บัญชีรายรับ - รายจ่าย จำเป็นต่อชีวิตประจำวันจริงหรือ ?

บัญชีรายรับ - รายจ่าย จำเป็นต่อชีวิตประจำวันจริงหรือ ?

การทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย

ในแต่ละวันนั้นนับว่าเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างมาก นอกจากจะช่วยให้เรารู้จักการบริหารเงินได้มากขึ้น แล้วยังช่วยเป็นเครื่องมือในการควบคุมค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนของเราได้อีกด้วย เพราะในบางครั้งเราไม่อาจจะรู้ได้เลยว่าเงินเราออกไปทางไหนบ้าง จนทำให้หลาย ๆ ครั้งมักจะมีปัญหาเรื่องเงินขาดมือหรือเงินติดลบบ้างในแต่ละเดือน ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการทำงบประมาณรายวันหรือจัดทำบัญชีครัวเรือน (รายรับ-รายจ่าย) ในแต่ละวันการทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายนั้น ถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวของเรามากที่สุด ซึ่งเราสามารถทำได้ทันที ขั้นตอนการบันทึกก็ไม่มีความยุ่งยากเลยแม้แต่น้อย และในปัจจุบันการทำบัญชีบันทึกรายรับ – รายจ่ายนั้นมีความสะดวกสบายเป็นอย่างมาก เพราะมีโปรแกรมให้คุณสามารถโหลดได้ฟรีที่ http://www.prosoftwinspeed.com/ หรือหากใครที่ไม่สะดวกในการโหลดก็อาจจะทำเป็นตารางง่าย ๆ สำหรับการแบ่งแยกตารางมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

  • การจดบันทึกเป็นตัวเงิน เช่น  เงินเดือน  เงินที่ได้จากการขายสินค้า เงินที่ได้จากงานเขียน
  •  การจดบันทึกค่าใช้จ่ายรายวัน เช่น ค่าเดินทาง ค่าอาหาร ค่าห้อง ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ ค่าของใช้เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ

 

 

นอกจากการทำบัญชีบันทึกรายรับรายจ่ายแล้ว บางคนอาจจะใช้วิธีการทำงบประมาณรายวัน ซึ่งก็คือการกำหนดค่าใช้จ่ายในแต่ละวันและเราจะต้องใช้จ่ายไม่ให้เกินวงเงินที่กำหนด ยกตัวอย่างเช่น เรากำหนดให้ค่าใช้จ่ายรวมกันแล้วใน 1 เดือน ไม่เกิน 9,000 บาท นั่นหมายความว่าต่อวันเราสามารถใช้ได้เพียงแค่ 300 บาท นั่นเอง

หลาย ๆ คนมองว่าแล้วทำไมเราต้องทำงบประมาณรายรับ-รายจ่ายด้วยล่ะ ทำแล้วได้ผลจริงหรือเปล่า  สาเหตุที่เราต้องทำงบประมาณรายรับ-รายจ่าย ก็เพราะว่ารายได้และรายจ่ายของแต่ละคนในแต่ละเดือนนั้นมีความแตกต่างกันออกไปบางคนอาจจะมีรายได้เพิ่มเข้ามาแต่กลับบางคนอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มเข้ามา อย่างเช่น  การผ่อนชำระค่าบัตรเครดิต การชำระหนี้กองทุนเพื่อการศึกษาซึ่งเป็นรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นมา หากเราไม่มีการวางแผนไว้ก่อน ค่าใช้จ่ายเหล่านี้อาจจะหมดไปได้โดยง่าย

 

 

ดังนั้นการจัดทำงบรายรับ-รายจ่าย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีรายได้ไม่ประจำ อย่างเช่น  อาชีพฟรีแลนซ์และคนที่ทำธุรกิจส่วนตัว ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีรายได้ที่ไม่แน่นอนแต่รายจ่ายกลับเท่าเดิมหรืออาจจะเพิ่มเข้ามาได้ ซึ่งหากใครที่อยู่ในกลุ่มนี้ เชื่อได้เลยค่ะว่า เราไม่มีทางที่จะรู้ได้เลยว่าเงินที่หามาได้นั้นจะเพียงพอต่อค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนหรือไม่  สำหรับการจัดทำงบประมาณของผู้ที่มีรายได้ไม่ประจำนั้นสามารถทำได้ง่าย ๆ ดังนี้

1.จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายเป็นอันดับแรก

โดยทั่วไปแล้วค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนนั้นมีความแน่นอนค่อนข้างสูงและมีการกำหนดตัวเลขที่แน่นอนอยู่แล้วซึ่งในแต่ละเดือนเราพอที่รู้อยู่แล้วว่าเรามีภาระค่าใช้จ่ายในส่วนไหนบ้าง

2.ประมาณรายรับขั้นต่ำที่เข้ามาในแต่ละเดือน 

เพราะส่วนใหญ่ทั้งสองอาชีพนั้นรายได้ขึ้นอยู่กับปริมาณงานที่รับและสินค้าที่ขายได้ในแต่ละเดือน บางเดือนได้เยอะบางเดือนได้น้อย ดังนั้นการประมาณรายรับขั้นต่ำที่ได้มากนั้นจะช่วยให้เราสามารถวางแผนและบริหารเงินได้อย่างเหมาะสม

3.ช่วงเวลาที่ได้รับรายได้  

เมื่อเราทราบช่วงเวลาที่ชัดเจนจะช่วยป้องกันปัญหาเงินขาดมือได้

4.จัดทำงบสำรองฉุกเฉิน 3 เดือนเป็นอย่างน้อย  

เผื่อไว้ใช้ในกรณีที่รายได้ของเรามีไม่เพียงพอ ต่อค่าใช้จ่ายของเดือนนั้น ๆ เมื่อทำการหยิบยืมในส่วนนี้ไปก็ต้องเติมเงินในส่วนที่ยืมลงไปด้วย วิธีนี้จะช่วยให้คุณไม่ต้องไปหยิบยืมเงินของครอบครัว

5.แยกค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้ชัดเจน  

การเริ่มจัดงบประมาณรายรับ – รายจ่ายหลักสำคัญที่สุด ก็คือ เงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวกับเงินส่วนของการลงทุนในการค้าขายจะต้องแบ่งแยกกันให้ชัดเจน ไม่ควรนำมาปะปนไว้ในกระเป๋าเดียวกัน ค่าใช้จ่ายส่วนตัว ได้แก่ ค่าอาหาร ค่ารถ ค่าเช่าบ้าน ค่าเลี้ยงดูพ่อแม่ ค่าของใช้เบ็ดเตล็ด เป็นต้น

การบันทึกรายรับ – รายจ่ายในแต่ละวัน นับว่าเป็นประโยชน์อย่างมากที่จะช่วยทำให้เรารู้ถึงข้อบกพร่องทางการเงินที่ดี ว่ามีส่วนไหนบ้างที่เราต้องลดและเลิก พฤติกรรมที่ฟุ่มเฟือยรู้จักการใช้เงินอย่างระมัดระวังและรัดกุมมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้เรารู้จักการวางแผนการใช้จ่ายได้อย่างถูกวิธี และช่วยให้เรานั้นมีระเบียบวินัยในการใช้เงินเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย

 351324
ผู้เข้าชม

บทความที่เกี่ยวข้อง

Landed Cost คือ ต้นทุนทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าสินค้าจนถึงจุดหมายปลายทาง (เช่น คลังสินค้าของบริษัท) ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนอกเหนือจากราคาสินค้าเอง ทำให้สามารถคำนวณราคาที่แท้จริงของสินค้าเมื่อถึงมือผู้ซื้อหรือผู้นำเข้าได้อย่างถูกต้อง
สำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น แน่นอนว่ามักจะมีปัญหาทางการเงินเข้ามาให้เจ้าของธุรกิจต้องคอยรับมืออยู่ตลอดเวลา และแม้จะระมัดระวังเป็นอย่างดีด้วยความเป็นมือใหม่ก็อาจจะมีความผิดพลาดเกิดขึ้นได้ ซึ่งอย่างที่รู้กันว่าความผิดพลาดด้านการเงิน คือ หนทางแห่งความลำบากในการทำธุรกิจ สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาด้านการเงินในการทำธุรกิจ ลองทำความเข้าใจกับสิ่งที่ผิดพลาดเหล่านี้ดูเพื่อหาหนทางให้ธุรกิจอยู่รอดต่อไป โดยข้อผิดพลาดที่ผู้ประกอบการมักพบกันก็คือ
ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไร ที่ทำให้กิจการจำเป็นและจำใจต้อง เปลี่ยนสำนักงานบัญชี ใหม่ เรื่องที่สำคัญคือ
โปรแกรม ERP เป็นระบบบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กรที่เชื่อมต่อและรวมรวมข้อมูลทั้งหมดขององค์กรในระบบเดียวกัน โดยรวมถึงเรื่องบัญชีทางการเงินด้วย โดยโปรแกรม ERP จะช่วยให้ฝ่ายบัญชีสามารถดำเนินการตรวจสอบรายการเงินสด รายการเจ้าหนี้ รายการลูกหนี้ รายการค่าใช้จ่าย และรายการบัญชีอื่นๆ ได้อย่างง่ายดาย
โปรแกรมบัญชี เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ เพราะงานบัญชีคือส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่ทำให้เจ้าของกิจการหรือผู้บริหารเห็นภาพรวมขององค์กรอย่างชัดเจน การมีโปรแกรมบัญชีเข้ามาช่วยงานบัญชีทำให้องค์กรมีความราบรื่น ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรด้วย นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแน่นอน
"ยื่นภาษี 2566" การจ่ายภาษีเป็นหนึ่งในหน้าที่ของประชาชนพลเมืองไทย คนไทยทุกคนที่มีรายได้เกิน 120,000 บาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่น "ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา" นี่ก็ผ่านมาถึงกลางปีแล้ว เพราะฉะนั้น ควรวางแผน ลดหย่อนภาษี ไว้แต่เนิ่น ๆ และหากใครกำลังสงสัยว่าสิทธิ "ลดหย่อนภาษี 2565" มีอะไรบ้าง ทีนี่มีคำตอบค่ะ
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์