IFRS : มาตรฐานบัญชีใหม่

IFRS : มาตรฐานบัญชีใหม่

     เนื่องจากสหรัฐอเมริกาได้เริ่มใช้มาตรฐานใหม่นี้ในปีบัญชี 2009 ปัจจุบันจึงมีการพูดถึงหรือเขียนถึงมาตรฐานบัญชีใหม่ ที่เรียกว่า “International Financial Reporting Standard หรือ IFRS” กันมาก สำหรับประเทศที่ใช้มาตรฐานการแสดงสถานะทางการเงิน IFRS จริงๆ แล้วมีกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ทั้งประเทศในยุโรปและเอเชีย โดยตั้งเป้าหมายให้เริ่มใช้กันในปี 2009 ซึ่งในมาตรฐานใหม่นี้ มีการปรับปรุงการแสดงรายงานหลายเรื่อง ซึ่งจะมีผลกระทบก็คือเรื่องของการรับรู้รายได้  เรื่องของการพยายามให้สินทรัพย์ที่มีสะท้อนราคาตลาดล่าสุดมากที่สุด เรื่องของภาษีเงินได้ และเรื่องค่าตอบแทนสวัสดิการและผลประโยชน์ของพนักงาน ซึ่งจะมีวิธีการรับรู้เป็นภาระที่จะเกิดขึ้น เช่นในกรณีที่พนักงานจะเกษียณอายุงานซึ่งบริษัทจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามอายุงาน แต่สูงสุดไม่เกิน 9 เดือน บริษัทก็ต้องมีการตั้งสำรอง แต่จะมีทางเลือกให้ปฏิบัติ

     ทั้งนี้ประเทศไทยมีแผนที่จะทยอยปรับปรุงตาม IFRS 2008 และ 2009 และทยอยมีผลบังคับใช้  โดยที่ปรับปรุงตาม IFRS 2008 และจะมีผลใช้บังคับ 1 มกราคม 2554 จำนวน 27 ฉบับ ปรับปรุงตาม IFRS 2008 และจะมีผลใช้บังคับใน 1 มกราคม 2555 จำนวน 1 ฉบับ  และปรับปรุงตาม IFRS 2008 และ 2009 และจะมีผลใช้บังคับใน 1 มกราคม 2556 อีก 5 ฉบับ  รวมแล้วจะมีมาตรฐานทั้งหมด 33 ฉบับ หมายความว่าประเทศไทยกำหนดจะใช้มาตรฐานการบัญชีที่ปรับปรุงตาม IFRS เต็มที่ในปี 2556

     เนื่องจากมาตรฐานการบัญชีเหล่านี้ มีขึ้นเพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถวิเคราะห์และศึกษา เปรียบเทียบได้ทั่วโลก จึงจะมีการบังคับให้ใช้ทุกฉบับเฉพาะกับบริษัทจดทะเบียน
    
     ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอเท่านั้น  ส่วนบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะยกเว้นไม่บังคับใช้ ถึง 13 ฉบับ และมีอีกฉบับหนึ่งที่ยกเว้นเฉพาะเรื่องการกำหนดสกุลเงินหลักที่ใช้ในการดำเนินงาน ดังนั้น ธุรกิจที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงต้องมีการเรียนรู้และเตรียมการว่าการเปลี่ยนแปลงนั้น จะส่งผลกระทบทางบัญชี ธุรกิจ ภาษี และระบบสารสนเทศ  โดยกำหนดเบื้องต้นว่า ในปี 2553 จะเป็นปีที่มีการทำงบแสดงฐานะ การเงินเปรียบเทียบ และการทำงบแสดงฐานะทางการเงินโดยใช้มาตรฐานใหม่ จะเริ่มในไตรมาสแรกของปี 2554

     ซึ่งจากการที่กล่าวมานี้พบว่ามีมาตรฐานที่ 19 กล่าวถึงเรื่อง "ผลประโยชน์ของพนักงาน" ดังนั้นในฐานะนักพัฒนาทรัพยากรมนุษย์คงจะไม่สามารถหลีกหนีได้ในการที่ต้องเสนอ ข้อมุลประมาณ การเกี่ยวกับสถิติการระยะเวลาทำงานเฉลี่ยของพนักงานแต่ละระดับ สถิติค่าเฉลี่ยการเข้า-ออก ของประเภทพนักงานในระดับต่างๆ เพื่อบริษัทจะได้ดำเนินการสำรองค่าชดเชยแก่พนักงาน ตามอายุงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พนักงานในระดับสูงของบริษัทที่ต้องจ่ายค่าตอบแทน สวัสดิการ สิทธิผลประโยชน์ต่างๆ ที่เป็นมูลค่าสุงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสด ของดำเนินธุรกิจได้ดังนั้น คงต้อง อาศัยความรู้การคำนวญด้านคณิตศาสตร์ประกันภัย ในการคำนวณค่าประมาณการ เพื่อบันทึกบัญชี ยกตัวอย่างเช่น ในบทความ “กำกับ ปตท.อย่างไร ให้ประโยชน์สูงสุด” ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ เดือนมกราคม 2553 ว่าการที่ผู้บริหารของ ปตท.
    
     ไปนั่งเป็นกรรมการในบริษัทลูกคนละหลายๆ แห่ง และได้รับค่าตอบแทนที่สูงมากๆ เช่น ในปี 2551ผู้บริหารสูงสุดของ ปตท.ได้รับโบนัสและเบี้ยประชุมต่างๆ รวม 22.7 ล้านบาท... ไม่นับรวมเงินเดือนและผลประโยชน์ที่ได้รับในฐานะลูกจ้าง เต็มเวลาของบริษัทของ ปตท.คาดกันว่าประมาณ 16.5 ล้านบาท...(ข้อมูลจาก กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ 9 ส.ค. 2553 : ผลตอบแทนผู้บริหาร กับการใส่ใจของผู้ถือหุ้น, สฤณี อาชวานันทกุล)

ตัวอย่างการสำรองเงินเพื่อเป็นเงินชดเชยสำหรับพนักงาน


      ตาม กฎหมายแรงงาน เมื่อลูกจ้างทำงานมาครบ 10 ปี จะมีสิทธ์ได้รับเงินชดเชยเกษียณ หรือ ออกจากงานโดยปัจจุบัน การบันทึกบัญชีของบริษัทคือ จะบันทึกรายการบัญชีเงินชดเชยเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการ ก็ต่อเมื่อบริษัทต้องมีการจ่ายจริง คือ พนักงาน.ลาออก และมีการจ่ายเงิน บริษัทจึงจะสามารถบันทึกรายการ เป็นค่าใช้จ่ายทั้งจำนวน

     แต่สำหรับมาตรฐานบัญชีใหม่ กำหนดว่า บริษัท ควรมีการตั้งประมาณหนี้สินสำหรับเงินชดเชยเกษียณ สำหรับพนักงานที่ทำงานเกิน10ปี และ ให้บันทึกรายการถึงการรับรู้หนี้สินเงินชดเชยเกษียณ หรือ ออกจากงาน ดังนั้นส่วนนี้จึงส่งผลกระทบกับบริษัทใหญ่ (ที่มีพนักงานทีปฏิบัติหน้าที่นานๆ) ตัวอย่างเช่น ปตท การบินไทย ฯลฯ ซึ่งในการประมาณการหนี้สินนี้ต้องตั้งลงที่ค่าใช้จ่าย ส่งผลให้ผลการดำเนินการในด้านกำไรอาจลดลง ซึ่งอาจส่งผลต่อการปันผลเช่นกัน รวมทั้งกระทบต่อ เงินสดที่ต้องตั้งสำรองนี้ ตั้งไว้ในสินทรัพย์อีกหัวข้อหนึ่ง ที่ไม่ใช่เงินสดหรือเทียบเท่าเงินสด โดยให้ บริษัทมีทางเลือกคือ

      1. รับรู้ทั้งจำนวน : บาง บริษัท อาจตั้งเลยทั้งจำนวน หากงบไตรมาสนั้น กำไรดีมากอาจไม่กระทบจำนวนเงิน 
      2. การทยอย รับรู้ค่าใช้จ่าย โดยให้เฉลี่ยได้ไม่เกิน 5 รอบบัญชี ซึ่งเชื่อว่างบของบางบริษัท ปี 2554  เมื่อมีการตั้งสำรองงินชดเชยเกษียณ หรือ ออกจากงานตรงนี้แล้ว อาจทำงบการเงินบริษัทต่างๆ มีผลดำเนินการลดลง

      ได้มีการตั้งสำรองมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ได้แก่ MAKRO SINGER BJC, OHTL PS BANPU PTTEP SCB (ตั้งมา 2 ปี)
สำหรับข้อดีของพนักงานนั่นหมายความว่าต่อไปนี้ หากเกิดกรณีบริษัทนั้นล้มละลาย สิทธิฟ้องร้องด้านเงินเกษียณอายุ บ้างครั้งกว่าจะได้ต้องดำเนินคดี แต่หากบันทึกรายการดังกล่าว นั่นเป็นการยอมรับสภาพหนี้ของบริษัทที่ได้บันทึก พนักงานจึงมีสถานะภาพเป็นเจ้าหนี้ของบริษัท ดังนั้นก็จะมีสิทธิไล่เบี้ยในฐานะเจ้าหนี้ได้

ตัวอย่าง ESOP การให้ผลประโยชน์ พนักงาน


      เดิมนั้น บริษัทจะมีการให้ผลประโยชน์แก่พนักงานเพื่อจูงใจให้ทำงานกับบจ.ในระยะยาว โดยอาจเป็นสิทธิ์ในการซื้อหุ้น บจ.ก่อนเข้าตลาด (ก่อนIPO) หรือ การออก warrant  ทั้งนี้ ส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงในมาตรฐานบัญชีใหม่นั้น คือ การคิดส่วนต่าง(หรือส่วนต่างที่พนักงาน.มีสิทธ์ซื้อหุ้นได้ราคาถูกลง) โดยมาตรฐานใหม่ ให้คิดส่วนล้ำจากราคาตลาด ณ จุดที่ใช้สิทธิ์  เช่น วันที่พนักงาน.ขอใช้สิทธิ์เปลี่ยน  warrant เป็นหุ้น ราคาอยู่หุ้นละ 3 บาท แต่พนักงาน.จ่ายเพียง 1 บาท ส่วนต่าง 2 บาทนี้ ต้องลงเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งส่งผลต่อกำไรของบริษัทได้ โดยเฉพาะ บริษัท ที่มีการออก warrant ให้แก่พนักงาน มากๆ อย่างไรก็ตาม มาตรฐานใหม่นี้ ส่งผลเฉพาะบริษัทที่จะเข้าตลาดใหม่ปีหน้า และ บริษัทในตลาด(เดิม)ที่จะออก warrant ใหม่หลังจากวันที่ 1 ม.ค. 2554 เป็นต้นไป  ปัจจุบันการ ESOP ของหลายๆบริษัทยังคิดเป็นค่าใช้จ่ายในบัญชีต่ำกว่าความเป็นจริง ดังนั้นมาตรฐานใหม่อาจส่งผลให้บริษัทเปลี่ยนการจูงใจพนักงานด้วยวิธีอื่นแทนการออก warrant

      ดังนั้นในฐานะนักทรัพยากมนุษย์ควรทำการศึกษาสำหรับแนวคิดดังกล่าว เนื่องจากหน้าที่หนึ่งของนักพัฒนาทรัพยากมนุษย์ต้องเป็นทั้งผู้วางแผน นำเสนอข้อมูล และประสานงาน เพื่องานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในบริษัทให้มีประสิทธิภาพ และสิ่งหนึ่งที่ต้องไปเกี่ยวข้องก็คือ งบประมาณในการรักษาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพนักงานระดับมันสมองของบริษัท ปัจจุบันพบว่าบริษัท(มหาชน)ในตลาดหลักทรัพย์ ได้จำทำโครงการนี้โดยการระดมทีมงานในส่วนต่างๆ รวมทั้งในส่วนของทรัพยากรมนุษย์ เพื่อร่วมทำโครงการให้สามารถตอบสนองกับมาตรฐานบัญชีใหม่ที่รัฐได้กำหนดประกาศใช้บังคับนี้แล้ว



ที่มา : http://www.drpracha.com/index.php?topic=1149.0


สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์