การเปลี่ยนแปลงไปสู่ IFRS

การเปลี่ยนแปลงไปสู่ IFRS

 
     การกำกับดูแลมาตรฐานบัญชีให้เป็นแบบเดียวกันทั่วโลกประสบความสำเร็จอย่างดีโดยได้รับความร่วมมือจากบริษัทใน 100 กว่าประเทศ ใช้โครงสร้างแบบเดียวกันตามคู่มือ มาตรฐานการบัญชีแบบเดียวกันทั่วโลก (International Financial Reporting Standard – IFRS) นอกจากนี้ ในหลายประเทศได้ประกาศแผนการเปลี่ยนไปใช้ IFRS ได้แก่ ประเทศแคนาดาและเกาหลี

     ประเทศไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการรับเอามาตรฐานนานาชาติเพื่อเป็นเครื่องมือในการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันมาใช้ อย่างยาวนาน สภาวิชาชีพบัญชี (Federation of Accounting Professions in Thailand – FAP) ได้วางแผนในการรวมมาตรฐานบัญชี (Thailand Accounting Standards – TAS) เข้ากับ IFRS โดยปรับปรุงมาตรฐานบัญชีใหม่ ให้ทัดเทียมมาตรฐาน บัญชีสากล และกำหนดบังคับใช้ในหลายฉบับ โดยมีร่าง TAS จำนวน 21 ฉบับกำลังนำเสนอสู่การพิจารณา เพิ่มเติมจาก TAS ฉบับปรับปรุงจำนวน 10 ฉบับที่มีผลบังคับใช้ต่องบการเงิน ที่จัดทำภายหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551


สร้างบทเรียนให้คนอื่น
    ประเทศในยุโรปได้มีการรับเอามาตรฐานนี้ก่อนประเทศไทย โดยมีเป้าหมาย เพื่อการวิเคราะห์ คณะกรรมการสหภาพยุโรป จึงได้ทำการสำรวจและจัดทำโครงการ IFRS ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปขึ้น ผลการสำรวจยืนยันว่าการเปลี่ยนไปใช้ IFRS เป็นงานที่ท้าทายอย่างยิ่ง แต่ประสบความสำเร็จอบ่างดีและได้เล็งไปสู่พัฒนาการ ของการรายงาน ระหว่างประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป โดยมีข้อตกลง IFRS ที่ทำให้ สามารถจัดทำทำงบการเงินได้ง่ายขึ้นใน การเปรียบเทียบกับแต่ละบริษัท ในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือคู่แข่งขันในอุตสาหกรรมเดียวกันในต่างประเทศ

    การสำรวจแสดงให้เห็นว่าอุปสรรคความท้าทายหลายอย่างในการรับ เอามาตรฐานบัญชีใหม่ และการเปลี่ยนไปใช้ IFRS ประกอบไปด้วย
     • การอฝึกอบรมพนักงาน, นักลงทุน, บอร์ดคณะกรรมการ
     • ความซับซ้อมในการเปรียบเทียบมาตรฐานของแต่ละประเทศทำให้ งบการเงินตาม IFRS ยากต่อการทำความเข้าใจ และเปรียบเทียบ
     • การขาดแคลนความรู้ภายใน และผู้ตรวจสอบภายนอก รวมทั้งที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้
     • การประเมินราคายุติธรรมที่ไว้ใจได้สำหรับมาตรฐานบัญชีของกิจการและเครื่องมือทางการเงิน และ
     • ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้มาตรฐานบัญชีใหม่รวมถึงการปรับปรุงระบบไอที การวางระบบแก้ไขนโยบายการรายงาน และขั้นตอนการดำเนินงาน การฝึกอบรมพนักงานและการให้ความรู้แก่นักลงทุนและสมาชิกบอร์ดคณะกรรมการ

     ภาพรวมเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนในที่ประชุมที่ได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการ กำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ในการรับเอา IFRS ไปใช้ ในประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้เข้าร่วมประชุมมีความเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงไปสู่ IFRS จะสามารถ เพิ่มประสิทธิภาพการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ถือหุ้นต่อผู้ถือหุ้นได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลไปยังต้นทุนของทุนที่ต่ำลงปัจจัยสำคัญ ต่อความสำเร็จของโครงการ เปลี่ยนแปลงไปสู่ IFRS


ความเป็นผู้นำ
     การเปลี่ยนไปใช้ IFRS เป็นการเปลี่ยนทั้งโปรแกรมซึ่งจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน และการอนุมัติงบประมาณจากฝ่ายบริหาร ตั้งแต่เริ่มต้นตลอดการวางระบบ เนื่องจาก มีความยุ่งยากในการเปลี่ยนโปรแกรม ผู้ที่รับผิดชอบในการวางระบบจึงจำเป็นต้องได้ รับการสนับสนุนในด้านต่างๆ อย่างพอเพียง

การสื่อสาร
     การตัดสินใจเปลี่ยนไปใช้ระบบ IFRS ต้องศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีความจำเป็นในการขับเคลื่อนองค์กรทั้งระบบในการรับการเปลี่ยนแปลงการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพอาศัยเหตุผลดังต่อไปนี้

     นักลงทุนและผู้ให้สินเชื่อจำเป็นต้องเข้าใจว่ามาตรฐานบัญชีใหม่และการเปลี่ยนไปใช้ IFRS มีผลกระทบอย่างไรต่อข้อมูล ทางการเงินของกลุ่มบริษัทและพนักงาน ควรมีความเข้าใจถึงเหตุผลในการเปลี่ยนแปลง และผลกระทบต่อพวกเขา
ทรัพยากร
     ในการกำหนดระดับการใช้ทรัพยากรเพื่อให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง เกี่ยวข้องกับหัวข้อได้ดังต่อไปนี้
        • ต้องใช้พนักงานอะไรบ้าง?
        • ควรมอบหมายให้ใครรับผิดชอบต่อโครงการ?
        • จะกระตุ้นพนักงานอย่างไร?
        • จะต้องสอดคล้องกับอะไรบ้าง?

ความรู้
     คุณสมบัติในการเป็นสมาชิกทีมงานของโปรเจ็กต์คือความรู้ ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่ความรู้ในทางเทคนิคของ IFRS แต่ควรให้ความสำคัญกับ
        • การรู้จักเครื่องมือและวิธีการในการวางระบบ IFRS และขั้นตอนการรายงานภายในกลุ่ม;
        • ความเข้าใจในธุรกิจและการทำธุรกรรม ที่ส่งผลต่อกิจกรรมของกลุ่ม
        • การเพิ่มความรู้ในขั้นตอนการรายงานและเทคโนโลยีที่สนับสนุน

ทีมงานโครงการจำเป็นต้องประกอบไปด้วยบุคคลที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญต่างกัน ที่สามารถทำงานร่วมกันได้เป็นทีม เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน

ข้อดีในการเปลี่ยนไปใช้ IFRS
     การเปลี่ยนไปใช้ IFRS นอกเหนือจากการดึงดูดนักลงทุนและสอดคล้องกับข้อบังคับตามกฎหมาย บริษัทที่เปลี่ยนแปลงระบบ ยังได้รับผลประโยชน์เพิ่มเติมดังต่อไปนี้

        • IFRS ทำให้มีความสอดคล้องกันทั้งบริษัท – ส่งเสริมความสัมพันธ์กับลูกค้า และ ผู้จัดส่งวัตถุดิบจากทั่วโลก เนื่องจากงบการเงินตาม IFRS เป็นมาตรฐานเดียวกัน เนื่องจากธุรกิจในประเทศไทยมีความเป็นนานาชาติมากขึ้นในแง่ของ นักลงทุนและการดำเนินงาน IFRS ช่วยให้สามารถเปรียบเทียบบริษัทในประเทศไทยกับบริษัทอื่นๆ ได้ทั่วโลก
        • IFRS เป็นแรงผลักดันให้เกิดการควบกิจการระหว่างประเทศ เป็นหุ้นส่วนและพันธมิตรกับธุรกิจในต่างประเทศ เพื่อลดต้นทุนในความร่วมมือกันหลังจากการควบกิจการ
        • ส่งเสริมคุณภาพและความสอดคล้องของข้อมูล เพื่อหลีกเลี่ยงการรายงานซ้ำซ้อนและลดต้นทุนด้านการเงิน อาจมีการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มบริษัทที่อยู่คนละพื้นที่ในการจัดทำงบการเงินสำหรับการรายงานภายนอก หนึ่งฉบับสำหรับ งบการเงินภายในประเทศ ฉบับที่สองสำหรับบริษัทแม่ ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยากและต้นทุนในด้านการเงิน
        • งบดุลตาม IFRS มีความใกล้เคียงต่อมูลค่าทางเศรษฐกิจ ต้นทุนในอดีดจะถูกแทนที่โดยราคายุติธรรมในหลายรายการ ของงบดุลทำให้บริษัทสามารถแสดงราคาบริษัทที่แท้จริง ตัวอย่างเช่น เครื่องมือทางการเงินและคุณสมบัติการลงทุนจะสะท้อน ราคายุติธรรม

ความท้าทายต่อการรวมกัน
     ในทำนองเดียวกับการรับเอา IFRS ในทั่วโลก ประเทศไทยจะได้สัมผัสกับความท้าทายดังต่อไปนี้
        • ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี : TAS ไม่ได้แสดงถึงภาษีเงินได้รอตัดบัญชี ตามมาตรฐานบัญชีสากล 12 – ภาษีเงินได้ ต้องระบุ รายละเอียด ภาษีเงินได้รอตัดบัญชี และจำนวนที่แตกต่างจำเป็นต้องเปิดเผยในงบการเงิน
        • สวัสดิการพนักงาน : TAS ไม่ได้ครอบคลุมถึงสวัสดิการพนักงาน ตามมาตรฐานบัญชีสากล 19 – สวัสดิการพนักงาน ตามหลักบัญชี ควรรวมเอาสวัสดิการ พนักงานระยะสั้นและสวัสดิการพนักงานหลังเกษียณภายใต้แผนการจ่ายเงินปันผล อย่างไรก็ตามยังไม่มีการนำมาใช้จริง ในประเทศไทยสำหรับสวัสดิการพนักงานหลังเกษียณภายใต้แผนการจ่ายเงิน ปันผลสวัสดิการพนักงานระยะยาว และสวัสดิการการเลิกจ้าง
        • เครื่องมือทางการเงิน : ในปัจจุบันยังเปรียบเทียบไม่ได้กับมาตรฐานบัญชีสากล 39 – เครื่องมือทางการเงิน ไม่มีการรับรู้และประเมินตราสารอนุพันธ์ การป้องกันความเสี่ยง การด้อยค่าของสินทรัพย์ทางการเงิน
        • ทรัพย์สินลงทุน : ในปัจจุบัน TASยังเปรียบเทียบไม่ได้กับมาตรฐานบัญชีสากล 40 – สินทรัพย์ลงทุนทรัพย์สิน ที่ถือครองสำหับการให้เช่าและราคาที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งทรัพย์สิน อาคารและอุปกรณ์ ถูกบันทึกภายใต้มาตรฐานบัญชีไทย 32 – ทรัพย์สิน อาคารและอุปกรณ์ ฉบับปี พ.ศ. 2003 ตาม IAS16


การออกแบบและพัฒนา
      การดำเนินงานทำให้เกิดช่องว่างระหว่าง TAS กับ IFRS ซึ่งจำเป็นต้องเตรียม เอกสารฝึกอบรม IFRS และคู่มือการบันทึกบัญชีที่อธิบายวิธีการและการตัดสินใจ สิ่งที่ต้องพิจารณาประกอบไปด้วย
      • ตารางเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทดสอบ และวิเคราะห์
      • พัฒนาการของการรายงาน
      • ระบบการควบคุมภายใน

การวางระบบ
      การฝึกอบรมเป็นการสร้างความมั่นใจว่าพนักงานเข้าใจการวางระบบและสามารถ ใช้คู่มือการรายงานสำหรับธุรกรรมภายใต้ IFRS

การกำกับดูแลของคณะผู้ตรวจสอบ
     ฝ่ายบริหารเป็นผู้รับผิดชอบต่อการวางระบบและเปลี่ยนไปใช้มาตรฐานบัญชีใหม่ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนไปใช้ IFRS ต้องได้รับการกำกับดูแลโดยคณะผู้ตรวจสอบ สมาชิกคณะผู้ตรวจสอบ ควรถามกรรมการว่ามีการบริหารการเปลี่ยนแปลง และความเสี่ยงที่เกี่ยวข่องอย่างไร จุดประสงค์หลัก ของคณะผู้ตรวจสอบของ IFRS คือกลยุทธ์ในการวางระบบ ทรัพยากรที่ต้องใช้ในการเปลี่ยนแปลง ทั้งองค์กร และการประเมินความสมบูรณ์ของโครงการ

ลงมือเริ่มทำงาน
คำถามข้างล่างสำหรับการเริ่มทำงานของคณะผู้ตรวจสอบในกระบวนการกำกับดูแลที่สำคัญ แบ่งออกเป็น 4 หมวด ได้แก่
     • เป็นโปรเจ็กต์การเปลี่ยนแปลง
     • ผลกระทบต่อรายงานทางการเงิน
     • ผลกระทบต่อองค์กรธุรกิจและผู้ถือหุ้น และ
     • นัยสำคัญต่อคณะผู้ตรวจสอบ

โปรเจ็กต์การเปลี่ยนแปลง
     • ฝ่ายบริหารให้การสนับสนุนอะไรบ้างแก่การวางระบบมาตรฐานบัญชีใหม่
     • หัวหน้าขององค์กรธุรกิจ ฝ่ายการเงิน HR ภาษี ไอที มีส่วนร่วมต่อความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงไปใช้ IFRS หรือไม่
     • ใช้กลยุทธ์อะไรในการวางระบบมาตรฐานบัญชีใหม่
     • อะไรคือจุดประสงค์ในการเปลี่ยนแปลงไปสู่มาตรฐานบัญชีใหม่?
     • จะส่งผลต่อระบบไอทีอย่างไร?
     • มีตารางเวลาหรือไม่?
     • มีบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดูแลโปรเจ็กต์หรือไม่
     • มีคณะกรรมการควบคุมทิศทางของโปรเจ็กต์อย่างเป็นทางการหรือไม่
     • องค์กรมีทรัพยากร ความชำนาญ และความรู้ในการวางระบบการเปลี่ยนแปลงอย่างเพียงพอหรือไม่?
     • การฝึกอบรมมาตรฐานบัญชีใหม่อะไรที่ต้องการ?
     • ผู้ตรวจสอบภายในมีบทบาทอย่างไร?
     • มีแผนการตรวจสอบความก้าวหน้าตามตารางการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
     • มีความเสี่ยงอะไรที่ต้องจัดการ?

ผลกระทบต่อรายงานทางการเงิน
     • นโยบายบัญชีอะไรที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเปลี่ยนไปใช้มาตรฐานบัญชีใหม่?
     • การเปลี่ยนมาตรฐานบัญชีใหม่มีผลกระทบอะไรบ้างต่อรายได้, ส่วนของเจ้าของ, อัตราส่วนที่สำคัญ, และการรับรู้รายได้? เรามองเห็นความเสี่ยงอื่นอีกหรือไม่?
     • มาตรฐานบัญชีใหม่มีผลกระทบอะไรต่อตัวชี้วัดผลการดำเนินงานและการรายงาน?
     • ฝ่ายบริหารเรียนรู้เกี่ยวกับการเปลี่ยนไปใช้ IFRS ที่อาจมีผลต่ออุตสาหกรรมและคู่แข่งขันหรือไม่? ต้องการคำปรึกษาในอุตสาหกรรมโดยรวมหรือไม่?
     • การตัดสินใจของฝ่ายบริหารในการใช้นโยบายบัญชีพิเศษปกติแล้วจัดทำเป็นเอกสารหรือไม่?
     • เมื่อไหร่ฝ่ายบริหารถึงจะจัดทำงบการเงินภายใต้มาตรฐานบัญชีใหม่และในที่สุด IFRS?
     • มีข้อมูลอะไรบ้างที่ต้องเปิดเผยโดยรวมในการเปลี่ยนไปสู่ IFRS และจะเปิดเผยอย่างไร?
     • การเปิดเผยขององค์กรของเราเปรียบเทียบกับองค์กรที่คล้ายกันเป็นอย่างไร?

ผลกระทบต่อองค์กรธุรกิจและผู้ถือหุ้น
     • ความต้องการในการฝึกอบรมคืออะไร? ใครนอกเหนือจากฝ่ายการเงินที่ต้องได้รับการฝึกอบรม? การฝึกอบรมสามารถจัดทำภายในได้หรือไม่?
     • ระบบและขั้นตอนการรายงานทางการเงินปัจจุบันของเราให้ข้อมูลที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนไปใช้ IFRS หรือไม่? ต้องการระบบใหม่หรือไม่ สามารถอัพเกรดระบบที่มีอยู่ได้หรือไม่หรือต้องเปลี่ยนทั้งหมด?
     • การวางระบบต้องทำงานควบคู่กันไปด้วยหรือไม่?
     • การเปลี่ยนไปใช้มาตรฐานบัญชีใหม่มีผลกระทบต่อรายงานของฝ่ายบริหารภายในองค์กรหรือไม่? มีผลกระทบต่อขั้นตอนการวางแผน งบประมาณ และประมาณการณ์อย่างไร?
     • มีแผนและกำหนดเวลาอย่างไรในการแจ้งผู้ถือหุ้นให้ทราบเกี่ยวกับผลกระทบจากการเปลี่ยนไปใช้ IFRS เกี่ยวกับองค์กรธุรกิจและอุตสาหกรรม? มีอะไรที่ต้องแจ้งผู้ถือหุ้นภายนอกและภายใน – พนักงาน ผู้ให้กู้ เจ้าหน้าที่และ ซัพพลายเออร์?

นัยสำคัญต่อคณะผู้ตรวจสอบและบอร์ดคณะกรรมการ
     • บอร์ดคณะกรรมการได้รับรายงานข้อมูลอัปเดตอย่างไรในการเปลี่ยนไปใช้ IFRS?
     • กรรมการที่คนใดบ้างที่เข้าใจมาตรฐานบัญชีใหม่และ IFRS? จะอบรมกรรมการเกี่ยวกับ IFRS เมื่อไหร่และอย่างไร?
     • เมื่อไหร่ที่สมาชิกคณะผู้ตรวจสอบและบอร์ดคณะกรรมการต้องได้รับแจ้งผลกระทบจาก IFRS รวมทั้งรายงานทางการเงิน ข้อมูลการบริหาร และอย่างไร?
     • คณะกรรมการของบอร์ดจะเข้าใจและตรวจสอบการทำงานได้อย่างไรว่าการวางระบบ IFRS มีผลกระทบต่อวาระการประชุม บทบาท และความรับผิดชอบในการกำกับดูแล?
     • ตารางเวลาการประชุมของคณะผู้ตรวจสอบและบอร์ดเพียงพอหรือไม่?
     • สมาชิกคณะผู้ตรวจสอบจะมั่นใจได้อย่างไรในความเป็นเอกภาพของงบการเงินและระบบรายงานทางการเงิน?
     • ผู้ตรวจสอบภายในและผู้ตรวจสอบภายนอกสามารถรับประกันความเกี่ยวเนื่องของมาตรฐานบัญชีใหม่กับการใช้ระบบ IFRS ได้หรือไม่?
     • สมาชิกคณะผู้ตรวจสอบพอใจกับความรู้ใน IFRS ในปัจจุบัน หรือไม่ และความสามารถของเราในการพิจารณาทางเลือก ในนโยบายการเงิน และกระบวนการการตัดสินใจของฝ่ายบริหารเป็นอย่างไร?


ที่มา : รายละเอียดเพิ่มเติม

 
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์