organization
Management Team
Our Business
Awards & Standards
Prosoft Group
Our Family
Social Enterprise
Job Opportunity
Gallery
Office Location
นโยบายการรักษาข้อมูล
Contact Us
หน้าแรก
News & Events
ข่าวสารบัญชี
ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบบัญชี
ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบบัญชี
ย้อนกลับ
หน้าแรก
News & Events
ข่าวสารบัญชี
ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบบัญชี
ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบบัญชี
ย้อนกลับ
ข้อกำหนดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชี ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปี
ก่อนรอบระยะเวลาบัญชี ปีปัจจุบัน ตามมาตรา 65 ตรี (12) แห่งประมวลรัษฎากรโดยทั่วไปในทางบัญชีไม่ถือเป็นรายจ่าย
แต่ในทางภาษีอากรกำหนดยอมให้นำมาถือเป็นรายจ่ายตามหลัก
เกณฑ์และเงื่อนไข
1. ผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีก่อนๆ เว้นแต่ผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบันโดยทั่วไปผลขาดทุนสุทธิในรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนๆ จะนำมาถือเป็นรายจ่ายไม่ได้ ซึ่งสอดคล้องต้องกันทั้งในทางบัญชีและในทางภาษีอากร อย่างไรก็ตามในทางภาษีอากรยอมให้นำผลขาดทุนสุทธิยกมา ไม่เกิน 5 รอบระยะเวลาบัญชีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปี ปัจจุบัน มาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ และขาดทุนสุทธิในทางภาษีอากร ได้ตามหลักเกณฑ์ และวิธีการดังต่อไปนี้
(1) ต้องเป็นผลขาดทุนสุทธิซึ่งได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่ง ประมวล
รัษฎากร
(2) ต้องเป็นผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีที่นับย้อนหลังไปไม่เกิน 5 ปี
ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน
(3) การนำผลขาดทุนสุทธิไปถือเป็นรายจ่ายให้นำผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะ
เวลาบัญชี ที่เกิดขึ้น ก่อนไปหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบ
ระยะเวลาบัญชีที่มีกำไรสุทธิ เป็นปีแรกในช่วงเวลาไม่เกิน 5 ปีหลังจากปี ที่มี
ผลขาดทุนสุทธิดังกล่าว ตามหลักผลขาดทุน เกิดขึ้นก่อนให้นำมาหักก่อน
(First-loss, First-use) ในกรณีที่ยังมีผลขาดทุนสุทธิเหลืออยู่ ก็ให้นำผล
ขาดทุนสุทธิดังกล่าว ไปหักเป็นรายจ่าย ในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบ
ระยะเวลาบัญชีปีต่อไปตามหลักเกณฑ์ข้างต้น
(4) ให้นำผลขาดทุนสุทธิยกมาถือเป็นรายจ่ายได้เพียงเท่าที่ไม่เกินกว่ากำไร
สุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น
2. วิธีคำนวณผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกินห้ารอบระยะเวลาบัญชี ก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน ที่จะนำไปถือเป็นรายจ่าย
ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ ให้คำนวณตั้งแต่รอบระเวลาบัญชีปีแรกที่มีผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงานซึ่งมีผลขาดทุนสุทธิยกมาจากรอบระยะเวลาบัญชีปีก่อนดังนี้
(1) ให้นำผลกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีแรกที่มีกำไรสุทธิมาตั้งแล้ว นับย้อนกลับขึ้นไป 5 ปี ก่อนปีที่มีกำไรสุทธิดังกล่าว ให้นำผลขาดทุนสุทธิของ รอบระยะเวลาบัญชีปีแรก ในระยะเวลา 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีที่มีกำไรสุทธิ มาหักเป็นรายจ่าย หากยังเหลือ เป็นกำไรสุทธิ ให้นำผลขาดทุนสุทธิ ของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อๆ มาในระยะเวลา 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีที่มีกำไรสุทธิมาหักเป็นรายจ่ายได้ต่อไป จนกว่าจะปรากฏผล เป็นกำไรสุทธิ ให้นำผลกำไรสุทธินั้นไปคำนวณเพื่อเสียภาษีเงิน ได้นิติบุคคลต่อไป กรณีปรากฏผล เป็นขาดทุนสุทธิ ซึ่งเป็นผลขาดทุนสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี ที่นำผลขาดทุนสุทธิ มาคำนวณหักเป็นรายจ่าย ให้หยุดคำนวณ ซึ่งเป็นผลให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปีดังกล่าว
(2) ให้นำผลกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปีต่อมามาตั้ง แล้วดำเนินการเช่นเดียวกับข้อ (1) ข้างต้น
ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนปีปัจจุบันอย่างไร
วิสัชนา ให้ดำเนินการวางแผนเกี่ยวกับผลขาดทุนสุทธิยกมาไม่เกิน 5 ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบัน
1. ผลขาดทุนสุทธิที่จะนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากร ต้องใช้ผล
ขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรที่ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเงื่อนไขแห่งประมวลรัษฎากรแล้วมิใช่ผลขาดทุนสุทธิทางบัญชีการเงิน
ตามบัญชีกำไรขาดทุนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป
2. การประกอบกิจการในรูปของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจมีข้อได้เปรียบยิ่งกว่าการประกอบกิจการ
ในรูปของบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคล ในประเด็นที่กำหนดให้เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิหากมีผลขาดทุนสุทธิ
นอกจากจะไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วยังสามารถยกยอดผลขาดทุนสุทธิไปหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชี
ปีต่อๆ ไปได้อีกไม่เกิน 5 ปี
3. ให้พยายามสร้างรายได้และผลกำไรสุทธิ เพื่อนำผลขาดทุนสุทธิยกมาในรอบบัญชีปีก่อนมาหักเป็นรายจ่าย
ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ โดยหากิจกรรมที่มีกำไรสูงเข้ามาในกิจการ
4. ในกรณีที่ผลการประกอบกิจการมีขาดทุนสุทธิมาก แต่ผู้ถือหุ้นต้องการเงินปันผลจากบริษัท อาจใช้วิธีการลดทุน
เพื่อลดผลขาดทุนสะสมในทางบัญชี ซึ่งทำให้ไม่มีผลขาดทุน สะสมคงเหลืออีกต่อไป แต่ในทางภาษีอากรยังคงมีสิทธินำผล
ขาดทุนสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน
5. ปีก่อนรอบระยะเวลาบัญชีปีปัจจุบันมาถือเป็นรายจ่ายได้ และในขณะเดียวกันกิจการก็สามารถจ่ายเงินปันผล
ให้แก่ผู้ถือหุ้นได้
ที่มา :
http://prasitwiset.is.in.th/?md=content&ma=show&id=243
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดียิ่งขึ้น
นโยบายคุกกี้
ตั้งค่าคุกกี้
ยอมรับทั้งหมด
×
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น
เปิดใช้งานตลอดเวลา
คุกกี้พื้นฐานที่จำเป็น เพื่อช่วยให้การทำงานหลักของเว็บไซต์ใช้งานได้ รวมถึงการเข้าถึงพื้นที่ที่ปลอดภัยต่าง ๆ ของเว็บไซต์ หากไม่มีคุกกี้นี้เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานได้อย่างเหมาะสม และจะใช้งานได้โดยการตั้งค่าเริ่มต้น โดยไม่สามารถปิดการใช้งานได้
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์
คุกกี้ในส่วนวิเคราะห์ จะช่วยให้เว็บไซต์เข้าใจรูปแบบการใช้งานของผู้เข้าชมและจะช่วยปรับปรุงประสบการณ์การใช้งาน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลและรายงานผลการใช้งานของผู้ใช้งาน
คุกกี้ในส่วนการตลาด
คุกกี้ในส่วนการตลาด ใช้เพื่อติดตามพฤติกรรมผู้เข้าชมเว็บไซต์เพื่อแสดงโฆษณาที่เหมาะสมสำหรับผู้ใช้งานแต่ละรายและเพื่อเพิ่มประสิทธิผลการโฆษณาสำหรับผู้เผยแพร่และผู้โฆษณาสำหรับบุคคลที่สาม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี
By SoGoodWeb.com